บทความเกษตร/เทคโนโลยี » แนวทางปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เสริมในสวนยางพารา

แนวทางปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เสริมในสวนยางพารา

12 พฤษภาคม 2021
3020   0

แนวทางปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เสริมในสวนยางพารา
แนวทางปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เสริมในสวนยางพารา

“แนวทางปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เสริมในสวนยางพารา”  เนื่องจาก ในสถานการณ์ที่ยางพารามีราคาตกต่ำ ทำให้เกษตรกรชาวส่วนยางพาราได้สร้างความเดือดร้อน ถึงแม้จะมีมาตการช่วยเหลือ ในระยะเร่งด่วนของรัฐบาลแล้วแล้วก็ตาม  เกษตรกรก็จะต้องมีการช่วยตนเองของชาวสวนยางในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อที่จะเสริมรายได้และทำอาชีพเสริมอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และพึ่งพาตัวเองให้รอดพ้น จากราคายางที่ตกต่ำลงทุกวันด้วย
ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาแนะนำการปลูกพืชแซมยาง และ เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งกิจกรรมเสริมรายได้ ที่เหมาะสมในสวนยางพารากัน ว่ามีอะไรบ้าง ที่เหมาะตามภูมิอากาศของภาคต่างๆ ในประเทศไทย โดยสรุปคร่าวๆได้ดังนี้ อาจจะไม่เหมดทุกอย่างนะครับ

พืชแซมยางในระยะ 1- 3 ปี แรก




พืชแซมยางในระยะก่อนยางให้ผลผลิต คือ ในช่วง 3 ปี แรก สามารถปลูกพืชแซมยางได้หลากหลาย ชนิดตามความเหมาะสมของแต่ล่ะพื้นที่  ได้แก่

  •  พืชล้มลุกหรือพืชอายุสั้น เช่น สับปะรด ข้าวโพด ข้าวไร่ ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วหรั่ง ถั่วเหลือง แตงโม และ พืชผักต่างๆ เป็นต้น โดยพืชเหล่านี้ควรปลูกห่างแถวยางประมาณ 1 เมตร
  • กล้วย เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง และ มะละกอ ซึ่งควรปลูกแถวเดียว บริเวณกึ่งกลางระหว่างแถวยาง หรือตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ของสวนยาง
  • หญ้าอาหารสัตว์ เช่น หญ้ารูซี่ หญ้ากินนีสีม่วง หญ้าขน ควรปลูกห่างแถวยางประมาณ 1.5 – 2 เมตร หญ้าอาหารสัตว์ชนิดอื่นๆจะไม่แนะนำให้ปลูกแซมยางเพราะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของยางพาราได้
  •  มันสำปะหลัง ควรปลูกในปีที่ 2 หรือปีที่ 3 โดยปลูกห่างแถวยางด้านละประมาณ 2 เมตร และ ไถตัด รากมันสำปะหลังปีละครั้ง ห่างจากแถวมันสำปะหลัง 50 เซนติเมตร เพื่อป้องกันระบบรากมัน สำปะหลังเข้ามาอยู่ในแถวของต้นยาง
  • อ้อยคั้นน้ำ ควรปลูกระหว่างแถวยางพารา ให้ห่างแถวยางประมาณ 2.2 เมตร ปลูกครั้งเดียวไว้ตอ 2 ครั้ง เก็บเกี่ยว 3 ครั้ง ในเวลา 3 ปี ไม่แนะนำให้ปลูกอ้อยอุตสาหกรรมแซมยางในเขตแห้งแล้ง ซึ่งอาจจะทำให้มีปัญหาด้านไฟไหม้ตามมาได้

การปลูกพืชร่วมยาง ช่วง 3 ปีขึ้นไป

การปลูกพืชร่วมยาง คือ พืชที่ปลูกเพื่อให้ผลผลิตพร้อมๆกับยาง ซึ่งจะเป็นพืชที่สามารถขึ้นได้ดีในสภาพใต้ร่มเงาได้ หรือพูดง่ายๆคือพืชที่ต้องการแสงแดดน้อย มีดังนี้

  • พืชร่วมยางที่สามารถเจริญเติบโตได้ภายใต้ร่มเงาของยาง เมื่อต้นยางมีอายุ 3 ปีขึ้นไป เช่น ขิง ข่า ขมิ้น ผักพื้นบ้าน และพืชสมุนไพรบางชนิด โดยปลูกระหว่างแถว ห่างแถวยางประมาณ 1.5 เมตร
  • พืชร่วมยางที่ทนต่อสภาพร่มเงาของต้นยาง เมื่อต้นยางมีอายุประมาณ 10 ปี ซึ่งมีแสงแดดรำไร เพียงพอและมีฝนตกชุก จะเหมาะสมต่อการปลูกไม้ดอกสกุลหน้าวัว ไม้ดอกวงศ์ขิง เช่น ขิงแดง ดาหลา หงส์เหิน กระเจียวพังงา กระเจียวส้ม และบัว ไม้ดอกสกุลเฮลิโกเนีย และไม้ประดับบางชนิด โดยปลูกระหว่างแถวยาง ห่างแถวยางประมาณ 1.5-1.7 เมตร
  • พืชร่วมยางที่ทนต่อสภาพร่มเงาของต้นยางที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้แก่ พืชสกุลระกำเช่น ระกำหวาน สละเนินวง สละหม้อ หวายตะค้าทอง กระวาน โดยปลูกกึ่งกลางแถวยาง สำหรับหวายตะค้าทอง อาจเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในสวนยาง แนะนำให้ปลูกเป็นพืชเสริมรายได้ก่อนการโค่นยาง
  • การปลูกไม้ป่าในสวนยางพารา มีไม้ป่าบางชนิดที่ทนต่อสภาพร่มเงาของต้นยางขนาดใหญ่ โดยปลูก ผสมผสานกึ่งกลางระหว่างแถวยางและทดแทนการปลูกซ่อมต้นยาง เช่น ในสวนยางทางภาคใต้ ได้แก่ กระถินเทพา กระถินณรงค์ สะเดาเทียม ทัง พะยอม มะฮอกกานี เคี่ยม ตะเคียนทอง ยางนา ยมหิน และตำเสา ในสวนยางทางภาคตะวันออก ได้แก่ กระถินเทพา กระถินณรงค์ สะเดาไทย ยมหอม ตะเคียนทอง ยมหิน ยางน าแดง และประดู่ป่า และในสวนยางทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ กระถินเทพา กระถินณรงค์ สะเดาไทย ยางนา ตะเคียนทอง ยมหิน พะยูง สาธร และประดู่ป่า

เลี้ยงสัตว์เสริมในสวนยาง




1. เลี้ยงแพะในสวนยาง

การเลี้ยงแพะไม่ยากเท่าไหร่ และคืนทุนไว ราคาดี เพียงแต่เราต้องรู้ว่า แพะกินอะไร ดูแลแบบไหน จัดการยังไง ซึ่งสามารถหาความรู้ต่างๆ ได้จาก ฟาร์มที่เคยเลี้ยงมาก่อน หรือ หาความรู้ทางอินเตอร์ ก็มีคมากมาย และก้หน่วยงานขอรัฐที่พร้อมจะให้ความรู้และดูแล

ช่วงระยะเวลาในการเลี้ยง

สำหรับแพะนั้น เลี้ยงแค่ประมาณ  6 เดือน ก็สามารถขายแพะได้แล้ว ในราคาประมาณกิโลกรัมละ 150-230 บาท คิดคำนวณแล้วจากการขายไปได้ 1,000 บาท มีกำไรถึง 700 บาทเลยทีเดียว แต่สิ่งที่ได้ประโยชน์เพิ่มนั่นคือ การลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานมาถากถางวัชพืชสวนยางที่ต้องเสียเงินถึงไร่สวนยาง และยังได้ปุ๋ยมูลแพะไว้ใส่สวนยางอีกด้วย สำหรับผู้เลี้ยงแพะมือใหม่ สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ ..

2. เลี้ยงปลาหมอในสวนยาง

โกแอ๊ะ “สัญชัย เพชรคง” เกษตรกรที่หันมาเลี้ยงปลาหมอบ่อผ้าใบในสวนยาง อีกทางเลือกเสริมรายได้ควบคู่ไปกลับการทำสวนยางพาราเชิงเดี่ยว

โกแอ๊ะ หรือชื่อจริง สัญชัย เพชรคง  เป็นคน ตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำงานมาหลายอย่าง และงานสุดท้ายที่ โกแอ๊ะ ทำคือการเปิดร้านขายอุโทรศัพท์มือถือที่หาดใหญ่ แต่ก็ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จ จนเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาก็ตัดสินใจหอบเสื้อผ้า เดินทางกลับบ้านเกิด…

ซึ่งมีมรดกอันล้ำค่านั้นก็คือสวนยางพารา ที่มันช่างเงียบเหงาและวังเวง ซึ่งช่วงนั้นราคายางพาราก็ตกต่ำพอสำควรเลยที่เดียว  ซึ่งโกแอ๊ะ รำพึงอยู่ในใจ ว่า เราจะสามารถเพิ่มมูลค่าสวนยางอย่างไรได้บ้าง สุดท้ายไปเห็นว่าที่ร่องสวนยางยังพอมีพื้นที่ว่างก็เลยคิดว่าน่าจะนำมาเลี้ยงปลา แต่มีปัญหาว่าถ้าขุดเป็นบ่อปลาคงกระทบรากยาง จึงคิดว่าจะต้องทดลองเลี้ยงปลาในบ่อผ้าใบ



โกแอ๊ะ ตัดสินใจลงทุนครั้งแรกด้วยเงินที่ไม่มาก และ คิดว่าจะทดลองดูก่อน จนเวลาผ่านไป 2 ปี จากที่ลองผิดลองถูกก็เริ่มเข้าที่เข้าทางในปีที่ 3 และ ทดลองเรื่องอาหารว่าแบบไหนยี่ห้อไหน การกินอาหารของปลาเป็นอย่างไร ปลาเติบโตดีไหม ทดลองเรื่องการระบายน้ำในแต่ละวันว่าต้องวันละกี่ครั้ง จะต้องหมุนเวียนน้ำอย่างไร ผมลองผิดลองถูกอยู่ 2 ปีเต็มๆ

การเลี้ยงปลาหมอในบ่อผ้าใบนั้น มีข้อดีหลายอย่างด้วยกัน เช่น ไม่เหม็นสาบโคลน ปลากินอาหารได้ดี และอาหารสูญเสียน้อย และโดยเฉพาะทำให้ง่ายต่อการเปลี่ยนถ่ายน้ำระบายน้ำ เฉพาะอย่างยิ่งเวลาจับปลาไม่ต้องเสียเวลาวิดน้ำ จัดการง่ายและประหยัดต้นทุนกว่าบ่อดิน

 

ขอบคุณแหล่งที่มาและ รูปภาพ :https://www.kasetkaoklai.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ