ประเภทที่ 1 การทำน้ำหมักจากพืช มี 3 ชนิด
1. จากพืชสีเขียว หน่อกล้วยดีที่สุด
- ควรเก็บไว้ตอนการเช้าเพื่อให้ได้สารอาหารมากที่สุด ขนาดหน่อกล้วยประมาณ 1 ศอก เอาเฉพาะที่มีสีเขียว
- สัดส่วนพืชสีเขียว 7 กก., น้ำตาลทราย 3 กก., เกลือ 1 กำมือ
- หั่นกล้วยออกเป็น 2-4 ซม จับแบบจับปาก และใส่น้ำตาลส่วนที่หนึ่งคลุกคล้าให้ทั่ว เอาของหนักกดทับ
- ทิ้งไว้ 1 คืน วันรุ่งนี้เอาส่วนที่ 2 โรยให้ทั่วและ เกลือ 1 กำมือ
2. จากผลไม้สุก
- ผลไม่สุกไม่เน่าอย่างน้อย 7 ชนิด กล้วยน้ำว้า,มะละกอ,ฟักทอง เป็นผลไม้ประจำถิ่น
- สัดส่วนผลไม้สุก 1 กก., น้ำตาล 1 กก.
- แบ่งน้ำตาลเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คลุกคล้าให้เข้ากัน และส่วนที่ 2 โรยทับหน้า ทิ้งไว้ 8-10 วัน
3. จากพืชสมุนไพร (เหล้ายาดอง)
- วัสดุที่ใช้ ชะเอม โสมตังกุย อบเชย กระชายดำ ขิง ข่า ตะไคร้ กระเทียม เบียหรือเหล้าสาโท น้ำตาลทรายแดง เหล้า 40 ดีกรี
- หั่นวัสดุ 2-4 ซม ใส่ลงในภาชนะก้นแหลม นำเบีย 2 ขวดเทลงไป ปิดฝาเชือก
- ทิ้งไว้ 12 ชม. และเอาน้ำตาลทรายใส่ พร้อมทั้งเหล้า 30 ดีกรี 2 ขวด ทิ้งไว้ 8-10 วันดูคลิปการทำ ประเทภที่ 1 ทั้ง 3 ชนิด
รายการ แม่โจ้เกษตรอินทรีย์ | ตอน การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ 1/3
ประเภทที่ 2 การทำน้ำหมักจากน้ำซาวข้าว มี 3 ชนิด
1. นมเปรี้ยวจากนมสดหรือแลคโตบาซิลลัส
- นำน้ำซาวข้าวผสมกับรำอ่อนทิ้งไว้ 4-5 วัน
- นำนำซาวข้าวที่ผสมรำอ่นแล้ว 1 ส่วน ผสมกับนมต้นสุก 10 ส่วน ผสมน้ำตาลทรายแดง ปิดฝาด้วยกระดาษ
- วันที่ 3-4 จะเห็นวุ้นเกิดขึ้น 1-2 นิ้ว ตักเอาไปเป็นฮอโมนเร่งรากพืช และทิ้งไว้ 8-10 วันเป็นนมเปรี้ยว
2. แคลเซียมจากเปลือกไข่
- น้ำซาวข้าวแช่ข้าวเหนียว 1 คืน เปลือกไข่ตากแห้ง 3 แดดบี้เป็นชิ้นแต่ไม่เป็นผง
- น้ำซาวข้าว 10 ลิตร ต่อเปลือกไข่ 1 กก. หมักทิ้งไว้ 8-10 วัน
3. ฟอสฟอรัสจากถ่านกระดูกสัตว์
- นำกระดูกไปต้มให้ไขมันออกให้หมด และนำไปตากให้แห้งสนิท นำไปเผาจนสีแดงแล้วจุ่มลงไปในน้ำและนำไปตากแห้งให้สนิท ทุบให้ได้ 2-4 ซม.
- นำถ่านกระดูกลงไป 1 กก. และน้ำซาวข้าวลงไป 10 ลิตร ทิ้งไว้ 8-10 วัน
ดูคลิปการทำ ประเทภที่ 2 ทั้ง 3 ชนิด
รายการ แม่โจ้เกษตรอินทรีย์ | ตอน การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ 2/3
ประเภทที่ 3 การทำน้ำหมักจากสัตว์
1. ได้แก่ กุ้ง หอย ปู ปลา ไส้เดือน รกหมู ฯลฯ
- ห้ามล้างน้ำ ทุบสับให้ได้ 2-4 ซม. ใส่ในภาชนะโอ่งเคลือบ สัดส่วน 1 ต่อน้ำตาล 1 กก. ปิดฝาทั้งไว้ 15 วัน
ดูคลิปการทำ ประเทภที่ 3 มี 1 ชนิด
รายการ แม่โจ้เกษตรอินทรีย์ | ตอน การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ 3/3
ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
หัวใจสำค้ญของการทำเกษตรอินทรีย์ คือ ความปลอดภัยจากสารพิษ อยากให้ท่านผู้ชมได้ปรับความคิดแล้วหันมาทำเกษตรอินทรีย์เพื่อตัวของเราเอง
ขอบคุณแหล่งที่มา : วิทยากร/แขกรับเชิญ ว่าที่ ร.ต.สมบูรณ์ ระดม ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตร/ผู้จัดการศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา
ดำเนินการผลิตโดย : MJU Channel
แหล่งข้อมูลอื่นๆ : https://www.kasetnana.com
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ