บทความเกษตร/เทคโนโลยี » 9 แนวทางเพื่อลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิตพืชเกษตร

9 แนวทางเพื่อลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิตพืชเกษตร

20 เมษายน 2021
6949   0

9 แนวทางเพื่อลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิตพืชเกษตร

9 แนวทางเพื่อลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิตพืชเกษตร

แนวทางเพื่อลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิตพืชเกษตร


ทำความเข้าใจ อะไร คือ การลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มมูลค่า

การลดต้นทุนอะไรบ้าง

  • ลดค่าปัจจัยการผลิต เช่น ลดปุ๋ยเคมี ลดสารเคมี ลดจำนวนเมล็ดพันธุ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จะทำให้ต้นทุนต่อไร่ลดลง
  • ลดสิ่งที่ไม่จำเป็นและลดการสูญเปล่า เช่น ถ้าดินมีปุ๋ยอยู่ก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยมาก หรือไม่จำเป็นต้องใช้อาหารเสริมพืช ราคาแพง หรือใส่ปุ๋ยแล้วให้น้ำเพื่อ ป้องกันการระเหิดไปในอากาศ

เพิ่มผลผลิต อะไรบ้าง

  • เพิ่มผลผลิต เช่น ให้ปุ๋ยอย่างถูกต้อง เพิ่มระบบน้ำ ใช้พันธุ์ดี จะทำให้ผลผลิตสูงขึ้น เมื่อคิดต้นทุนกำไร ยังทำให้ต้นทุนต่อกิโลกรัมลดลง กำไรเพิ่มมากขึ้นด้วย
  • เพิ่มมูลค่าการตลาด เช่น แปรรูป เพิ่มบรรจุภัณฑ์ ทาให้คุณค่า มากขึ้น ขายได้ราคาสูงขึ้น มีกำไรมากขึ้นด้วย
  • เพิ่มการทำเกษตรแบบผสมสาน และ การดำรงชีพแบบพอเพียง เช่น ปลูกพืชผสมผสาน ทำให้ใช้ปัจจัยการผลิตมีประสิทธิภาพ เกื้อกูลกัน จะทำให้ต้นทุนการเกษตรลดลงและการใช้ชีวิตแบบพอเพียงจะเกิดการพึ่งตนเองได้มากขึ้น

“9 แนวทางเพื่อลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิตพืชเกษตร”

แนวทางที่ 1  การลดต้นทุนด้านการจัดการดินและเตรียมดิน
แนวทางที่ 2  การลดต้นทุนด้านการจัดการพันธุ์พืช
แนวทางที่ 3  การลดต้นทุนด้านการจัดการปุ๋ย
แนวทางที่ 4  การลดต้นทุนด้านการจัดการศัตรูพืชและการใช้สารเคมี
แนวทางที่ 5  การลดต้นทุนด้านการจัดการแรงงานและเครื่องจักรกล การเกษตร
แนวทางที่ 6  การลดต้นทุนด้วยการปลูกพืชผสมสาน
แนวทางที่ 7  การลดต้นทุนจากการเพิ่มผลผลิต
แนวทางที่ 8  การสร้างมูลค่าเพิ่ม
แนวทางที่ 9  การสร้างความมั่นคงด้วยการดำรงชีพด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงของนายหลวง รัชกาลที่9

แนวทางที่ 1  การลดต้นทุนด้านการจัดการดินและเตรียมดิน

การลดต้นทุนด้านการจัดการดินและเตรียมดิน

หลักการ : เมื่อดินดี พืชก็จะแข็งแรง จะช่วยลดต้นทุนการปลูกพืชและทำให้พืชโตไวได้ผลผลิตสูงตามต้องการ

ก่อนปลูกพืช นั้นควรศึกษาข้อจำกัดของสภาพพื้นที่ปลูกพืช เช่น สภาพดิน สภาพน้ำ ก่อนการตัดสินใจเลือกพืชที่จะปลุกให้เหมาะสมกับพื้นที่ จะเป็นการป้องกันความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วม ขาดน้ำ หรือดินเลว  ทั้งนี้เพราะพืชแต่ละชนิดมีความเหมาะสมหรือทนทานตอนสภาพพื้นที่ที่แตกต่างกัน เช่น ยางพาราไม่เหมาะสมในที่ลุ่ม แต่ส้มโอจะทนทานต่อสภาพดินเค็ม เป็นต้น

 ดินดี คือ ในดินทั้งหมด 100 ส่วน ควรมีสมดุลของสัดส่วนต่างๆ คือส่วนที่เป็นเนื้อดิน 45 ส่วน มีอินทรียวัตถุ 5 ส่วน น้ำ 25 ส่วน และอากาศอีก 25 ส่วน ดินจะไม่แน่น มีความร่วนซุย และมักพบแมลงหรือสิ่งมีชีวิตในดิน ถ้าไม่เป็นไปตามนี้แสดงว่าต้องพิจารณาเรื่องการปรับปรุงดิน

ขั้นตอนการจัดการดินและเตรียมดิน

1. บำรุงดินเป็นประจำ โดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก การปลูกพืชบารุงดิน หรือไถกลบตอซัง จะช่วยให้ดินดีขึ้นในระยะยาว พืชบำรุงดินที่ควรปลูก เช่น ปอเทือง ,ถั่วพร้า ,ถั่วพุ่ม เป็นต้น
2. แก้ไขดินที่เป็นกรดเกินไป โดยวัดค่าพีเฮช (pH) หรือค่าความเป็นกรดด่าง ถ้าได้ค่าต่ากว่า 5.5 แสดงว่าดินเป็นกรด แม้มีการใส่ปุ๋ยลงไป แต่พืชจะไม่สามารถ

 

นาธาตุอาหารบางชนิดไปใช้ได้เต็มที่ เนื่องจากเม็ดดินจะดูดธาตุอาหารเอาไว้ จึงต้องปรับสภาพดินกรดให้มีค่าความเป็นกรดด่าง 5.5-7.0 ด้วยการใส่ปูนขาว โดโลไมท์ หรือ หินฝุ่น
3. เตรียมดินให้ถูกวิธี ไถตากดินจนแน่ใจว่าวัชพืชตาย ไถดินให้ละเอียดพอดี หรือเตรียมขนาดหลุมปลูกให้เหมาะสมกับชนิดพืช
4. รักษาความชื้นของดิน เช่น ใช้ฟางคลุม หรือให้มีหญ้าปกคลุมในหน้าแล้ง
5. ป้องกันการชะล้าง ในที่ลาดชันควรมีการทำขั้นบันใดเพื่อลดการชะล้าง และปลูกพืชป้องกันการพังทลาย เช่น แฝก

แนวทางที่ 2  การลดต้นทุนด้านการจัดการพันธุ์พืช

การลดต้นทุนด้านการจัดการพันธุ์พืช

พันธุ์พืช โดยธรรมชาติจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ต่าง

 

พันธุ์จะมีความดีเด่นต่างกันไป แต่ที่แตกต่างจากสัตว์เด่นชัดคือ รุ่นลูกหลานอาจจะมีการสืบทอดลักษณะดีต่อๆไป หรืออาจทาให้ลักษณะดีดีสูญหายไปจากพ่อแม่ก็ได้

  1. พันธุ์พืชลูกผสม มาจากการผสมของต้นพ่อกับต้นแม่ที่มีลักษณะดีคนละอย่าง แต่ลาพังตัวเองจะให้ผลผลิตไม่ดี แต่เมื่อนามาผสมกันจะได้ลูกที่มีลักษณะดีหลายอย่างและให้ผลผลิตสูง เช่น ปาล์มน้ามัน และข้าวโพดหวาน พันธุ์เหล่านี้จะไม่สามารถเอาเมล็ดจากต้นลูกไปปลูกเพื่อทาพันธุ์ต่อได้ เพราะทาให้ผลผลิตลดลงมาก ต้องใช้ต้นที่ผสมจากต้นพ่อและแม่เท่านั้น การซื้อพันธุ์จึงต้องมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้
  2. พันธุ์พืชกับความทนทานต่อโรคหรือสภาพดินฟ้าอากาศ แต่ละพันธุ์จะมีความทนทานแตกต่างกัน เช่น มะนาวพันธุ์พิจิตรจะทนทานมากโรคแคงเกอร์ ขณะที่พันธุ์อื่นอาจทนทานน้อย จึงต้องศึกษาประวัติของพันธุ์พืชก่อนนามาปลูก
  3. เมล็ดพันธุ์พืชมีวันหมดอายุ เมล็ดพันธุ์พืชบางชนิดเมื่อเก็บไว้นานความมีชีวิตจะลดลง จะมีผลต่อความงอก ความแข็งแรงของต้นอ่อนที่งอก ซึ่งมีผลกับการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิต

ขั้นตอนการจัดการด้านพันธุ์พืช

ขั้นตอนการจัดการด้านพันธุ์พืช

  1. ค่าพันธุ์พืชที่สิ้นเปลืองและไม่คุ้มค่า เกิดจากการใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกต่า มีพันธุ์ปน ขนาดไม่ได้มาตรฐาน ไม่รู้แหล่งที่มา ใช้จานวนเมล็ดมากเกินความจาเป็น ซื้อพันธุ์ที่มีราคาแพง มีศัตรูทาลายขณะปลูก และประสบปัญหาปลูกแล้วเสียหายจากฝนแล้งน้าท่วม
  2. การนาเมล็ดมาเพาะทดสอบความงอก โดยเอาเมล็ดมา 100 เมล็ดมาเพาะดูการงอก จะทาให้ทราบว่าเมล็ดมีชีวิตอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ช่วยให้สามารถกาหนดจานวนเมล็ดที่ใช้ปลูกได้เหมาะสม ช่วยลดต้นทุนจากการใช้เมล็ดพันธุ์มากเกินไป
  3. การเพาะกล้าก่อนปลูก พันธุ์พืชผักบางชนิดที่มีราคาสูง หรือการปลูกในที่เสี่ยงต่อการขาดน้าในช่วงเริ่มปลูก หากมีการเพาะกล้าก่อนปลูกจะช่วยลดอัตราการตายของต้นพันธุ์ การเพาะกล้าทาให้สามารถดูแลต้นอ่อนได้อย่างใกล้ชิด
  4. การเก็บเมล็ดพันธุ์พืชไว้ใช้เอง ในโรงเรือนเพาะชาชุมชน หรือ ธนาคารเมล็ดพันธุ์
    จะช่วยลดต้นทุนจากเมล็ดพันธุ์ราคาแพง การเก็บเมล็ดพันธุ์โดยจะต้องคัดเลือกจากต้นพ่อแม่ที่ให้ผลผลิตดี ไม่เป็นโรค หรือใช้พันธุ์จากศูนย์วิจัยพืช ขณะปลูกต้องตัดพันธุ์ปนออก หลังเก็บผลผลิตต้องมีการทาความสะอาด คัดแยกเอาเมล็ดที่ดี ตากแดดลดความชื้น และเก็บในสภาพอากาศที่เหมาะสม
  5. การขยายพันธุ์จากต้นแม่พันธุ์ดี การตอน ปักชา ทาบกิ่ง จะลดต้นทุนค่าพันธุ์ไม้ผล
  6. แหล่งพันธุ์จากราชการ เช่น ศูนย์วิจัย หรือศูนย์เมล็ดพันธุ์พืช เป็นพันธุ์ที่มีคุณภาพสูงและราคาถูก

แนวทางที่ 3  การลดต้นทุนด้านการจัดการปุ๋ย

ความสาเร็จของการจัดการปุ๋ย ไม่ได้วัดกันที่การประหยัดเงินค่าปุ๋ย แต่วัดตรงที่ผลผลิต และกาไร การใส่ปุ๋ยต้อง “ถูกช่วงเวลาที่พืชเจริญเติบโต ถูกสูตร ถูกวิธี ถูกปริมาณที่พืชต้องการ”

  1. พฤติกรรมที่ทาให้ใช้ปุ๋ยเกิดประโยชน์ไม่เต็มที่และมีต้นทุนค่าปุ๋ยสูง คือ ปุ๋ยกระสอบเดียว ใช้กับทุกพืช ใช้กับทุกช่วงการเจริญเติบโต ไม่จาสูตรปุ๋ยเคมีที่ใช้ แต่จะซื้อปุ๋ยตามตรายี่ห้อ ไม่เข้าใจหน้าที่ของธาตุอาหาร ใส่ปุ๋ยเคมีแล้วไม่ได้ประโยชน์เต็มที่เนื่องจากดินไม่มีความชื้น ดินมีสภาพเป็นกรดสูง ดินมีการชะล้าง ใส่ในบริเวณที่พืชไม่ได้ดูดเอาไปใช้ และไม่รู้ว่าในดินมีธาตุอาหารอะไรตกค้างอยู่เท่าไหร่
  2. หน้าที่ของธาตุอาหาร เช่น ไนโตรเจน (N) ช่วยบารุงลาต้น ใบ ฟอสฟอรัส (P) ช่วยบารุงราก ดอก โพแทสเซียม (K) ช่วยบารุงผล ทาให้พืชแข็งแรง แคลเซียม (Ca) ทาให้เนื้อเยื่อพืชแบ่งตัวและแข็งแรง การผสมเกสร โบรอน (B) ช่วยในการออกดอกและการผสมเกสร
  3. การลงทุนระบบการให้น้าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะน้ามีผลมากต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะด้านช่วยทาให้พืชแตกกอ ออกดอก ออกผล และคุณภาพผลผลิตดี
  4. การใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” คือ การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ โดยนาข้อมูลชุดดินและข้อมูล เอ็น-พี-เค ในดินมาประกอบการตัดสินใจเลือกสูตรปุ๋ย และกาหนดปริมาณปุ๋ยในการปลูกพืช เป็นการใช้ปุ๋ยเคมีตามชุดดินและค่าวิเคราะห์ดิน นอกจากนี้ยังนาปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช เช่น พันธุ์พืช แสงแดด อุณหภูมิ ปริมาณน้าฝน ฯลฯ มาสร้างแบบจาลองทางคณิตศาสตร์โดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีอีกด้วย

ขั้นตอนการจัดการด้านปุ๋ยและน้ำ

  1.  คิดก่อนใส่ปุ๋ย เช่น จะบารุงส่วนไหนในการเจริญเติบโตของพืช จะใส่ธาตุอะไร ปริมาณเท่าไรจึงเหมาะสม ใส่แล้วพืชเอาไปใช้ได้ไม่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เพื่อการนี้เกษตรกรควรมีเอกสารคู่มือวิชาการปลูกพืช และคู่มือเรื่องการใช้ปุ๋ย
  2. การวิเคราะห์ดิน และวิเคราะห์ใบพืช จะช่วยลดต้นทุนการใส่ปุ๋ย คือได้ทราบว่ามีธาตุอาหารในดินในใบอะไรบ้าง ขาดธาตุอะไร ควรใส่เพิ่มอีกเท่าไหร่ ต้องปรับสภาพดินอย่างไรจึงจะเป็นประโยชน์ต่อพืชและลดต้นทุนค่าปุ๋ย
  3. เข้าใจสูตรปุ๋ย ปุ๋ยเคมีสูตร 15-7-18 ใน 2 กระสอบ 100 กิโลกรัม จะมีไนโตรเจน 15 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 7 กิโลกรัม โพแทสเซียม 18 กิโลกรัม รวม 40 กิโลกรัม อีก 60 กิโลกรัมจะเป็นตัวเติมให้ปุ๋ยมีการจับตัวเป็นเม็ดซึ่งไม่ใช่ธาตุอาหารพืช
  4. การซื้อปุ๋ย เจาะจงสูตร เลือกตราที่เชื่อถือได้ ซื้อจากร้าน Q SHOP หรือร้านที่ได้รับอนุญาตค้าปุ๋ย จะลดความเสี่ยงเรื่องปุ๋ยปลอมหรือปุ๋ยไม่เต็มสูตรได้
  5. ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยฟอสเฟต คือเมื่อใส่ร่วมกับหินฟอสเฟตจะมีผลให้พืชได้ปุ๋ยฟอสเฟตราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมี และการใส่ลงในดินที่มีปริมาณฟอสฟอรัสสูงอยู่แล้วจะทาให้ไปละลายฟอสฟอรัสที่ถูกยึดตรึงอยู่ในดินให้ออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกครั้ง
  6. การใส่ปุ๋ยอินทรีร่วมกับปุ๋ยเคมี จะทาให้ปุ๋ยเคมีเกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น
  7. ปุ๋ยอินทรีแห้ง ปุ๋ยอินทรีน้า หรือน้าหมัก มักจะมีฮอร์โมนพืช จะช่วยเสริมการเจริญเติบโต และเป็นการลงทุนที่ราคาถูก
  8. การบังคับการให้น้า มีผลต่อการออกดอกนอกฤดูกาลของไม้ผลหลายชนิด เช่น มะนาว มะม่วง โดยใช้หลักการคือเร่งการให้น้าในช่วงที่ต้องการให้แตกใบ แล้วงดการให้น้าเพื่อให้พืชสะสมอาหารให้เพียงพอสาหรับการแตกตาดอก และให้น้าอีกครั้งเพื่อกระตุ้นการแตกตาดอก

แนวทางที่ 4  การลดต้นทุนด้านการจัดการศัตรูพืชและการใช้สารเคมี

การลดต้นทุนด้านการจัดการศัตรูพืชและการใช้สารเคมี

สารเคมีเป็นดาบสองคม ใช้ถูกมีคุณ ใช้ผิดเป็นภัย
1. พฤติกรรมที่ทาให้ใช้สารกาจัดศัตรูพืชเกิดประโยชน์ไม่เต็มที่และมีต้นทุนสูง คือ
        –  ถือคติฉีดพ่นไว้ก่อน คือฉีดก่อนที่จะมีการระบาด
        –  ไม่เชื่อใจ จึงใช้มากไว้ก่อน ใช้ปริมาณเกินที่ระบุไว้ในฉลาก เพราะใช้น้อยๆกลัวไม่ได้ผล
        –  ไม่รู้ว่าปัญหาเกิดจากแมลงชนิดไหน หรือพืชเป็นโรคอะไร คิดว่าแต่เป็นสารเคมีกาจัดแมลงแล้วใช้ได้ทุกชนิด
2. แมลงเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการรวดเร็ว การใช้สารเคมีมากๆซ้าๆ แมลงจะปรับตัวเองให้ทนทานและเกิดอาการที่เกษตรกรเรียกว่าดื้อยา
3. สารเคมีเป็นเรื่องที่ต้องมีคุณธรรมในการใช้ แม้เราไม่ฉีดพ่นในพืชโดยตรง แต่เรามีโอกาสจะได้รับสารเคมีจากการสัมผัสโดยการระเหย ลม ดิน น้า สัตว์น้า ผลผลิตจากคนที่ขาดคุณธรรมในการใช้
4. ความปลอดภัยของระยะการตกค้างในผลผลิตของสารเคมี ถือเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด

แนวทางที่ 5  การลดต้นทุนด้านการจัดการแรงงานและเครื่องจักรกล การเกษตร

เครื่องจักรกลการเกษตร แม้มีราคาแพงแต่ช่วยลดค่าแรงและสามารถ
ทาให้ได้ผลผลิตสูง

ด้านการจัดการแรงงานและเครื่องจักรกล การเกษตร

  1. แรงงานเกษตรต้องมีคุณภาพ คนที่เข้าใจพืช รู้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการความเอาใจใส่ปฏิบัติดูแลรักษาเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ยิ่งผู้ปลูกรู้จักพืชมากยิ่งประสบความสาเร็จในการปลูกมาก
  2. เครื่องจักรกลการเกษตรและเครื่องทุ่นแรง
        –  การใช้เครื่องมือเครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสมจะช่วยให้ลดการใช้แรงงานและทาให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
        –  การลงทุนเครื่องจักรกล ควรพิจารณาที่ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น ไม่ควรสนใจเพียงแต่ราคาเครื่องจักรกลอย่างเดียว ยิ่งถ้ามีพื้นที่มาก มีการปลูกพืชหลายครั้งในรอบปี และสามารถนาออกไปรับจ้างได้ การลงทุนเครื่องจักรกลจะยิ่งมีความคุ้มค่า
  3. บางครั้งผู้นาเกษตรกรอาจจะต้องทบทวนแผนการลงทุน ด้วยการซื้อรถแทรกเตอร์ แทนการซื้อรถกระบะ เพราะสามารถสร้างรายได้ ทั้งเพิ่มผลผลิตการเกษตร ลดต้นทุนค่าจ้าง และสามารถนาไปเป็นอาชีพรับจ้างสร้างรายได้

แนวทางที่ 6  การลดต้นทุนด้วยการปลูกพืชผสมสาน

เกษตรผสมผสานคือการอยู่ร่วมกันของพืชสัตว์มนุษย์อย่างสมดุล และ เกื้อกูล

  1.  ในสวนธรรมชาติ พืชต่างๆจะพึ่งพาอาศัยอยู่ร่วมกันและออกดอกออกผล เพราะแต่ละชนิดมีนิสัยไม่เหมือนกัน บางชนิดต้องการแสงแดดมาก บางชนิดต้องการร่มเงา บางชนิดมีรากสั้น บางชนิดมีรากยาว บางชนิดต้นเตี้ย บางชนิดต้นสูง
  2. ไร่นาสวนผสม คือการทาเกษตรที่ให้มีการใช้ประโยชน์ที่เกื้อกูลกันของพืช สัตว์ ปลา มีการใช้พื้นที่ได้เกิดประโยชน์ไม่ว่างเปล่า พืชเป็นอาหารสัตว์ สัตว์ให้ปุ๋ยแก่พืช พืชเป็นอาหารปลา น้าในสระใช้รดต้นพืช เป็นต้o
  3. การปลูกพืชแบบผสมผสานจะทาให้มีการร่วมกันใช้ที่ดิน ใช้น้า ใช้ปุ๋ย อย่างมีประสิทธิภาพ และลดการระบาดของศัตรูพืช

ขั้นตอนลดต้นทุนการผลิตด้วยการปลูกพืชผสมสาน

  1.   การปลูกพืชผสมผสานตามลาดับชั้น เช่น
        ชั้นที่1. พืชกินหัวกินฝักใต้ดิน เช่น ขมิ้น ถั่วลิสง มันเทศ
        ชั้นที่2. พืชผิวดิน เช่น พืชผักต่างๆ
        ชั้นที่3. พืชล้มลุกระดับกลาง เช่น พริก มะเขือ
        ชั้นที่4. พืชล้มลุกประเภทขึ้นค้าง เช่น พริกไทย บวบ
        ชั้นที่5. พืชยืนต้นระดับกลาง เช่น ผักหวาน
        ชั้นที่6. พืชยืนต้นระดับสูงประเภททรงพุ่มทึบ เช่น มังคุด
        ชั้นที่7. พืชพืชยืนต้นระดับสูงประเภททรงพุ่มโปร่ง เช่น สะตอ
  2. การปลูกพืชตระกูลถั่วตามกันกับพืชหลักจะลดต้นทุนค่าปุ๋ย เช่น ข้าว-ถั่ว (ถั่วเขียว ถั่วลิสง) ถั่วให้รายได้และช่วยเพิ่มปุ๋ยให้ข้าว ข้าว-พืชบารุงดิน(ปอเทือง ถั่วพร้า ) การไถกลบพืชบารุงดินช่วยเพิ่มปุ๋ย และทาให้ดินร่วนขึ้น
  3.  เลี้ยงสัตว์ในสวนไม้ยืนต้น ส่วนของพืชเป็นอาหารสัตว์ และสัตว์จะให้ปุ๋ย และช่วยกาจัดวัชพืช เป็น

แนวทางที่ 7  การลดต้นทุนจากการเพิ่มผลผลิต

ต้นทุนที่เหมาะสมต้องอยู่ภายใต้การได้ผลผลิตที่เต็มศักยภาพและคุ้มค่า

  1. เพราะธรรมชาติเปลี่ยนไปการปลูกพืชต้องอาศัยการลงทุน ในอดีตเรามีดินที่ดี แม้ไม่ต้องใส่ปุ๋ยก็ให้ผลผลิตดี แต่เราใช้ที่ดินนั้นปลูกพืชซ้าๆมานับสิบๆปี ดินจึงเปลี่ยนแปลงไปจนบางที่ไม่เหลือความสมบูรณ์ไว้สาหรับการปลูกพืชในฤดูถัดไป จึงจาเป็นต้องเพิ่มการลงทุนในการปรับปรุงบารุงดิน
  2. การลดต้นทุนให้สมดุลกับการให้ผลผลิต การลดต้นทุนเกินไปอาจทาให้ผลผลิตได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เช่นใส่ปุ๋ยน้อยไม่พอที่พืชต้องการ ไม่ลงทุนให้น้าพืชไม่เจริญเติบโต
    ตัวอย่างทางเลือกที่๑ ลงทุน 2,000 บาท ได้ผลผลิต 1,000 กิโลกรัม ราคาขาย 10 บาทต่อกิโลกรัม ขายได้ 10,000บาท กาไร 8,000 บาท ต้นทุนต่อกิโลกรัมเท่ากับ 2 บาท
    ทางเลือกที่ดีกว่า ลงทุนใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้น 1,000บาท เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น รวมลงทุนเป็น 3,000 บาท ได้ผลผลิตเพิ่มเป็น 1,500 กิโลกรัม ราคาขาย 10 บาทต่อกิโลกรัม ขายได้ 15,000 บาท กาไร 12,000 บาท ต้นทุนต่อกิโลกรัมเท่ากับ 2 บาท เท่าเดิมแต่กาไรมากกว่า

“9 แนวทางเพื่อลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิตพืชเกษตร”

การเพื่อลดต้นทุนการผลิตด้วยการเพิ่มผลผลิต

  1. เลือกพื้นที่ปลูกและศึกษาสภาพพื้นที่ ดิน น้า และปัญหาข้อจากัด
  2. เลือกชนิดพืชเหมาะสมกับสภาพพื้นที่นั้นๆ
  3. เลือกพันธุ์ดีทนทานต่อสภาพปัญหาพื้นที่และทนทานศัตรูพืช
  4. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกดี จานวนเหมาะสม ใช้ระยะปลูกเหมาะสม ไม่ปลูกแน่นเกินไปจนเกิดปัญหาการสะสมของโรคแมลง
  5. ใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตามระยะการเจริญเติบโต
  6. ตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งช่อดอก
  7. ให้น้าเหมาะสมกับช่วงการเจริญเติบโต
  8. ป้องกันกาจัดศัตรูพืช
  9. การบังคับให้ออกนอกฤดู

แนวทางที่ 8  การสร้างมูลค่าเพิ่ม

สินค้าที่มีความเชื่อถือ ย่อมจะขายได้ดีและมีราคามากกว่าสินค้าที่ไม่มีที่มา

  1. ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง เดิมเป็นข้าวพื้นเมืองที่คนไม่ค่อยรู้จัก ราคาข้าวสารประมาณ สิบกว่าบาทต่อกิโลกรัม หลังจากที่มีการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(จีไอ) และรับรองมาตรฐานสินค้า ปัจจุบันขายข้าวสารราคาประมาณ 40-70 บาท
  2. สละป่าบอน สละลุงถัน พัทลุง ราคาขายจากสวน 50 บาทต่อกิโลกรัมตลอดปี โดยเจ้าของสวนรักษาคุณภาพเป็นที่เชื่อถือ มีการบันทึกวันผสมเกสรและกาหนดวันเก็บเกี่ยวตามระยะที่ชัดเจนเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพดี
  3. การบรรจุหีบห่อที่สวยงาม สามารถยกระดับราคาสินค้าให้เพิ่มขึ้น จากสินค้าธรรมดาเป็นสินค้าที่มีคุณค่าเป็นของกานัล ภูมิใจทั้งผู้ให้และผู้รับ

แนวทางที่ 9  การสร้างความมั่นคงด้วยการดารงชีพด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระราชทานแนวพระราชดาริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เป็นหลักคิดถึงการดารงชีพที่มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน ภายใต้ความรอบรู้รอบคอบและมีคุณธรรม
  2. การปลูกพืชตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในขั้นต้นให้เพียงพอการอยู่การกิน และขั้นก้าวหน้าให้ถึงระดับอยู่ดีมีใช้ สามารถพัฒนาจนถึงระดับเศรษฐกิจชุมชนหรือประดับประเทศได้

หลักวิชาการเพื่อลดต้นทุนการดารงชีพ ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เทคนิคการนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการปลูกพืช ควรปฏิบัติตามแนวทาง 4 เสาหลักสู่ความพอเพียง ดังนี้

       เสาหลักที่1. “หัวใจพอเพียง” คือเริ่มที่ความตั้งใจ เปิดใจเรียนรู้ พัฒนาตนเอง พัฒนาแปลงปลูกพืช และมีจิตอาสา
       เสาหลักที่2. “9 พืชผสมสานและเกษตรผสมผสานพอเพียง” คือปลูกพืชผสมสาน ๙ กลุ่มตามความเหมาะสมได้แก่ พืชอาหาร พืชรายได้ พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ พืชสมุนไพรเพื่อป้องกันกาจัดศัตรูพืช พืชอาหารสัตว์ พืชใช้สอย พืชอนุรักษ์ดินน้า พืชอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่น และพืชทาพลังงานเชื้อเพลิง พร้อมทาเกษตรผสมสาน
       เสาหลักที่3. “ภูมิปัญญาภิวัติพอเพียง” คือ การรู้จักศึกษาค้นคว้า ทดลองเปรียบเทียบสิ่งใหม่อยู่เสมอเพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ ใหม่โดยมีขั้นตอนคือ ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุปัญหาอย่างรอบด้าน รวบรวมภูมิปัญญาและความรู้สมัยใหม่หรือผลงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องนามาผสมสานกันและกาหนดเป็นวิธีการแก้ปัญหา 1-2 วิธี นาวิธีเหล่านี้ไปทาแปลงทดลองเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ ติดตามบันทึกข้อมูลอย่างสม่าเสมอ สรุปผลการทดลองสรุปบทเรียน ทาการทดลองซ้าจนกว่าจะได้ผลคงที่ สรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ และถ่ายทอดสู่บุคคลอื่นๆเพื่อนาไปใช้และพัฒนาต่อไป
      เสาหลักที่4. “ดารงชีพพอเพียง” คือการนาเอาคาสอนของในหลวงมายึดถือปฏิบัติในชีวิตประจาวัน ตามหลักความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน รอบรู้รอบคอบและมีคุณธรรมความเพียร

 

ขอบคุณแหล่งที่มาและ รูปภาพ : http://slbkb.psu.ac.th
ผู้แต่ง : ธัชธาวินท์ สะรุโณ 

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จังหวัด สงขลา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ