สวนยางพาราควรเปิดกรีดเมื่อไรดี สำหรับมือใหม่
สวนยางพาราควรเปิดกรีดเมื่อไรดี
สวัดดีครับ บ่อยครั้งที่ได้ยินคำถามจากเกษตรกร ชาวสวนยางพาราว่า “เราควรจะเปิดกรีดยางเมื่อไรดี สำหรับมือใหม่” คำถามง่ายๆ สำหรับพี่น้องชาวสวนยางที่ประกอบอาชีพนี้มาตั้งแต่รุ่น คุณพ่อคุณแม่ แต่ตอบยากไม่น้อย สำหรับมือใหม่ที่เพิ่มทำสวนยาง ส่วนแรกของชีวิต เนื่องจากไม่สามารถตอบเป็นเวลาได้ แต่ต้องบอกเป็นปรากฏการณ์เท่านั้นถึงจะเหมาะสม
สำหรับการเปิดกรีดยางนั้น เป็นเวลาที่มือใหม่ ยังไม่รู้จะลงมือช่วงเวลาไหนดี แต่ถ้ามือเก๋ามากประสบการณ์นั้น ไม่มีปัญหาแน่นนอน จะทำเมื่อไรก็ได้ เมื่อเวลาเหมาะสม เพราะจะบอกว่า เดือนไหน ก็ไม่ได้ เพราะแต่ละภูมิภาคของบ้านเรานั้น ฤดูกาลจะแตกแตกต่างกัน ดูกันง่ายๆ ณ เวลานี้ ภาคเหนือ ฤดูร้อน แห้งแล้งมาก แต่ภาคใต้ฝนตก จะให้ภาคเหนือเปิดตอนนี้เลย ก็ดูกระไรอยู่ เพราะอากาศแล้ง ถึงเปิดกรีดก็น้ำยางออกน้อยจึงไม่เหมาะอีกทั้ง ช่วงนี้ ต้นยางกำลังลำเลียงธาตุอาหารไปเลี้ยงใบ ซึ่งเพิ่งจะผลิใบอ่อนออกมา แต่ถ้าบางแห่งที่อากาศเย็นกว่าหน่อย หรือ บำรุงน้ำดี ก็อาจจะโตและแก่แล้วก็ได้เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับการดุแลรักษา
เปิดกรีดยางตอนต้นยางอายุกี่ปี
นี่ก็เป็นอีกคำถามหนึ่ง ที่เราจะได้ยินบ่อยๆ สำหรับชาวสวนยางแบบเราๆ ซึ่งแต่เดิมมา เราจะได้รับการบอกกล่าวว่า ถ้าต้นยางอายุได้ 7 ปี ต้นยางโตพอสมควรคือ วัดรอบต้นได้ 50-60 ซม. ก็สามารถเปิดกรีดได้เลย นั่นเป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือเปล่า เพราะแต่ละสวนนั้น ขนาดยางจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ดินฟ้า อากาศ ก็สำคัญ
“แต่พอเราศึกษาจากคำแนะนำของ กยท.มากๆ จะเจอคำแนะนำว่า” ให้เปิดกรีด เมื่อต้นยางของเราโต สมบูรณ์มากพอ คือ วัดความสูงจากพื้นดินขึ้นไปโดยประมาณ 150 ซม. แล้ววัดรอบต้น (ตรงที่ความสูง 150 ฅม.) มีเส้นรอบต้น 50-60 ซม. ก็สามารถกรีดได้และกยท. ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า แต่ก่อนมามักจะบอกกันว่า ถ้ายางพาราอายุได้ 7 ปี สามารถเปิดกรีดได้ เพราะคิดว่าเป็นการสรุปที่เข้าใจง่าย ความจริงคือการประมินว่า พอต้นยางพาราอายุ 7 ปี ต้องมาดูคุณภาพของต้นยางกันอีกที และอาจจะวัดรอบต้นได้ 50 ซม. ขึ้นไป เอาเป็นว่าสรุปให้เข้าใจกันง่ายๆขึ้นคือ การเลือกเปิดกรีด คือ ให้วัดรอบต้น ณ ความสูง 150 ซม. ให้มีเส้นรอบต่นได้ 50 ซม.
แล้วเปิดกรีดยางช่วงฤดูไหนดี
ถ้าคำถามแบบนี้ พอจะบอกได้ว่า ต้นฤดูฝน ซึ่งจะเปิดกรีดเมื่อไรนั้น ก็คือ หลังจากที่มีฝนตกมาสักระยะหนึ่ง หลังจากทำการใส่ปุ๋ย พราะดินชื้น รากฝอยเริ่มงอกออกหากิน หน้ายางก็นิ่มขึ้น น้ำยางก็ไม่ข้น จะมีผลให้คนกรีดมีกำลังใจมากขึ้นหน่อย
มือใหม่เริ่มเปิดกรีดยาง อย่างไรดี
ในการเปิดกรีดยางครั้งแรกนั้น สามารถจะกรีดติดต่อกัน 4-5 วันก็ได้ (ทำกลางวันหรือกลางคืนก็ได้ ส่วนมากทำกันกลางวัน) ช่วงนี้ เรียกกันว่า เนาหน้ายาง
หลังจาก 4-5 วันแล้ว เว้นหนึ่งวัน แล้วกรีด 2 วัน ถ้าน้ำยางออกยังไม่มาก ก็ทำกลางวันไปก่อนก็ได้ แต่ถ้าพร้อมจะทำกลางคืน หรือ ตอนเช้ามืด ก็ทำได้เลย เพราะโดยทั่วไปแล้ว การกรีดตอนเช้าน้ำยางจะออกเยอะ ตามหลักทางวิชาการบอกไว้ว่า ช่วงเวลาที่น้ำยางออกมาที่สุดคือ ตีสาม ถึง หกโมงเช้า (03.00 – 06.00 น.) ฉะนั้น เราสามารถเริ่มกรีดก่อนตีสามนิดหน่อย หรือตีหนึ่งตีสองก็ได้ ถ้าต้นยางมีเยอะ ผมเคยอ่านของชาวต่างประเทศ เขาบอกว่า อุณภูมิที่ยางออกดีคือ 20-25 องศาเซลเซียส นะครับ
วิธีการเปิด คงไม่ต้องพูดถึงละเอียด เพราะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า มีดังนี้
- วัดสูงจากพื้นดิน 150 ซม. แล้ววัดดูขนาดว่าได้อย่างน้อย 50 ซม. (ถือว่าต้นโตสมบูรณ์)
- กรีดเฉียง (ไหล่ยาง) ด้านซ้ายสูงเอียงลงมาทางขวา 23 องศา (น้ำยางไหลดี ตัดท่อยางได้มากท่อ)
- มีดกรีดยางต้องคม ฯลฯ
ส่วนการ กรีดยางอย่างไรให้น้ำยางออกมาก
สำหรับข้อนี้นั้นถ้าตอบแบบบ้านๆ ง่ายๆ เลยคือ
- ใส่ปุ๋ยตามความต้องการของดิน หรือ ใส่ปุ๋ยตามสูตร
- กรีดยางเป็น ไม่ใช่แค่ “กรีดยางได้” นะครับ ต้อง “กรีดเป็น”ด้วย
- ถ้าใส่ปุ๋ยเคมี ก็ควรมีปุ๋ยอินทรีย์สลับบ้างบางปี เช่น ขี้วัว,ขี้แพะ,ขี้หมู,ขี้ไก่ เป็นต้น หรืออาจจะเป็นปุ๋ยมักที่ทำขึ้นมาเอง ถ้าใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ควรใส่ให้มากหน่อย เพราะ NPK มีน้อยกว่าเคมี ต้องดูปริมาณให้เหมาะสมกับพื้นที่ด้วย
- การใส่ปุ๋ย ควรใส่เป็นระยะ เช่น จากปีหนึ่ง ใส่ 2 ครั้ง ครั้งละ ครึ่งกก. ต่อต้น ก็อาจจะใส่จำนวนน้อยลงครึ่งหนึ่ง แล้วใส่บ่อยขึ้น จากสองครั้ง เป็นสี่ครั้ง ห่างจากครั้งแรก สองเดือน
นี่เป็นเบื้องต้นนะครับ มีข้อสังเกตอีกหลายอย่าง ค่อยๆ ศึกษาและดูกันไป เรื่องๆ และปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมของพื้นที่ของท่านเอง
ต่อมาคือ “ใช้กรดอะไรหยอดทำยางก้อน?”
ใช้กรดอะไรหยอดทำยางก้อน คำถามนี้ ที่จริงไม่ควรจะมีแล้วนะครับ เพราะทางกยท. (ตั้งแต่ยังเป็น สกย.) ได้แนะนำไว้แล้วว่า ให้ใช้ “กรดฟอร์มิก” เพราะรักษาคุณภาพยางได้ดีกว่าคือ มีความยืดหยุ่น และไม่เป็นอันตรายต่อต้นยางพารา ผมเคยเขียนแนะนำไว้แล้วว่า ประหยัดมากๆ ก็ผสมโดย กรดฟอร์มิก 50 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร (ถ้าต้องการให้เข้มข้นมากขึ้นก็ 100 หรือ 120 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร คือ ขวด M150 กระทิงแดงฯ )
กรณีน้ำกรดนี้ ผมคิดว่า เราน่าจะใช้ กรดฟอร์มิค ที่เป็นแกลลอน ดีกว่า ที่เขาแบ่งใส่ขวดขายนะครับ แกลลอน ละ 250-320 บาท แล้วแต่ร้านและเกรดของกรด (มีสามเกรดคือ จีน เยอรมันนี และอีกที่จำไม่ได้ครับ) แต่ผมเองชอบซื้อแกลลอนใหญ่ 30 ลิตร ดีกว่า เพราะจะได้แกลลอนไว้ใช้ด้วย ราคา 1,540 บาท เห็นบางที่ถูกกว่านี้ แต่อยู่ไกลไปซื้อไมได้ครับ เราเอามาแบ่งใส่แกลลอนเล็ก เพื่อใช้ในแต่ละครั้งเอา สบายดี
ส่วนน้ำหมัก หรือ กรดประเภทอื่น ผมว่า เลิกใช้ดีกว่านะครับ เพราะเขาว่าทำให้ก้อนยางไม่ยืดหยุ่น บริษัททำยางรถยนต์เขาตำหนิมา ขึ้นเราใช้ต่อไป ก็จะโดนกดราคาลงไปเรื่อยๆ ขอพูดสั้นๆ เพราะถ้าพูดทั้งหมดมันยาวเลยครับ
จากเรื่องนี้ที่จั่วหัวว่า “สวนยางพาราควรเปิดกรีดเมื่อไรดี สำหรับมือใหม่” ทำให้ได้พูดถึงเรื่องปุ๋ยเรื่องยางกันไป ตามประสาเกษตรกรเรา แต่ว่า อย่ามัวแต่ซื้อเยอะนะครับ หาทำ “ปุ๋ยหมัก” บ้างก็ได้จะได้ลดต้นทุน ผมเองก็ทำการหมักปุ๋ยจากเศษต้นไม้ต้นหญ้าด้วย เลี้ยงไส้เดือนด้วย ซื้อปุ๋ยคอกมาใส่ด้วย บำรุงด้วยจุลินทรีย์ต่างๆ ที่ทำเองด้วย ไม่แพงครับ ได้คุณภาพเท่าปุ๋ยราคาเป็นพันบาท
ขอบคุณแหล่งที่มา : http://para-buy.blogspot.com/
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ