การเลี้ยงแมงดานา อาชีพเสริมสร้างรายได้ดี!!
การเลี้ยงแมงดานา
“การเลี้ยงแมงดานา อาชีพเสริมสร้างรายได้ดี” แมลงดานา (Heteroptera) เป็นแมลงกินได้ที่คนไทยนิยมบริโภคทั่วทุกภูมิภาค ที่ผ่านมามีการนำมาเลี้ยงโดยเลี้ยงรวมกันในบ่อ ดินที่มีโรงเรือนคลุมเพื่อป้องกันการหลบหนีแต่ผลการเลี้ยงมีอัตรารอดต่อเนื่องจากแมลงดานามีพฤติกรรมกินกันเองในทุกระยะการเจริญเติบโต การเพาะเลี้ยงแมลงดานาแบบเลี้ยงเดี่ยวโดยให้อาหารจำพวกลูกปลา ลูกอ๊อดกบวันละหนึ่งครั้งพบว่า สามารถเลี้ยงแมลงดานาให้มีการเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยได้ สามารถแก้ปัญหาการกินกันเองและมีอัตรารอดสูงขึ้น ส่วนวัสดุอุปกรณ์การเลี้ยงได้ประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาง่ายและมีราคาถูก เหมาะกับผู้สนใจที่มีเงินลงทุนน้อย อีกปัญหาหนึ่งสำหรับคนทั่วไป เกี่ยวกับการเลี้ยงแมลงดานาคือ ความสับสนในการจำแนกเพศ โดยทั่วไปใช้ลักษณะภายนอก เช่น ขนาดของลำตัว รูปร่างลักษณะ และกลิ่นในการจำแนก จากการศึกษาลักษณะภายนอกพบว่า บริเวณลำตัวด้านท้องส่วนที่เรียกว่า trap (จับปิ้ง) ของแมลงดานาเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะที่แตกต่างกัน มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถใช้จำแนกเพศได้อย่างถูกต้องแม่นยำและไม่ทำให้แมลงดานาได้รับบาดเจ็บจากการคัดเพศ
ทำไมต้องเลี้ยงแมงดานา ?
คำถามนี้ ทำให้อดที่จะสงสัยไม่ได้ ว่า ทำไมต้องเป็นแมงดานา หรือ เลี้ยงแมงดานา มีอีกตั้งเยอะ ๆ ตั้งแยะ ที่ให้ทำ ทั้งจิ้งหรีด เห็ด ดักแด้ พอค้นหาข้อมูลดูสักหน่อยก็ต้องบอกว่า แมงดานานี่ราคาไม่ใช่เล่น ๆ ขายกันเป็นตัวไม่ต้องชั่งกิโล ราคาก็อยู่ราว ๆ 7-12 บาท โดยตัวผู้ที่มีกลิ่นหอม (บางคนบอกว่าฉุน) ราคา 10-12 บาท ส่วนตัวเมีย อยู่ที่ 7-10 บาท ระยะเวลาจากแรกเกิดจนถึงส่งขายใช้เวลา 30-45 วัน
ขั้นตอนการเตรียมบ่อเลี้ยงแมงดานา
- ให้เลือกเอาที่โล่งแจ้งใกล้แหล่งน้ำแต่น้ำท่วมไม่ถึง ประการสำคัญต้องเป็นสถานที่ที่ไม่พลุกพล่าน อาจจะเป็นมุมใดมุมหนึ่งสนามหลังบ้านก็ได้ เพราะบ่อเลี้ยงแมงดานาใช้พื้นที่ไม่มากนัก ทำเลที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำจืด เช่น ท้องนา บึง หรือหนองน้ำตื้น ๆ และเป็นบริเวณที่มีแมลงชุกชุม
- สูตรสำเร็จในการวางผังบ่อเขาว่าไม่มีด้านยาวเป็นบวกหนึ่งของด้านกว้าง ยกตัวอย่าง ขนาด 3×4 เมตร หรือ 4×5 เมตร รวมพื้นที่บ่อประมาณ 20 ตารางเมตร จะสวยที่สุด สำหรับความลึกของบ่อจะอยู่ในราว 1-1.5 เมตร ไม่ควรมกหรือน้อยกว่านี้
- พื้นที่บ่อที่ก่อจากซีเมนต์กันน้ำรั่วน้ำซึมได้นั้น ด้านข้างทั้งสี่ด้านควรลาดเททำมุม 45 องศา และตรงกลางบ่อน้ำเป็นหลุมลึกสักจุดหนึ่ง เพื่อเป็นที่รวมของเสียจะง่ายต่อการดูดกำจัดเพื่อทำความสะอาด
- หลังจากนั้นก็หาต้นพืชเล็ก ๆ เช่น ต้นกก หญ้า หรือต้นโสน มาปลูกภายในบ่อให้ดูเป็นธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นที่วางไข่ของแมงดา
- ใช้ไม่ไผ่หรือไม้เนื้ออ่อนปักเสารอบทั้ง 4 ด้าน และทำคานไว้ด้านบน เป็นลักษณะโรงเรือน และมุงด้วยหญ้าคาเพื่อใช้บังแดด
- ใช้ตาข่ายตาถี่ขนาดที่แมงดาไม่สามารถบินหนีออกไปได้มาขึงไว้โดยรอบทุก ๆ ด้าน รวมทั้งด้านบนด้วย
- ในโรงเรือนหาโพรงไม้เลื่อยออกเป็นท่อน ๆ นำมาแขวนไว้ประมาณ 4-5 ท่อน เพื่อใช้เป็นที่อาศัยของแมงดา
- ขาดไม่ได้ คือ ชานบ่อโดยรอบให้กว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนนี้ไม่ต้องเทซีเมนต์แต่ปล่อยทิ้งไว้เป็นดิน เพื่อที่เราจะปลูกต้นไม้น้ำใช้เป็นที่พักอาศัยของแมงดานาได้บ้างอาจจะปลูกต้นกก ผักบุ้ง หรืออะไรก็ได้ที่คิดว่าเลียนแบบธรรมชาติได้มากที่สุดนั่นแหละ นอกจากนี้บ่อเลี้ยงต้องขึงตาข่ายตาไม่ใหญ่กว่า 1 ซม. ป้องกันไม่ให้แมงดานาบินหนี หรือมีหนูเข้าไปลักกินแมงดานาส่วนหลังคาต้องกันแดดกันฝนได้ดี
- จากทำบ่อ และบ่มจนน้ำหมดกลิ่นปูนเรียบร้อยแล้ว ก็จัดการปล่อยพ่อแม่พันธุ์แมงดานาลงไปได้เลย โดยน้ำที่ใส่ต้องเป็นน้ำสะอาดจากน้ำคลองที่สูบขึ้นมาพักจนตกตะกอนดีแล้วจะดีที่สุด ใส่น้ำให้ได้ระดับความลึกประมาณ 70-80 ซม. แล้วปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงไปในอัตรา 50 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร สัดส่วนของตัวผู้กับตัวเมียตามตำราเขาว่า 1 ต่อ1 ดีที่สุด แต่ที่นี้ราคาแมงดานาตัวผู้เป็น ๆ นั้นค่อนข้างจะแพงเอาเรื่อง ดังนั้นสัดส่วน 1 ต่อ 5 ก็น่าจะได้ผลดีพอสมควร
การปล่อยพ่อแม่พันธุ์แมงดานา
พ่อแม่พันธุ์ที่ใช้เลี้ยง ควรมีอายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป โดยสังเกตได้จากสีของปีกที่มีลักษณะสีน้ำตาล ปนด้วยหลายแถบสีดำเข้ม อัตราการปล่อย ตัวผู้ 1 ตัว ต่อตัวเมีย 2 ตัว โดยตัวเมีย 1 ตัว ควรให้มีพื้นที่ประมาณ 2 ตารางเมตร เพราะตัวเมีย 1 ตัวจะออกไข่ และฟักเป็นตัวได้ประมาณ 100-200 ฟอง ดังนั้น หากบ่อมีขนาด 2 x 5 เท่ากับ 10 ตารางเมตร จะใช้ตัวเมียประมาณ 4-5 ตัว ตัวผู้ประมาณ 2-3 ตัว สำหรับบ่อซีเมนต์หรือถังพลาสติกทรงกลมมักมีขนาดเหมาะสำหรับ ตัวเมีย 1 ตัว และตัวผู้ 1 ตัว เท่านั้น
การปล่อยพ่อแม่พันธุ์จะเริ่มปล่อยหลังการนำน้ำเข้าบ่อประมาณ 2-3 วัน เพื่อปรับคุณภาพน้ำก่อน โดยเฉพาะบ่อที่สร้างใหม่จะต้องขังน้ำ 14 วัน ถึง 1 เดือน ก่อน แล้วปล่อยน้ำทิ้ง ก่อนนำน้ำเข้าใหม่
การวางไข่และการผสมพันธุ์
ฤดูที่แมงดาจะออกแพร่พันธุ์ จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือเข้าหน้าฝน หรือฝนตกพรำ ๆ แมงดาจะวางไข่ตามกอหญ้า หรือต้นไม้ขนาดเล็ก ตัวเมียปล่อยวุ้นออกมายึดไข่กับกิ่งไม้หรือกอหญ้า วางไข่เป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีประมาณ 100-200 ฟอง การวางไข่เหนือผิวน้ำ ประมาณ 3-5 นิ้ว ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในแต่ละปี คือ ถ้าปีใดน้ำมากจะไข่ไว้สูง ถ้าปีใดน้ำน้อยจะไข่ไว้ต่ำ เมื่อวางไข่แล้วตัวผู้จะคอยดูแลไข่ จนกว่าตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่ และหากินเองได้การเจริญเติบโตของแมงดาเป็นไปโดยการลอกคราบ แมงดาจะลอกคราบรวมทั้งหมดห้าครั้ง จึงจะเป็นแมลงมีปีกโดยสมบูรณ์ และสามารถบินได้ แมงดาจะเจริญเติบโตเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน ขนาดลำตัวจากหัวถึงปลายปีกยาวประมาณ 7 เซนติเมตร และส่วนท้องจะกว้างประมาณ 2.6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่ตลาดต้องการและจับขาย จัดการเก็บไม้น้ำ โพรงไม้ ขอนไม้ หรืออะไรที่ลอยน้ำเป็นที่ยึดเกาะของแมงดานาออกจากบ่อให้หมด โดยนำไม้ไผ่หรือกิ่งไม่แห้ง ๆ
ใส่ลงไปแทนที่ทิ้งไว้แบบนี้ 3-4 วันก่อนเปลี่ยนใส่น้ำเข้าไปใหม่ในระดับเดิมคือ ประมาณ 80 ซม. หรือเกือบเต็มบ่อก็ได้ จากนั้นเก็บไผ่กิ่งไม้ออกใส่ลูกบวบลงไปแทน โดยลูกบวบนี้ทำจากท่อนกล้วยยาวท่อน 1 เมตร ที่ถ่วงน้ำหนักให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของท่อนกล้วยจามน้ำด้านนี้เสทอ ส่วนด้านบนที่ไม่จมน้ำปักด้วยซี่ไม้ไผ่ปรือไม่เสียบลูกชิ้นยาวงคืบกว่า ๆ เป็นแถว กะว่าแต่ละอันห่างกันประมาณ 10 ซม. แมงดานาจะขึ้นมาวางไข่ตามไม้ที่ปักไว้นี้ หลังจากนี้ประมาณ 3-4 วัน ไปแล้ว ซึ่งเมื่อเห็นแมงดานาวางไข่จนหมด นอกจากนี้แล้วแมงดานาตัวเมียจะวางไข่ได้อีก 2-3 ครั้ง ในแต่ละช่วงปีห่างกันครั้งละ ประมาณ 1 เดือน
ดังนั้น หากเราต้องการมีแมงดานาขายอย่างต่อเนื่องแล้วอาจจะต้องลงทุนทำบ่อไว้หลายบ่อโดยใช้วิธีย้าย เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หลังจากวางไข่ผสมพันธุ์แล้วจะดีกว่า เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเช่นนี้จะเร่งให้มันผสมพันธุ์วางไข่เร็วขึ้น โดยพ่อแม่พันธุ์แต่ละรุ่นเขามักนิยมใช้กันแค่ปีเดียวคือวางไข่ได้ 2-3 ครั้งก็จับขาย แล้วเลือกคัดเอาบรรดาลูก ๆ รุ่นใหม่เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป
แมงดาไม่จำเป็นต้องดูและให้ยุ่งยากเหมือนสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เพียงแค่ดูแลเรื่องอาหารของลูกแมงดาให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการก็พอ เนื่องจากลูกแมงดาในระยะแรกค่อนข้างจะกินจุ ส่วนแมงดาที่มีขนาดโตและบินได้แล้วก็จะจับแมงกินเองได้ แต่ในฤดูแล้งแมงดาจะไม่กินอาหาร ดังนั้นการเลี้ยงแมงดาจึงไม่ค่อยจะมีปัญหาอะไรมากนัก
เทคนิคการเลี้ยงแมงดานา
ตามปกติแล้วลูกแมงดานาจะฟ้าออกจากไข่หลังจากนี้ประมาณ 8-10 วันโดย 2 วัน แรกจะไม่กินอาหาร แต่วันที่ 3-4 จะต้องให้อาหารจำพวกลูกอ๊อด (ลูกอ๊อดคางคกให้ไม่ได้เพราะเมื่าอแมงดานากินแล้วจะตาย) หรือปลาซิว ลูกกุ้ง ระยะนี้ลูกแมงดานาจะกินอาหารมาก เราจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่านน้ำบ่อยครั้ง โดยต้องระวังอย่าให้ลูกแมงดานายังเล็ก ๆ จะมีจุดหนึ่งที่ต้องระวังให้ลูกแมงดาติดมากันเศษอาหารหรือน้ำเสียด้วยการปิดปากท่อด้วยตะแกรงให้ดีเสียก่อน
เรื่องอาหารของลูกแมงดานานี้ ยังไม่มีข้อสรุปว่าอะไรดีที่สุด และจะให้ในปริมาณมากน้อยแค่ไหน วิธีสังเกตมีอยู่อาหารที่ใส่เลี้ยงนั้นหากพบว่าไม่มีแมงดานาเข้ามาเกาะกินนั่นแสดงว่า การให้อาการมื้อนั่น ๆ เพียงพอแล้ว อย่างไรก็ดีในช่วงแมงดานายังเล็ก ๆ จะมีจุดหนึ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษสักหน่อย คือ เรื่องคุณภาพของน้ำต้องสะอาดอยู่เสมอ ดังนั้นการเปลี่ยนถ่ายน้ำควรทีทุก 6-7 วัน
แมงดานาที่จะการลอกคราบเพื่อเติบโตประมาณ 5 ครั้ง คือ ครั้งแรกเมื่อมีอายุได้ 2 สัปดาห์ครั้งที่สองหลังจากนี้ประมาณ 5-7 วัน และอีกเท่า ๆกัน สำหรับการลอกคราบครั้งที่ 3-4 และ 5
สรุปแล้วประมาณเดือนเศษลูกแมงดานาจะโตเป็นตัวแก่ที่สมบูรณ์และหลังจากนี้เราต้องเปลี่ยนเป็นอาหารที่ใหญ่ขึ้น โดยใช้ปลา กบ เขียด หรือปู ที่ตายแล้วใส่เป็นอาหารเลี้ยงแมงดานาได้ซึ่งจากการประเมินพบว่า แมงดานาตัวเต็มวันจำนวน 100 ตัว จะกินปู 1 ตัว หมดภายใน 1 วัน แต่ถ้าเป็นกบ 1 ตัว ใช้เวลาถึง 2 วัน และหากว่าเราใช้ปลาทั้งตัวขนาด 1 ฝ่ามือแมงดานาจำนวน 1,000 ตัว จะกินหมดภายในมื้อเดียว โดยอาหารแบ่งในช่วงเช้าและเย็น
การจับแมงดานา
แมงดานาที่โตเต็มวัยพร้อมที่จะจับจำหน่ายจะมีอายุประมาณ 8 เดือน ถึง 1 ปี โดยให้จับจำหน่ายในช่วงก่อนเริ่มฤดูฝนในปีถัดไป
การจับแมงดานาตามธรรมชาติ แมงดานาในธรรมชาติมักพบได้ตามแหล่งน้ำตื้น ที่เป็นแหล่งน้ำขังใหม่ เช่น ทุ่งนา ทุ่งนาร้าง บ่อที่มีน้ำตื้น และพื้นที่น้ำขังใหม่ต่างในช่วงต้นฤดูฝน
การจับแมงดานาธรรมชาติจะเริ่มจับประมาณเดือนฤษภาคม-กันยายน ที่เป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์ และวางไข่ ซึ่งช่วงนี้แมงดานาจะมีกลิ่นหอมแรงกว่าช่วงอื่นๆ เนื่องจากมีการปล่อยสารฟีโรโมนออกมามาก วิธีการจับแมงดานาตามธรรมมี 2 วิธีที่นิยม คือ
- การงม
การจับจะเริ่มด้วยการหาแหล่งน้ำตื้นตามทุ่งนา และแหล่งน้ำขังตื้นๆ โดยให้มองหาไข่แมงดาที่ติดกับต้นหญ้าหรือต้นข้าว หากพบไข่ให้แล้วจะใช้วิธีการมองหาแม่แมงดาในน้ำ (หากน้ำใสพอ) แต่หากน้ำขุ่นจะใช้วิธีการงมหาด้วยการกวาดมือเบาๆ งมตามพื้นรอบต้นหญ้าที่มีไข่อยู่ ซึ่งจะงมเจอได้ง่าย แต่ควรระวังการเดินลงน้ำต้องค่อยๆเดิน และการกวาดมืองมต้องค่อยงมหาเช่นกัน
ข้อควรระวัง
แมงดานาทุกตัวจะมีปากดูดสำหรับเจาะเหยื่อเพื่อฉีดน้ำย่อยก่อนที่จะดูดกินกลับไป และส่วนของปากดูดนี้จะมีเข็มพิษที่เรียกว่า “เหล็กหมาด” มีพิษคล้ายกับแมงป่องอย่างไรก็อย่างนั้นจะจับจะต้องก็ให้ระวังกันด้วย
เคล็ดไม่ลับที่นักเพาะเลี้ยงแมงดานา เขาอุบกันไว้นั้นก็คือ การเร่งให้แมงดานาผสมพันธุ์น่าจะทำให้ช่วงฝนแรก อาจจะประมาณเดือนพฤษภาคม และทำในวันที่ฝนตกพรำ ท้องฟ้ามือครึ้ม จะได้ผลดีที่สุดสำหรับไข่สุดแรก
แหล่งที่มาของข้อมูล : https://www.opsmoac.go.th/เลี้ยงแมงดานา
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ