การเพาะเลี้ยงปลานิล (Oreochromis niloticus) แบบลดต้นทุน
การเพาะเลี้ยงปลานิล (Oreochromis niloticus) แบบลดต้นทุน และ เพิ่มประสิทธิภาพ ปลานิล เป็นปลาน้้าจืดที่มีความส้าคัญทางเศรษฐกิจ ชนิดหนึ่ง มีถิ่นก้าเนิดแถบลุ่มแม่น้้าไนล์ในประเทศอียิปต์ และได้รับความนิยมในการบริโภคเป็นอย่างมากทั้งในประเทศไทยและยังมีความต้องการของตลาดโลกสูง เนื่องจากมีรสชาติดีเนื้อมีสีขาว สามารถน้ามาปรุงอาหารได้หลายรูปแบบ จึงท้าให้เป็นที่ต้องการของประชาชนในประเทศเป็นจำนวนมาก
สายพันธุ์ปลานิลในประเทศไทย
ปลานิลพันธุ์จิตรลดา 1
ปลานิลสายพันธุ์ จิตรลดา 1 เป็นปลานิลที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากการคัดเลือกสายพันธุ์แบบภายในครอบครัว (within family selection) เริ่มด าเนินการปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ซึ่งทดสอบพันธุ์แล้วพบว่าอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 22 % ลักษณะที่สำคัญ มีการเจริญเติบโตดีเลี้ยงง่าย ทนทาน และออกลูกง่าย
ปลานิลพันธุ์จิตรลดา 2
ปลานิลสายพันธุ์ จิตรลดา 2 ได้จากการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมปลานิลสายพันธุ์อียิปต์ ให้พ่อพันธุ์มีโครโมโซมเพศเป็น “YY” เรียกว่า “YY-male” หรือ Supermale เมื่อน าไปผสมกับแม่พันธุ์ปกติจะได้ลูกพันธุ์ปลานิลเป็นเพศผู้ทั้งหมด มีลักษณะส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สีขาวนวลเนื้อหนาและแน่นรสชาติดี อายุ 6-8 เดือน สามารถเจริญเติบโตได้ขนาด 2-3 ตัวต่อกิโลกรัม ให้ผลผลิตต่อไร่ สูงกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 45% และเนื่องจากปลานิลสายพันธุ์นี้ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและยากต่อการเพาะพันธุ์จึงไม่นิยมนำมาเลี้ยง
ปลานิลพันธุ์จิตรลดา 3
“ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3” เป็นพันธุ์ปลานิลที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ส าเร็จในปี 2550โดยปรับปรุงจากปลานิลสายพันธุ์GIFT (Genetic Improvement of Farmed Tilapia) รุ่นที่ 5 ของหน่วยงาน International Center for Living Aquatic Resource Management (ICLARM) ประเทศฟิลิปปินส์ (ซึ่งมีสายพันธุ์จิตรลดาดั้งเดิมผสมอยู่ด้วย) “ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3” ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบหมู่ (Mass Selection) เพื่อให้มีการเจริญเติบโตดีมีอัตรารอดและให้ผลผลิตสูง มีลักษณะเด่นคือ หัวเล็ก ตัวหนา เนื้อแน่นและมาก
ปลานิลพันธุ์จิตรลดา 4
“ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 4” เป็นพันธุ์ปลานิลที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สำเร็จในปี 2552 โดยปรับปรุงจากปลานิลสายพันธุ์GIFT รุ่นที่ 9 จาก WorldFish Center ประเทศมาเลเซีย (ซึ่งมีสายพันธุ์จิตรลดาดั้งเดิมผสมอยู่เช่นเดียวกัน) “ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 4” ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีการประเมินจากค่าการผสมพันธุ์ (Estimated Breeding Value, EBV) ของน้ำหนัก เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง มีลักษณะเด่น คือ ส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สันหนา
ทำไมต้องลดต้นทุนการเลี้ยงปลานิล
เนื่องจาก ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
- ทำให้เกษตรกรมีกำไรลดลง บางรายประสบปัญหาการขาดทุน หรือไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
- เพื่อต้องการลดต้นทุนการผลิตลง เพิ่มโอกาสในการแข่งขันในการส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ
- มีการนำเข้าปลานิลจากต่างประเทศเพื่อแปรรูปส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาถูกกว่าในประเทศ
แนวปฏิบัติในการลดต้นทุนการผลิตปลานิลในบ่อดิน
ขั้นตอนการเตรียมบ่อดิน
- กรณีเป็นบ่อใหม่ กำจัดวัชพืชและพรรณไม้น้ำไปกองสุมทำเป็นปุ๋ยพืชสด กรณีเป็นบ่อเก่า ต้องนำเลนออกนอกบ่อหรือใช้วิธีไถพรวนดิน 2 – 3 ครั้ง แล้วทำการตากบ่อให้แห้งแล้วบดพื้นบ่อให้แน่นก่อน
- การกำจัดศัตรูปลานิล ด้วยโล่ติ๊นสดหรือแห้ง 1 กิโลกรัมต่อปริมาณน้า 100 ลูกบาศก์เมตร โดยทุบหรือบดโล่ติ๊นให้ละเอียดนำลงแช่น้ำประมาณ 1 – 2 ปี๊บ จนน้ำยางสีขาวออกแล้วนำไปสาดให้ ทั่วบ่อทุกบ่อที่ต้องการจะเลี้ยง
- ทำการหว่านปูนขาวให้ทั่วพื้นบ่อและขอบบ่อใน อัตรา 100 – 150 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากนั้นให้ตากบ่อประมาณ 3 – 7 วัน
- หว่านปุ๋ยมูลสัตว์แห้งหรือผ่านการหมักโดยสมบูรณ์ ในอัตรา 100 – 200 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ อามิ-อามิ 100 – 150 ลิตรต่อไร่ (การใช้ต้องระวัง เนื่องจากขบวนการย่อยสลายอามิ-อามิ ดึงออกซิเจนละลายน้าเป็นปริมาณมาก)
- ทำการกรองน้ำเข้าบ่อ โดยผ่านถุงกรองเบอร์ 26 หรือถี่กว่า ซ้อนกัน 2 ชั้น
- เตรียมบ่อทิ้ง ไว้ประมาณ 1 สัปดาห์
ผลที่ได้รับจากการเตรียมบ่อที่ดี
- ช่วยให้เกิดแหล่งอาหารตามธรรมชาติในบ่อในบ่อเลี้ยงใหม่
- ลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีต่างๆ
- การกำจัดจัดศัตรูปลาจะเป็นการเพิ่มอัตรารอดให้กับปลานิลได้เป็นอย่างดี
- การหว่านปูนขาวจะช่วยปรับสภาพดินพื้นบ่อให้เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลานิลให้มีการเจริญเติบโตดี
- การกรองน้ำเข้าบ่อนั้นจะช่วยลดการสูญเสียปลานิลจากเชื้อโรคและก๊าซไข่เน่าซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์น้ำที่พื้นบ่อ
- การเตรียมบ่อก่อนนั้น เพื่อเพิ่มปริมาณอาหารจากแหล่งธรรมชาติภายในบ่อให้กับปลานิล
ขั้นตอนการเตรียมลูกพันธุ์ปลา
ให้ใช้ลูกพันธุ์ปลานิลที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์แล้วได้แก่ ปลานิลจิตรลดา 3 และเป็น ปลานิลแปลงเพศ แล้วปล่อยลูกปลานิลขนาด 2 – 3 ซม. ในอัตรา 2,500 – 4,000 ตัวต่อไร่ อนุบาลประมาณ 3 เดือน ซึ่งจากเดิมปล่อยลูกปลา 10,000 ตัวต่อไร่
อาหารในการอนุบาลลูกปลานิล 3 เดือนแรก
สร้างอาหารธรรมชาติเป็นหลัก โดยอาจจะใช้ฟางแห้ง, มูลสัตว์แห้ง, มูลสัตว์หมัก, อามิ-อามิ (กากเหลือจากโรงงานผลิตผงชูรส) และปุ๋ยพืชสด หรือ ปุ๋ยหมัก อัตรา 150 – 300 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน สาหรับช่วงอนุบาลลูกปลานิลและในช่วง 3 เดือนแรก ควรรักษา สีน้าให้คงที่เพื่อให้มั่นใจว่ามีอาหารธรรมชาติอยู่เสมอ ช่วง 1 – 1.5 เดือนแรกของการอนุบาล ให้อาหารเสริมเพิ่มเติม ได้แก่ รายละเอียด ช่วง 1.5 – 3 เดือนของการอนุบาลให้อาหารเม็ดสาเร็จรูปโปรตีน 30 %
ขั้นตอนการให้อาหารปลานิลในบ่อดิน สามารถแบ่งออกได้ 4 วิธี ในการลดต้นทุนการเลี้ยง ดังนี้
- การให้อาหารโปรตีน 30 % สลับมื้อกับการให้อาหารโปรตีน 25 % วันละ 4 มื้อ ซึ่งสามารถลดต้นทุนอาหารลง 5 – 7 % ของค่าอาหารปลาต่อวัน และใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 – 4 เดือน
- การให้อาหารโปรตีน 25 % ตลอดช่วงการเลี้ยง ให้วันละ 3 – 4 มื้อ ซึ่่งจะสามารถลดต้นทุนอาหารลง 6.25 – 10 % ของค่าอาหารปลาต่อมื้อ และใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4 – 5 เดือน
- การให้ราอัดเม็ดเป็นอาหารโดยตลอดการเลี้ยงจนจับขาย ซึ่งสามารถลดต้นทุนอาหารลง 58 % ของอาหารต่อกิโลกรัม แต่ใช้เวลาเลี้ยงนาน 5 – 7 เดือน
- การให้อาหารเม็ดสาเร็จรูปแบบแขวนในสวิง เพื่อลดการสูญเสียอาหาร และ ลดการใช้แรงงานคน
การจับจำหน่ายและการตลาด
ระยะเวลาการจับจำหน่าย ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับขนาดของปลานิลและความต้องการของตลาด โดยทั่วไปเป็นปลานิลที่ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อรุ่น เดียวกัน ก็จะใช้เวลา 1 ปี จึงจะจับจำหน่ายเพราะปลานิลที่ได้มีน้ำหนักประมาณ 2-3 ตัวต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นปลาที่ตลาดต้องการส่วนปลานิลที่ปล่อยลงเลี้ยง หลายรุ่นในบ่อเดียวกัน ระยะเวลาการจับจำหน่ายก็ขึ้นอยุ่กับราคาปลาและความต้องการของผู้ซื้อ การจับปลานิลทำได้ 2 วิธี ดังนี้
1.จับปลาแบบไม่วิดบ่อแห้ง
จะใช้อวนตาห่างจับปลา เพราะจะได้ปลาที่มีขนาดใหญ่ตามที่ต้องการ การตีอวนจับปลากระทำโดยผู้จับ จำหน่ายและยืนเรียงแถวหน้าากระดานโดยมีระยะห่างกันประมาณ 4.5 เมตร โดยอยู่ทางด้านหนึ่งของบ่อแล้วแล้วลากอวนไปยังอีกด้านหนึ่งของบ่อตาม ความยาวแล้วยกอวนข้น หลังจากนั้นก็นำสวิงตักปลาใส่เข่งเพื่อชั่งขาย ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนได้ปริมาณตามที่ต้องการ ส่วนปลาเล็กก็คงปล่อยเลี้ยงในบ่อต่อไป การลากอวนแต่ละครั้งจะมีปลาเบญจพรรณเป็นผลพลอยได้เสมอ เช่น ปลาดุก ปลาหลด ปลาตะเพียน ปลาช่อน เป็นต้น การคัดขนาดของปลากระทำได้ 2 วิธี ถ้านำปลาไปจำหน่ายที่องค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลาก็จะจัดการคัดขนาดให้ แต่ถ้าเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาจำหน่ายปลาที่ปากบ่อ ก็จำเป็นต้องทำการ คัดขนาดปลากันเอง
2.จับปลาแบบวิดบ่อแห้ง
ก่อนทำการจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา เช่นเดียวกับวิธีแรก จนกระทั่ง ปลาเหลือจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่ออีกครั้งหนึ่งและขณะเดียวกันก็ตีน้ำไล่ปลาให้ไปรวมกันอยู่ในร่องบ่อร่องบ่อนี้จะเป็นส่วนที่ลึกอยู่ด้านหนึ่งของบ่อเมื่อ น้ำในบ่อแห้ง ปลาก็จะมารวมกันอยุ่ที่ร่องบ่อ และเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาก็จับปลาขึ้นจำหน่ายต่อไป การจับปลาลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะทำทุกปีในฤดูแล้งเพื่อตาก บ่อให้แห้งและเริ่มต้นเลี้ยงปลาในฤดูการผลิตต่อไป
ตลาดของปลานิลส่วนใหญ่ยังใช้บริโภคภายในประเทศ อย่างไรก็ตามมีโรงงานห้องเย็นเริ่มรับซื้อปลานิล ปลานิลแดง เพื่อแปรรูปส่งออก จำหน่ายต่างประเทศเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา อิตาลี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย เป็นต้น โดยดรงงานจะรับซื้อปลาขนาด 400 กรัม ขึ้นไป เพื่อแข่แข็งส่งออกทั้ง ตัว และรับซื้อปลาขนาด 100-400 กรัม เพื่อแล่เฉพาะเนื้อแช่แข็งหรือนำไปแปรรูปเพื่อส่งออกต่อไป
ต้นทุนและผลตอบแทน
ต้นทุนการผลิตปลานิล 1กิโลกรัมในฟาร์มเลี้ยงขนาด 1-3 ไร่ ประกอบด้วยต้นทุนคงที่ได้แก่ ที่ดิน ค่าขุดบ่อ เครื่องสูบน้ำ ฯลฯ มูลค่า 10-12 บาท และต้นทุนผันแปร ได้แก่ พันธุ์ปลา ค่าอาหาร น้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ มูลค่า 4-6 บาท รวมเป็นต้นทุนทั้งสิ้น 14-18 บาท ต่อผลผลิตปลานิล 1 กิโลกรัม จากข้อมูลพบว่าถ้าเลี้ยงปลานิลด้วยอาหารสมทบเพียงอย่างเดียว จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าราคาตลาด ดังนั้น เกษตรกรควรเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาชนิด อื่น ๆ โดยเฉพาะการเลี้ยงร่วมกับสัตว์บกหรือใช้น้ำจากบ่อปลากินเนื้อ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ซึ่งมีเศษอาหารและปุ๋ยสำหรับพืชน้ำ ซึ่งเป็นอาหารของปลานิล นอกจากนี้การใช้แรงงานในครอบครัวจะเป็นแนวทางลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่ง
แนวโน้มการเลี้ยงปลานิลในอนาคต
ปลานิลเป็นปลาที่ตลาดผู้บริโภคยังมีความต้องการสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากจำนวนประชากรมีอัตราการเจริญเติบโตสูง จึงส่งผลต่อแนวโน้ม การเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้มีลู่ทางแจ่มใสต่อไป โดยไม่ต้องกังวลปัญหาด้านการตลาดเนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาดีไม่มีอุปสรรคเรื่องโรคระบาด เป็นที่นิยมบริโภค และเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในทั่วทุกภูมิภาค เพราะสามารถนำมาประกอบอาหารได้ปลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันปลานิลสามารถส่งเป็นสินค้า ออกไปสู่ต่างประเทศในลักษณะของปลาแล่เนื้อตลาดที่สำคัญๆ อาทิ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อิตาลี เป็นต้น ดังนั้น การเลี้ยงปลานิลให้มีคุณภาพปราศจาก โคลน ย่อมจะส่งผลดีต่อการบริโภค การจำหน่ายและการให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าในที่สุด
อ้างอิงบทความ
-
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง