บทความเกษตร/เทคโนโลยี » วิธีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูนซีเมนต์แบบง่ายๆ

วิธีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูนซีเมนต์แบบง่ายๆ

13 กันยายน 2020
5260   0

วิธีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูนซีเมนต์แบบง่ายๆ

วิธีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูนซีเมนต์แบบง่ายๆ

เลี้ยงปลาดุกในบ่อปูนซีเมนต์


อาชีพ “เลี้ยงปลาดุกในปูนซีเมนต์เป็นอาชีพที่ลงทุนไม่มากนัก แต่ขายได้แน่ๆ หรือคุณจะเลี้ยงเพื่อไว้บริโภคภายในครอบครัวของคุณก็ได้ปลาดุกบิ๊กอุย เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเจริญเติบโตเร็ว ปลาชนิดนี้สามารถนำมาเลี้ยงได้ทั้งในบ่อปูนซีเมนต์ บ่อพลาสติก หรือบ่อดิน   ซึ่งพันธุ์ปลาที่นิยมนำมาเลี้ยง คือ ปลาดุกอุยเทศ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ปลาดุกบิ๊กอุย เป็นปลาที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมีย กับปลาดุกเทศเพศผู้ โดยลูกปลาดุกที่ได้จะมีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุย มีอัตราการเจริญเติบโตสูง และมีความทนทานต่อโรค เป็ นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร และมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เพราะมีรสชาติดีและราคาถูก

การเตรียมอุปกรณ์

1.ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 100*50 เซนติเมตร
2.ท่อพีวีซี ขนาด 1 นิ้ว ยาว 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น และยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น
3.ข้องอพีวีซีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 อัน
4.ปูน ทราย หิน
5.อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก
6.พืชผักที่ปลากิน เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ฯลฯ
7.ลูกปลาดุก 70-80 ตัว/บ่อ  หรือตามจำนวนบ่อ

การเตรียมบ่อเลี้ยง

การเตรียมบ่อเลี้ยง

บ่อซีเมนต์มีความเป็นด่างสูง ดังนั้น ก่อนที่จะนำ ปลามาเลี้ยงจะต้องทา ให้บ่ออยู่ในสภาพความเป็นกลาง โดยเติมน้ำ ให้เต็มบ่อ แล้วนา วัชพืชหรือมูลสัตว์ใส่หมักไว้ 2 – 3 สัปดาห์ แล้วเปลี่ยนถ่ายน้ำ จึงจะใช้เลี้ยงปลาได้ ระดับน้ำ ที่ใช้เลี้ยงสูงประมาณ 20 ซม. วงขอบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร สามารถเลี้ยงปลาดุกได้ 500 ตัว ถ้าวงขอบขนาด 80 ซม. สามารถเลี้ยงได้ 100 ตัว (หากเป็นน้ำ ประปาควรพักไว้ในถังทิ้งไว้ 1 – 2 วัน เพื่อให้ฤทธ์คลอรีนระเหยให้หมดก่อน จึงปล่อยปลาลงเลี้ยง

การให้อาหาร

ควรใช้อาหารปลาดุกสาเร็จรูปที่มีโปรตีนอย่างน้อย 25 – 30% โปรตีน หรือจะเสริมด้วยอาหารสดได้แก่ ปลวก ดักแด้ ปลาสด แต่ต้องระวังสภาพน้า จะเน่าเสียเร็ว ควรเปลี่ยนถ่ายน้า สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง การให้อาหาร ต้องให้อย่างสม่า เสมอ โดยกะให้พอดีในแต่ละมื้อ และระวังอย่าให้มีอาหารตกค้างในบ่อ (อัตราแลกเปลี่ยนอาหารต่อเนื้อ 2 : 1) เพราะจะทา ให้น้า เสียเร็ว และสูญเสียอาหาร การให้อาหารจะให้อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ลูกปลาที่นำ มาเลี้ยงในวงขอบควรเป็นลูกปลาขนาด 2 – 3 นิ้วขึ้นไป เพราสามารถกินอาหารสาเร็จรูปได้

เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์

ต้องหมั่นสังเกต ให้ปลากิจอาหารหมดพอดี ถ้ากินมากเกินไปอาจเกิดท้องบวมตายการติดเชื้อจากแบคทีเรียเป็นโรคที่พบบ่อย ๆ ปลาจะแสดงอาการอ่อนแอ ท้องบวม โคนครีบหูบวม หัวตั้ง ครีบหลังแดงการรักษา ควรใช้ยาปฏิชีวนะผสมอาหารให้กินติดต่อกัน 5 – 7 วัน หรือปรับสภาพน้าให้มีความเค็ม 2 – 3 ppt (เกลือ 2 – 3 กก. ต่อน้า 1 ลบ.ม.) ผู้เลี้ยงจะประสบผลสาเร็จหรือไม่นั้น ต้องเป็นคนหมั่นสังเกต หมั่นจดบันทึกและใฝ่หาความรู้กับผู้มีประสบการณ์

การจับปลา

เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 3 – 4 เดือน ปลาจะมีขนาดประมาณ 100 – 200 กรัม/ตัว โดยมีอัตรารอด ประมาณ 80 – 90% การจัดควรใช้สวิง หรือตาข่ายในล่อนสีเขียว

ข้อควรระวัง

  1. ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ อย่างสม่า เสมอ น้ำ ต้องสะอาด หากใช้น้ำ ประปาควรพักน้ำ ไว้ในถังก่อน อย่างน้อย 1 – 2 วัน เพื่อให้ฤทธ์ิคลอรีนระเหยให้หมดก่อน จึงปล่อยปลาลงเลี้ยง
  2. พันธุ์ปลาต้องแข็งแรง ไม่ติดเชื้อ ไม่มีบาดแผล
  3. สังเกตว่าน้ำ ที่ใช้เลี้ยงเปลี่ยนสี มีกลิ่นเหม็น ควรถ่ายเปลี่ยนน้ำ
  4. สามารถใส่ปุ๋ยน้ำ หมักชีวภาพ อัตราปุ๋ย : ปริมาณน้ำ ในบ่อ 1 : 100 จะเพิ่มอายุของน้ำ ในบ่อปลายาวขึ้น

การลงทุนและรายได้

วงขอบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร เลี้ยงปลาดุกได้ 500 ตัว 1 รุ่น ใช้เวลา 90 วัน อัตรารอด 80% คงเหลือ 400 ตัว ปลาดุก 1 กก. มี 10 ตัว  ขาย  กก.ละ 30 บาท   รายได้ 1,200 บาท/บ่อ

ลงทุน               

ค่าพันธุ์ปลา           500      บาท
ค่าอาหาร               305      บาท
รวม                        805      บาท/บ่อ/รุ่น

จำนวน 2 บ่อ ระยะเวลาเลี้ยง 3 – 4 เดือน  จะมีส่วนเกิน  514  บาท/รุ่น

การจำหน่าย

ก่อนจะจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกมีสีเหลืองสวย ขายได้ราคาดี  ซึ่งประมาณ 5-10 ตัว/กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท ซึ่งเราสามารถจำหน่ายให้พ่อค้าตามร้านต่างๆหรือ ถ้ามีปริมาณเยอะๆก็สามารถให้พ่อค้ามารับเองถึงบ้านได้


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ