11 ข้อต้องรู้เรื่องภาษีที่ดินปี 63 แบบรวดเร็ว
รู้เรื่องภาษีที่ดินปี 63 แบบรวดเร็ว
1.ภาษีที่ดินเป็นภาษีใหม่ของไทย ทั้ง 4 ประเภท
โดยพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่นี้จะมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ 1.เกษตรกรรม 2.ที่อยู่อาศัย 3.พาณิชยกรรม และ 4. ที่ดินรกร้าง โดยแต่ละประเภทจะมีอัตราจัดเก็บภาษีไม่เท่ากัน
2.คำนวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินเป็นหลัก
การจัดเก็บภาษีที่ดินใหม่นี้ จะ คำนวณจาก ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินสิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด ตามการประเมินของกรมธนารักษ์โดยมีกำหนดจะออกมาช่วงประมาณเดือนก.พ. 2563 ดังนั้นการจะทราบว่าต้องเสียภาษีที่ดินจำนวนเท่าใดต้องรอการประกาศใช้อีกครั้งและสามารถยื่นอุทธรณ์โต้แย้งได้หากอัตราภาษีที่ต้องจ่ายเยอะเกินความเป็นจริง เช่นหากที่ดินเกษตรกรรม มีอัตราที่ดินแพงเกินกว่าที่ดินรกร้างว่างเปล่า เป็นต้น
3.หน่วยงานไหนเป็นฝ่ายจัดเก็บภาษีที่ดิน
โดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีที่ดิน คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนต่างๆ อาทิ สำนักเขตต่างๆเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อทดแทนการเก็บภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ที่ใช้มานานแทนกรมสรรพากร
4.ต้องจ่ายภาษีก่อนวันไหน
สำหรับพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่นี้ แต่เดิมกฏออกมาให้ต้องจ่ายก่อนเดือน พฤษภาคม นั้นก็คือภายในเดือน เม.ย.เท่านั้น ล่าสุด มีการเปลี่ยนกำหนดการใหม่ โดยจะเริ่มใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ ภายในเดือนสิงหาคม 2563 ส่วนต้องจ่ายภาษีก่อนวันไหนต้องรอฟังกำหนดการจากทางรัฐบาลอีกครั้ง
5.ทรัพย์สินสิ่งปลูกสร้างอะไรบ้างไม่ต้องเสียภาษี
พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่นี้จะมีการ ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ในกรณีเช่น คอนโดหรือหมู่บ้านที่มีพื้นที่ส่วนกลางเพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันไม่ต้องเสียภาษี เป้นต้น
6.หากมีบ้านเกิน 1แห่ง ต้องเสียภาษีที่ดินทั้งหมดหรือไม่
ในกรณีที่หากท่านมีบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างเกิน 1แห่ง หากจะได้รับการยกเว้นบ้านหลังหลักที่อยู่อาศัยต้องราคาไม่เกิน 50 ล้านบาทจะไม่ต้องเสียภาษี แต่หากบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ใช่หลังหลักและราคาเกิน 50 ล้านการคำนวณภาษีบ้านหลังที่สองจะถูกเก็บภาษีในราคาที่แพงตามจำนวนของอัตราจัดเก็บภาษีที่ดิน ดังนั้นหากสิ่งปลูกสร้างไหนแพงที่สุดควรทำให้เป็นบ้านหลังหลัก เพื่อที่จะคำนวณภาษีบ้านหลังที่สองจะได้เสียภาษีไม่แพงจนเกินไป
7.เจ้าของบ้านแต่ไม่ได้มีชื่อในทะเบียนบ้านเสียภาษี 0.02%
โดยหากบ้างคนที่ซื้อบ้านและไม่ได้มีชื่อในทะเบียนบ้านทางภาครัฐจะตีไปว่าเป็นบ้านหลังรอง เสียภาษี 0.02% (ล้านละ 200 บาท) ดังนั้นหากไม่อยากเสียภาษีควรรีบไปเอาชื่อลงในทะเบียนบ้าน เพื่อ ไม่เสียภาษี แต่ในบ้านหรือคอนโดมูลค่าต้องไม่เกิน 50 ล้าน
8.การคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คำนวนอย่างไร
สำหรับการคำนวนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทางภาครัฐกำหนดให้คำนวณแบบขั้นบันไดตามมูลค่าของฐานภาษีแต่ละขั้น เพื่อป้องกันคนหัวหมอ ซอยที่ดินเพื่อแยกที่ดินเป็นแปลงๆ เพื่อให้เสียภาษีน้อยลงนั้น
9.ใบแจ้งข้อมูลรายการบ้านหรือห้องชุด คืออะไร
โดยเจ้าใบแจ้งข้อมูลรายการบ้านหรือห้องชุด นี้เป็นจดหมายของทางภาครัฐที่ต้องการให้เราชี้แจงตรวจสอบว่าข้อมูลที่รัฐแจ้งออกมานั้นตรงหรือไม่หากกรณีที่ท่านมีบ้าน1หลังและใบแจ้งข้อมูลแจ้งว่าบ้านหรือคอนโดเราเป็น ที่อยู่อาศัย หากถ้าไม่อยากเสียภาษีก็ย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านแต่ถ้าไม่สนใจก็อาจะเสียภาษี0.02% โดยหากบ้านหรือ คอนโดราคาประเมิน 5 ล้านบาทก็เสียภาษีปีละ 1,000 บาท แต่หากใบแจ้งว่าเป็น อื่นๆ หรือ ว่างเปล่า เราควรรีบไปแจ้งเปลี่ยนเป็น อยู่อาศัย ทันที่หากไม่อยากเสียภาษี0.3% และหากปล่อยที่ไว้จะทำการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีก 0.3% ของทุกๆ 3ปี ดังนั้นรีบไปเปลี่ยนได้ที่เขตที่บ้านหรือคอนโดที่เราอยู่อาศัย ภายใน 10 เดือนนับจากวันได้รับจดหมาย โดยเตรียมเอกสาร ดังนี้ สำเนาโฉนดคอนโด, ทะเบียนบ้านของคอนโด, ใบสำรวจ, บัตรประชาชน, ทะเบียนบ้านปัจจุบันและสัญญาซื้อขาย
10.แล้วถ้ายังไม่ได้รับ ใบแจ้งข้อมูลรายการบ้านหรือห้องชุดละ
สำหรับท่านที่ไม่ได้รับ ใบแจ้งข้อมูลรายการบ้านหรือห้องชุด สามารถไปทำได้เลยด้วยตัวเอง โดยทำได้ที่ เขตที่จะมีบ้านหรือคอนโดที่เราอยู่อาศัย โดยทางเขตจะมีบอร์ดให้ดูตัวเลข โดยเตรียมเอกสาร ดังนี้ สำเนาโฉนดคอนโด, ทะเบียนบ้านของคอนโด, ใบสำรวจ, บัตรประชาชน, ทะเบียนบ้านปัจจุบันและสัญญาซื้อขาย
11.ภาษีที่ดินฉบับใหม่น่ากลัวหรือไม่
พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่นี้ไม่ได้โหดอย่างที่คิด เพราะหากท่านที่มีบ้านหรือคอนโดหลังที่ 2 จ่ายเพียงอัตราแค่ 0.02% เท่านั้น เช่นราคาบ้านหรือคอนโดราคา 3 ล้านบาท เราต้องต้องจ่ายภาษีต่อปีแค่ 600 บาทเท่านั้นและไม่ใช่ทุกคนจะต้องจ่ายกันหมดบ้างคนอาจได้รับการยกเว้นหรือหากบ้านใครที่เกิน 50 ล้านก็ยังสามารถผ่อนจ่ายภาษีได้นาน 3 เดือนได้อีกด้วย แต่หากใครคิดจะไม่จ่ายท่านจะโดนเบี้ยปรับ 10-40% แล้วแต่กรณีและจะมีโทษทางอาญา หากหลีกเลี่ยงเสียภาษี อีกด้วย
ขอบคุณที่มา : dotproperty.co.th
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ