เลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์ แบบง่ายๆ สร้างรายได้ สร้างอาชีพ
เลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์
สวัสดีครับ วันนี้จะมาพูดถึงการ เลี้ยงปลาไหลในวงท่อซีเมนต์ กันครับ..สำหรับ ปลาไหล นั้นเป็นปลาอีกชนืดหนึ่งพี่พูดได้ว่าทั้งคนไทยและเพื่อนบ้านเรา อย่าง เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา นิยมกินกันเป็นจำนวนมากและรสชาติถือได้ว่าสุดยอดกันเลยทีเดียวครับ สามารถทำได้หลากหลายเมนู และ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
สำหรับการเลี้ยงปลาไหลในวงท่อชีเมนต์นั้น ก็ไม่อะไรที่ยุ่งยาก มากมายครับ หลักๆเลยก็ต้องมีวงท่อชีเมนต์ บ่อหนึ่งจะใช้ 2 ท่อ ต่อกัน ด้านล่างที่เป็นพื้นก็เทด้วยปูนชีเมนต์และทำท่อระบายเพื่อเปลี่ยนน้ำหรือ ระบายน้ำเน่าออกไปเวลาที่น้ำสกปรกคับ
ขั้นตอนการเตรียมบ่อซีเมนต์เลี้ยงปลาไหล
หลักจากที่เตรียมบ่อเสร็จ จะมากจะน้อยก็แล้วแต่คนเลี้ยงครับ ซึ่งถ้าเลี้ยงเพื่อบริโภคในครัวเรียน ก็ประมาณ 2 -3 บ่อ ก็เพียงพอแล้วครับ แต่ถ้าจะเลี้ยงเพื่อจำหน่าย ก็ต้องเพิ่มจำนวนตามความเหมาะสม หรือ จะใช้การก่อบ่อที่เป็นบ่อปูนซีเมนต์ ขนาด 2×3 เมตรก็ได้ครับ ตามความเหมาะสมของพื้นที่ และ ตามความสะดวกของผู้เลี้ยงเป็นหลัก ไม่มีอะไรที่ตายตัว สามารถปรับได้ตามความเหมาะสมพื้นที่เป็นหลัก และตามทุนของผู้เลี้ยงครับ
หลังจากเสร็จสิ้นในเรื่องของบ่อ ก็มาสู่ขั้นตอนการเตรียมบ่อ กรณีที่เป็นบ่อใหม่ก็ควรทำความสะอาดบ่อ ล้างคราบน้ำปูน ออกให้สะอาดและทำการแช่บ่อด้วยการเติมน้ำลงประมาณเกือบครึ่งบ่อ แล้ว นำต้นกล้วยไปแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์
เสร็จแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนการเตรียมบ่อเพื่อนำปลาไหลมาปล่อย สำหรับการเตรียมบ่อนั้นกรณีที่เป็นบ่อปูน ขนาด 2×3 เมตรนั้น ให้นำดินโครนจากท้องไร้ท้องนา รองพื้นบ่อและนำต้นกล้วยตัดเป็นท่อนๆวางเรียงกัน แล้วนำดินมากรบอีกที กรณีถ้ามีพวกผักตบหรือเศษฟาง ก็สามารถนำมาประยุกต์ผสมเข้าไปกับดินเพื่อให้ดินร่วนไม่แข็งจนเกินไป แล้วเติมน้ำเข้าไปประมาณครึ่งบ่อ นำผักตบชวามาปล่อยพื่อให้ปลาไหลหลบซ้อน หรือจะเป็นพวกแหน่ หรือ วัชพืชน้ำเพื่อเรียนแบบธรรมชาติ ให้มากที่สุดแล้วปล่อยบ่อทิ้งไว้ 7-14 วัน ให้ดินได้คลายตัวและ วัชพืช ได้เจริญเติบโต รวมทั้มทั้งต้นกล้วยได้ย่อยสลายเป็นเหยี่ยปลาไหล เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการเตรียมบ่อ
การเตรียมปลาไหลเพื่อลงปล่อย
สำหรับการเตรียมปลาไหล นั้นปรกติแล้วปลาไหนนา จะมีวงจรชีวิตที่แปลกและแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่นซึ่งจะมีสองเพศในตัวเดียว พอโตขึ้นมาปลาไหลจพทำการเลือกเพศตามขนาดของลำตัว ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าปลาไหลตัวผู้ ตัวเมียขนาด 50-60 เซนติเมตร ส่วนตัวผู้นั้นจะมีขนาด น้อยกว่า 50 เซตติเมตร ครับ
ช่วงฤดูวางไข่ของปลาไหลนา
ปลาไหลนาเริ่มผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน และจะมีความสมบูรณ์สูงสุดในเดือนสิงหาคม ปริมาณความดกของไข่ปลาไหลขึ้นอยู่กับขนาดของปลา เช่น ปลาขนาด 20-60 เซนติเมตร มีไข่ประมาณ 300-400 ฟอง ถ้ายาวกว่า 60 เซนติเมตร จะมีไข่ประมาณ 1,000 ฟอง
การพัฒนาของไข่ปลาไหล
ไข่ปลาไหลนาเป็นลักษณะไข่จมไม่ติดวัสดุ เมื่อสัมผัสจะมีความยืดหยุ่นมาก มีสีเหลืองทองสดใส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3 เซนติเมตร ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะมีลักษณะกลม สีเหลืองทอง ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะมีสีขาวใส ไข่จะใช้เวลาในการฟักประมาณ 3 วัน ลูกปลาเมื่อฟักออกใหม่ๆ มีความยาว 2.5 เซนติเมตร มีถุงไข่แดง 2 ใน 3 ส่วน และมีครีบหู อายุ 5-6 วัน ถุงไข่แดงยุบพร้อมครีบหูหายไป และเริ่มกินอาหารได้ (ภาพที่ 5) อัตราการฟัก 70-80 เปอร์เซ็นต์
การอนุบาลลูกปลา อายุ 7-10 วัน
นำลูกปลาวัยอ่อนอายุ 7-10 วัน ที่ฟักออกเป็นตัวไปอนุบาลในกะละมังพลาสติกทรงกลม ปล่อยลูกปลาอัตราความหนาแน่น 350 ตัว ต่อตารางเมตร ใส่น้ำลึก 15 เซนติเมตร ใส่ต้นผักจอกเพื่อให้ลูกปลาเกาะ ควรมีการถ่ายเทน้ำ 2-3 วัน ต่อครั้ง อาหารใช้ไรแดง ให้กินวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เมื่อมีอายุได้ 6 สัปดาห์ จะมีความยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ก็จะกินเนื้อปลาบดได้ พร้อมฝึกให้กินอาหารสมทบ โดยฝึกให้กินอาหารกึ่งเปียกสำเร็จรูป โดยปั้นเป็นก้อนๆ ใช้ระยะเวลา 2 สัปดาห์ ควรมีการคัดขนาดเพื่อช่วยลดการกินกันเองด้วย
การอนุบาลลูกปลา ขนาด 5-10 เซนติเมตร
เมื่ออนุบาลปลาจนได้ขนาด 5 เซนติเมตร ปลาจะมีขนาดปากที่กว้างขึ้น ลดไรแดง และให้อาหารสมทบวันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น โดยปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ปรับปริมาณอาหารที่ให้ทุกสัปดาห์เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนลูกปลา นอกจากนี้ อาจผสมน้ำมันปลาหมึกเพื่อช่วยดึงดูดลูกปลาให้กินอาหารได้ดีขึ้น และควรมีวัสดุหลบซ่อนโดยใช้ท่อเอสล่อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6/8 นิ้ว ตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 20 เซนติเมตร บ่อละ 3-5 ท่อน ลูกปลาค่อนข้างตกใจได้ง่ายถ้ามีเสียงดัง ใช้เวลา 6 สัปดาห์ ก็จะได้ปลาขนาด 10 เซนติเมตร ซึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 1-2 กรัม สามารถแยกลงบ่อเลี้ยงต่อไป
การให้อาหารปลาไหล
- ปลาไหลขนาดความยาว 2.5-3 เซนติเมตร จะกินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆวันละ 2 ครั้ง
- ปลาไหลขนาดความยาว 5 เซนติเมตร ฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปร่วมกับหนอนแดง
- ปลาไหลขนาดความยาว 8-10 เซนติเมตร หรืออายุประมาณ 6 สัปดาห์ เริ่มให้อาหารสดบด เช่น โครงไก่ วันล่ะ 2 ครั้ง
ให้อาหารเสริมปลาไหล 2 วัน/ครั้ง ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป อาหารปลาดุก อาหารปลานิล อาหารลูกอ๊อด ต้นกล้วยสับ
ข้อควรระวังในการเลี้ยงปลาไหลนา
- การรวบรวมพันธุ์ปลาจากธรรมชาติเข้ามาเลี้ยง ควรระมัดระวังในเรื่องการลำเลียง ไม่ควรให้หนาแน่นมากเกินไป ปลาจะบอบช้ำได้และอาจทำให้ตายในภายหลังจากการปล่องลงบ่อเลี้ยงได้
- ปลาที่เลี้ยงควรเป็นปลาขนาดเดียวกัน เพื่อลดปัญหาการกินกัน
- อาหารสดที่นำมาเลี้ยงปลา ควรล้างน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วนำมาแช่ด่างทับทิมเข้มข้น นานประมาณ 10 นาที แล้วล้างน้ำสะอาดอีกครั้งก่อนที่จะนำไปเลี้ยงปลาไหล
- ปลาไหลเป็นปลาที่ตกใจง่าย ดังนั้น ในบ่อเลี้ยงควรใส่ฟางข้าวแห้งเพื่อให้ปลาใช้หลบซ่อน และลดความเครียดได้เมื่อมีคนเดินผ่าน หรือทำให้ตกใจ ปลาถ้าตกใจจะไม่กินอาหาร
- บ่อควรมีร่มเงาบังแสงแดดบ้าง
ตลาดปลาไหล และ ช่องทางการจำหน่าย
สำหรับตลาดของปลาไหลนั้นยังมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะปลาไหลตามธรรมชาตินั้นหายากมาก ไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศด้วยซ้ำไป หรือ สำหรับผู้ที่ในระดับฟาร์ม นั้น การจำหน่ายปลาไหลนั้นจะมีพ่อค้าคนกลาง วิ่งมารับถึงที่ เพื่อไปจะหน่ายยังตลาดไท และ ส่งตามร้านอาหารป่า หรือ จะหันมาจำหน่ายตัวเล็ก หรือ จำหน่ายลูกพันธุ์ ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการอยู่ดี และทุกวันนี้ ยังมีการจำหน่ายหรือขายผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น ในกลุ่ม Facebook หรือ กลุ่ม Line ด้วย
การเลี้ยงปลาไหลนา | เตรียมบ่อเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์ | มือใหม่แบบละเอียด (Swamp eel)
ขอบคุณแหล่งที่มา : กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน
โทรศัพท์ : 0-2629-8972
: www.opsmoac.go.th
เอกสารอ้างอิง
สุวรรณดี ขวัญเมือง, บุษราคัม หมื่นสา, จีรนันท์ อัจนากิตติ และ สุชาติ รัตนเรืองสี. 2536. การศึกษาเบื้องต้นทางชีววิทยาบางประการ และการทดลองเพาะพันธุ์ปลาไหลนา.เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 54/2536. กองประมงน้ำจืด, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ศราวุธ เจะโส๊ะ และ สุวรรณดี ขวัญเมือง. 2536. ปลาไหลนา คุณลักษณะด้านชีววิทยาและธุรกิจการเพาะเลี้ยง. เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 1/2536. กองประมงน้ำจืด, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สุปราณี ชินบุตร, เต็มดวง สมศิริ, พรเลิศ จันทร์รัชชมึงล, สมเกียรติ กาญจนาคาร และ ฐิติพร หลาวประเสริฐ. 2546. เอกสารคำแนะนำ. กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ