เทคนิคการผสมพันธุ์กบนอกฤดู

“เทคนิคการผสมพันธุ์กบนอกฤดู” กบ เป็นสัตว์ที่นิยมนำมาบริโภคไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือจะเป็นเพื่อนบ้านเรา เช่น ลาว เวียดนาม และ กัมพูชา เป็นต้น แน่นอนครับความต้องการกบ ก็จะมีตลอดทั้งปี ซึ่งการเพาะขยายพันธุ์ของกับนั้นตามธรรมชาติ แลัว กบจะออกไข่หรือ ผสมพันธุ์กันในช่วงน่าฝน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการบริโภค ที่มีความต้องการมากขึ้นทุกๆปี จึงเป็นเห็ตผลให้เหล่าบรรดาฟาร์มกบต่างๆ หาวิธีทางในการเพาะกบให้ออกนอกฤดูเพื่อให้ทันต่อผู้บริโภค
การผสมพันธุ์กบนอกฤดู
ขั้นตอนแรก
สิ่งที่จะต้องเตรียมคงหนีไม่พ้นเรื่องของบ่อเลี้ยง จะขนาดไหนก็แล้วแต่ที่สะดวกของผู้เพาะเลี้ยงว่ามีปริมาณ แม่พันธ์ุกบ กี่ตัวครับ จะเป็นวงท่อซีเมนต์ หรือ อ่างผ้าใบก็ได้ครับ เอาที่สะดวกและทำความสะอาดบ่อเปลี่ยนน้ำง่ายครับ

ขั้นตอนที่สอง
การเตรีบมความพร้อมของ พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ดูความสมบูณ์และความพร้อมของแม่พันธุ์ก่อนลงผสมพันธุ์

บ่อพร้อม พ่อพันธุ์ และ แม่พันธุ์พร้อม ก็มาเริ่ม “เพาะกบนอกฤดูกันเลยครับ” เมื่อบ่อเราเตรียมเรียบร้อยแล้วก็ทำการเติมน้ำสะอาดลงในบ่อได้เลยครับ ให้ได้ระดับ 5-7 เซนติเมตร หรือ ให้ท่วมหลังกบพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์นั้นเองครับ แล้ว นำพืชน้ำ หรือหญ้า ลงไป เพื่อให้กบทำการวางไข่ ก่อนใส่ควรล้างทำความสะอาดด้วยด่างทับทิมก่อนก็จะดีครับ หรือถ้าไม่มี ก็ควรล้างพวกน้ำสะอาด หลายๆรอบ ก็ได้ครับ ตามความเหมาะสม
เสร็จแล้วให้นำกบตัวผู้ และตัวเมียที่ทำการคัดไว้ที่พร้อมผสมพันธุ์ ปล่อยลงในบ่อเพาะพันธุ์ ในช่วงเวลาตอนเย็นช่วงหัวค่ำ เพื่อให้กบเลือกคู่กัน ซึ่งบ่อขนาด 3×4 เมตร สูงประมาณ 1.2 เมตร นั้น ให้ปล่อยพ่อและแม่พันธุ์ประมาณ 4-5 คู่ ตามความเหมาะสม

เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ สำหรับการผสมพันธุ์กบนอกฤดูนั้นควรทำการหลอกกบ โดยการเปิดลำโพง ที่มีเสียงฝนตก และ ควรมีสปิงเกอร์น้ำขนาดเล็กเปิดให้ชัก 3-4 ชม. ให้กบเข้าคู่รัดกันก่อนช่วงหนึ่ง ซึ่งกบจะผสมพันธุ์กันตอนกลางคืน และ จะทำการไข่ในช่วงกลางคืนบ้างตัวอาจจะไข่ช่วงเช้าก็ได้ หลังจากนั้นสายๆประมาณ ช่วง 8 -9 โมง เช้าก็ทำการจับพ่อแม่พันธุ์ออก แล้วทำปล่อยให้ไข่ฟักตัวออกมาเป็ตัว ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 18-36 ชั่วโมง แล้วแต่อุณหภูมิอากาศ

สำหรับการเลี้ยงลูกอ๊อดนั้น ก็จะทำการเลี้ยงแบบการเลี้ยงลูกกบที่เกิดในช่วงฤดูการธรรมดา ไม่มีอะไรแตกต่างมาก แต่ข้อสำคัญ ห้ามให้น้ำเน่าเสียโดยเด็ดขาด เพราะลูกอ๊อดจะตายยกบ่อภายในไม่เกิน 7-8 ชม. ถ้าเกิดน้ำกำลังเริ่มเน่าหรือเสีย ให้ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำออกทันที
แนวคิดและข้อแนะนำในการเพาะเลี้ยงกบ
- ในการเพาะเลี้ยงลูกอ๊อดนั้นระบบน้ำมีความสำคัญมาก ห้ามปล่อยให้น้ำเน่าเสียเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้ลูกอ๊อดจะตายยกบ่อได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียต่อการเพาะเลี้ยงและทำให้เสียเวลาในการเพาะด้วย
- สำหรับการการเพาะเลี้ยงลูกกบครั้งแรกๆ นั้นมักจะทำไม่สำเร็จ เพาะลูกกบมักจะตายยกคอกจากหลายสามเหตุ ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติของมือใหม่เลยก็ว่าได้ให้ค่อยๆ หาสาเหตุว่าเกิดจากสิ่งใด และแก้ไขไปทีละอย่างจนหมด เพราสภาพแวดล้อมในแต่ละจุดที่ใช้เพาะเลี้ยงจะแตกต่างกัน จึงต้องดูให้เหมาะสมกับพื้นที่ของเรา อย่าเชื่อผู้อื่นมาก ให้ทดลองเองดีที่สุด แล้วท่านจะเพาะเลี้ยงได้สำเร็จ
- เรื่องของระยะเวลาก็เช่นกัน สำหรับมือใหม่นั้นต้องอย่าใจร้อน ให้ทดลองเพาะ และ เพื่อศึกษาวิธีการอนุบาลลูกกบจริง เพื่อให้เข้าใจและเหมาะสมกับพื้นที่ของผู้เลี้ยง ก่อนเพาะเป็นจำนวนมากๆ
- และสำหรับผู้ที่คิดจะเลี้ยงกบเพื่อเป็นอาชีพเสริมนั้นคือเลี้ยงในปริมาณไม่เกินครั้งละ 5,000 ตัว แนะนำให้เริ่มเลี้ยงช่วงปลายเดือนกันยายน ของทุกปี โดยซื้อลูกพันธุ์กบมาเลี้ยง จะสะดวกและคุ้มค่ากว่าการเลี้ยงพ่อพันธุ์กบ แม่พันธุ์กบ ไว้เพาะเอง เพราะไม่ต้องเสียเวลาดูแลพ่อแม่พันธุ์และไม่ต้องยุ่งยากในช่วงอนุบาลลูกกบด้วย ประหยัดเวลาประหยัดต้นทุน
- ปกติการเพาะพันธุ์จะทำสำเร็จได้ง่ายในช่วงต้นฤดูฝนถ้าปลายๆหรือต้นฤดูหนาวจะเพาะยากขึ้น จึงควรวางแผนให้ดีก่อนเพาะพันธุ์
ปัญหาโรคกบและแนวทางรักษา
ปัญหาโรคกบที่เกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่นั้นเกิดมาจากความผิดพลาดทางการเลี้ยงและการจัดการ ทำให้มีการหมักหมมของเสียต่างๆเกิดขึ้นในบ่อ โดยการเลี้ยงกบในปัจจุบันนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่จะเลี้ยงในบ่อปูนซีเมนต์ กระชังบก หรือบ่อผ้าใบ โดยสาเหตุหลักๆที่พบเจอ คือ การเลี้ยงกบอย่างหนาแน่นเกินไป ให้อาหารมากเกินไป และขาดความเอาใจใส่และไม่เข้าใจเรื่องความสะอาดของบ่อรวมถึงน้ำที่เลี้ยง โอกาสที่กบจะเป็นโรคจึงมีมากขึ้น โดยโรคกบที่พบเห็นได้บ่อยจะแบ่งออกได้ดังนี้
1 โรคติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นโรคที่พบเจอได้บ่อยและสร้างความเสียหายให้กับผู้เลี้ยงกบมากที่สุด ทั้งในระยะลูกอ๊อดและกบเต็มวัย
1.1 โรคติดเชื้อแบคทีเรียในระยะลูกอ๊อด
- อาการของโรค : ลูกอ๊อดจะมีลำตัวด่างคล้ายโรคตัวด่างในปลาดุกจากนั้นจะพบอาการท้องบวมและตกเลือดตามคีบหรือระยางค์ต่างๆ
- สาเหตุของการเกิดโรค : เกิดจากการปล่อยลูกอ๊อดในอัตราที่มีความหนาแน่นมากเกินไปและมีการให้อาหารมากเกินทำให้คุณภาพน้ำไม่เหมาะสม โดยเฉพาะค่า pH ของน้ำจะต่ำลงมาก และอีกสาเหตุที่พบเจอบ่อยคือลูกอ๊อดกัดกันเองทำให้เกิดเป็นแผลตามลำตัวซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ติดเชื้อโรคในกลุ่มแบคทีเรีย Flexibacteris ได้ง่ายขึ้น
- วิธีการรักษา : เริ่มอนุบาลลูกอ๊อดในจำนวนที่เหมาะสมโดยประมาณตารางเมตรละ 1,000 ตัวและทำการคัดไซส์คัดขนาดอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง จนกลายมาเป็นลูกกบแล้วให้อนุบาลจนถึงขนาด 1 ถึง 1.5 เซนติเมตรในจำนวนตารางเมตรละ 250 ตัวหลังจากนั้นเมื่อกบเริ่มโตให้ปล่อยกบลงเลี้ยงในอัตราตารางเมตรละ 100 ตัวซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมที่สุดและสามารถลดปัญหาการเกิดโรคได้ และที่สำคัญควรดูแลความสะอาดของบ่อและน้ำอย่างสม่ำเสมอ
หากพบว่าลูกกบเริ่มแสดงอาการตัวด่างควรใช้เกลือแกงแช่ในอัตรา 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร เป็นเวลา 3 ถึง 5 วัน อาจจะต้องใช้ยาออกซิเตตร้าไซคลินในอัตรา 10 ถึง 20 กรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ติดต่อกันทุกวัน 3-5 วัน ( ไม่ควรใช้ยา 2 ชนิดนี้พร้อมกันเพราะเกลือจะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดต่ำลง )
2.โรคที่เกิดจากพยาธิรบกวน
2.1 โปรโตซัวในทางเดินอาหาร
- อาการของโรค : จะพบว่ากบไม่ค่อยกินอาหาร เจริญเติบโตช้าตัวผอมซีด เมื่อตรวจดูในลำไส้จะพบโปรโตซัวในกลุ่ม apalina sp และ balantidium sp อยู่เป็นจำนวนมาก หากปล่อยไว้เป็นเวลานานไม่ได้รับการรักษาอาจจะทำให้กบตายได้
- วิธีการรักษา : ควรใช้ยา metronidazole ผสมอาหารให้กินในอัตรา 3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โดยให้กินติดต่อกันครั้งละ 3 วัน และเว้นระยะ 3-4 วัน ทำแบบนี้ซ้ำกัน 2-3 ครั้งหรือจนกว่ากบจะมีอาการดีขึ้นและกลับมากินอาหารปกติ
2.2 พยาธิใบไม้ พยาธิตัวแบน
- อาการของโรค : พยาธิ 2 ชนิดนี้พบเจอบ่อยในลำไส้กบ ทำให้กบมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ บางตัวซูบผอม แคระแกร็น เพราะขาดสารอาหาร
- วิธีการรักษา : ให้รักษาด้วยยาถ่ายพยาธิภายใน เปปเปอร์ราซินผสมลงในอาหารให้กบกินในอัตราส่วน 0.1% ของน้ำหนักตัวกบ
————————————— แหล่งอ้างอิงที่มา : หนังสือคู่มือ…สารพันวิธีการเลี้ยงกบให้รวย ———————————————-
ช่องทางการหาตลาดสำหรับขายกบ
สำหรับตลาดในการขายกบนั้น ถ้าคิดจะเลี้ยงกบขายต้องตอบตัวเองไห้ได้ว่าตลาดของเราที่จะนำกบไปขายนั้นคือใครบ้าง? ซึ่งจะแบ่งออกเป็นตลาดขนาดเล็ก หรือ ขนาดกลาง และถ้าเลี้ยงกบเป็นจำนวนมากอาจต้องหาตลาดขนาดใหญ่ไว้รองรับเพิ่มเติมด้วยครับ ที่นี่เรามาดูตลาดแต่ละขนาดกันบ้างครับ
- ตลาดขนาดเล็ก สำหรับตลาดขนาดเล็กนั้น ในกรณีที่เราเลี้ยงกบไม่มาก นั้นสามรถที่จะขายให้กับคนในหมู่บ้านหรือชุมชน ตำบลได้ ซึ่งจะได้ราคาดีเพราะไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางมากดราคาของเรา แต่ก็ต้องเสียงเวลาทำการตลาดช่วงแรกๆหน่อย เพื่อให้คนในชุมชนได้รู้ว่าเรามีกบคุณภาพดีราคาถูกจำหน่ายครับ..
- ตลาดขนาดกลาง หรือ ในบางท้องที่จะมีพ่อค้าทำหน้าที่จัดซื้อรวบรวมกบไซร์ต่างงๆจากทุกฟาร์มหรือจากเกษตรกรรายย่อย เพื่อทำการแปรรูปส่งให้แม่ค้าขายปลีกในเมือง หรือรวบรวมกบสดเพื่อจัดส่งให้แม่ค้าขายปลีกในเมืองนำไปทำการแปรรูปอีกที
- ตลาดขนาดใหญ่ คือการรวบรวมกบเพื่อทำการส่งออกไปยังประเทศแถบเพื่อนบ้าน หรือเข้าโรงงานแปรรูปต่อไป ตามความเหมาะสม
ซึ่งมือใหม่มักจะไม่สำเร็จ ลูกอ๊อดจะตายยกคอก เพราะเรื่องของน้ำและการให้อาหาร ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ให้ค่อยๆ หาสาเหตุว่าเกิดจากสิ่งใด และจะแก้ไขต่อไปอย่างไร เพราะสภาพแวดล้อมในแต่ล่ะพื้นที่แตกต่างกัน ทำให้ปัญหาต่างๆแตกต่างกันไปด้วย ค่อยๆศึกษาและเรียนรู้ไปดรื่อยๆครับ ขอให้ใชคดีและประสบความสำเร็จครับ..
แหล่งที่มาของข้อมูล :
คุณปราโมทย์ เกษแก้ว
ที่อยู่ : หมู่ที่2 ตำบลด่านสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ