บทความเกษตร/เทคโนโลยี » มาทำความรู้จัก แมลงศัตรูกาแฟ ก่อนลงมือปลูก

มาทำความรู้จัก แมลงศัตรูกาแฟ ก่อนลงมือปลูก

7 พฤศจิกายน 2022
3446   0

มาทำความรู้จัก แมลงศัตรูกาแฟ ก่อนลงมือปลูก

แมลงศัตรูกาแฟ

แมลงศัตรูกาแฟ





ปัจจุบันนี้มีพื้นที่ปลูกกาแฟทางภาคเหนือของประเทศไทยนั้นได้เพิ่มขึ้น โดยปลูกมากที่สุดคือจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ แต่ปัญหาสำคัญที่พบคือ โรคและแมลงศัตรูกาแฟ จากสภาพอากาศที่อุณหภูมิเฉลี่ยมีแนวโน้มสูงขึ้น หรือภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้เกิดปัญหาการระบาดของโรคราสนิม โรคผลดำ และแมลงกลุ่มด้วงปากกัด ซึ่งสร้างความเสียหายในแปลงปลูกกาแฟของเกษตรกรเป็นอย่างมาก

หนอนเจาะต้นกาแฟสีแดง (Zeuzera coffeae)

แมลงศัตรูกาแฟ

การทำลาย: หนอนเจาะกิ่งหรือกิ่งหลัก ทำให้เปราะ ทักง่าย ถ้าต้นยังเล็กอาจตายได้ เมื่อผ่ากิ่งจะพบตัวขนาดยาว 2-3 ชม.

ข้อสังเกต

  • ตัวหนอนสีชมพูแดงถึงน้ำตาล มักมีวงสีเหลืองที่ส่วนหัว
  • มูลของหนอนที่ถ่ายออกมาเป็นขุยสีน้ำตาลแดงหรือสีเหลืองพบบริเวณรูเจาะหรือโคนกิ่ง
  • รูที่หนอนเจาะจะกลม

สาเหตุ

  • ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีขาวอมเทา ปีกหน้ามีจุดดำเล็กๆเต็มไปหมด มีจุดใหญ่ปนอยู่เป็นที่ๆ
  • วางไข่รูปรี สีน้ำตาลเหลือง เป็นกลุ่มบนกิ่งอ่อนและตาของกาแฟ พอไข่ฟักเป็นตัวหนอนจะเจาะเข้ากิ่งและอยู่ในกิ่งจนเป็นดักแด้สีน้ำตาลแดง

วงจรชีวิต

การป้องกันกำจัด

  • ตัดกิ่งที่มีหนอนออกแล้วทำการเผาทำลาย
  • หมั่นตรวจดูต้นกาแฟ ชา โกโก้ ลิ้นจี่ ฝ้าย ส้ม ลองกอง สักและไม้ป่าอื่น ๆ ซึ่งเป็นพืชอาศัยของเมลงชนิดนี้ ถ้าพบกิ่งที่มีไข่หรือหนอน เก็บเผาทำลาย
  • นก แตนเบียน และตั๊กแตนตำข้าวเข้าทำลายขณะหนอนฟักออกจากไข่ได้ดี ดังนั้นควรลดการใช้สารเคมีและใช้เท่าที่จำเป็น

มอดเจาะกิ่งภาแฟ (Xylosandrus compactus)

มอดเจาะกิ่งภาแฟ (Xylosandrus compactus)

การทำลาย: ตัวมอดเจาะกิ่งแขนง กิ่งย่อยและกิ่งขนาดเล็ก (เส้นผ่านศูนย์ลาง 1-2 ชม.) ทำให้กิ่งส่วนที่เหนือรอยเจาะเหี่ยวและแท้งตาย




ข้อสังเกต

  • เมื่อผ่าดูกิ่งจะเห็นโพรงเล็ก ๆ มากมาย มีทั้งตัวทนอน สีขาวและตัวดักแด้
  • ในโพรงมักมีเส้นใยราอยู่ด้วย

สาเหตุ

ตัวม่อดมีสีน้ำตาลจนถึงดำขนาดเล็ก ลำตัวยาว 1.5-1.8 มม. เจาะเข้าไปในกิ่งแล้ววางไข่และบุผนังโพรงด้วยเส้นใยราเพื่อไว้ เลี้ยงตัวหนอน ระบาดช่วงหน้าฝนและลดลงในช่วงแล้ง

วงจรชีวิต

การป้องกันกำจัด

  • ตัดกิ่งที่มอดเจาะ นำไปเผาทำลาย ควรตัดต่ำกว่ารอยเจาะ 5-8 ชม. และทำทันทีเมื่อพบกิ่งเริ่มเหี่ยว
  • ตัดกิ่งแขนงที่ไม่ต้องการทิ้งโดยเฉพาะก่อนเข้าหน้าแล้ง
  • อย่าให้สวนร่มเกินไป เพราะทำให้มีความขึ้นสูง เป็นการส่งเสริมการเติบโตของราที่เป็นอาหารของตัวหนอน
  • ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดแมลงดีลดรินผสมกับสารป้องกันกำจัดเชื้อรา

มอดเจาะผลกาแฟ (Hypothenemus hampei)

การทำลาย: ตัวมอดเจาะที่ก้นผลกาแฟเป็นรูกลมเห็นชัด เมื่อผ่าผลออกดูจะพบหนอน ดักแด้และตัวเต็มวัย ผลที่มอดเจาะอาจจะร่วง สร้างความเสียหายทั้งในระยะ ผลอ่อน ผลสุกและในโรงเก็บเมล็ด

สาเหตุ

ตัวมอดมีสีน้ำตาลเข้ม ขนาด 1-2 มม. เจาะผลเพื่อเข้าไปวางไข่ครั้งละ 15-20 ฟอง ในผลที่เมล็ดเริ่มแข็ง ไข่ฟักเป็นตัวหนอนจนเข้าดักแด้ในโพรงนั้น ตัวเต็มวัยสามารถวางไข่ได้หลายครั้ง

วงจรชีวิต

มอดเจาะผลกาแฟ

วงจรชีวิต 1 รุ่น 19-33 วัน ตัวเต็มวัยจะวางไข่ในผลสุกบนต้นหรือที่ล่นตามพื้น ซึ่งตัวเต็มวัยนี้มีชีวิตได้นานอาจถึง 5 เดือน และสามารถเจาะกินผลอ่อนเพื่อดำรงชีวิตได้

การป้องกันกำจัด

  • รูดผลให้หมดต้นเมื่อเก็บเกี่ยวผลรุ่นสุดท้าย และตรวจเก็บผลอ่อน ผลดำบนต้น และผลหล่นตามพื้นดินอีกครั้ง นำไปเผาทำลาย เพื่อไม่ให้มีมอดอาศัยในช่วงแล้ง ช่วยลดการระบาดได้ดีที่สุด
  • ตัดแต่งให้ต้นโปร่ง ไม่สูง จะได้เก็บผลได้ทุกผลทำกับดักล่อตัวมอด ใช้เมอิลแอลกอฮอล์ผสมกับเอทธิลแอลกอฮอล์ อัตรา 1:1 เป็นสารล่อทำเป็นกับดักใส่ไว้ในขวดแขวนไว้บนต้นกาแฟหมั่นเติมสารล่อ น้ำในขวดและทำความสะอาดขวดทุกเดือน
  • ควรใช้กระสอบใหม่ ถ้าเป็นกระสอบเก่าก่อนนำมาใช้ควรอบด้วยสารกำจัดแมลง
  • ก่อนเก็บเมล็ด ต้องตากให้แห้ง ความขึ้นไม่เกิน 12%

เพลี้ยแป้ง (Planococcus spp.)

แมลงศัตรูกาแฟ

การทำลาย: ตัวเพลี้ยดูดกินน้ำเลี้ยง มักพบเป็นกลุ่มอยู่ด้านใต้ใบใบอ่อน ยอดอ่อน กิ่ง รอบๆ ผล และแม้แต่รากแขนงใหญ่ ๆ บริเวณที่ดินหลวม ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลำตัวนิ่ม มีผงสีขาวปกคลุม เพลี้ยแป้งจะดูดน้ำเลี้ยงทำให้ใบเหลือง ตาดอกร่วง ผลร่วง มักมีราดำและมีมดร่วมด้วย

สาเหตุ

เพลี้ยแป้ง จะระบาดในช่วงแล้งและมักระบาดรุนแรงในสวนที่ใช้สารกำจัดแมลงมาก โดยเฉพาะสารพวกออกแกโนฟอสเฟตซึ่งฆ่าแมลงเกือบทุกชนิด นอกจากนี้มดยังมีส่วนสำคัญต่อการระบาดด้วย เนื่องจากมดช่วยปกป้องเพลี้ยแป้ง ฆ่าตัวของเพลี้ยและคอยทำความสะอาดโดยเก็บซากเพลี้ยที่ตายไปทิ้ง จึงต้องกำจัดมดก่อน

การป้องกันกำจัด

  • พ่นสารคลอไพริฟอสรอบโคนต้นเพื่อฆ่ามด หรือใช้มาลาไออนและคาบาริล อัตราที่ใช้ตามฉลากข้างกล่อง หรือใช้เหยื่อพิษล่อ
  • ตัดแต่งกิ่งที่ระพื้นหรือกิ่งที่จรดกันระหว่างต้นออก ตัดแต่งกิ่งอย่าให้สวนร่มเกินไป
  • ด้วงเต่า แมลงช้างปีกใสและแตนเบียนบางชนิดสามารถเข้าทำลายเพลี้ยแป้งได้ ดังนั้นควรลดการใช้สารเคมีและใช้เท่าที่จำเป็น




เผลี้ยหอย (Coccus viriais)

การทำลาย : เพลี้ยดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบและต้น พบเป็นกลุ่มอยู่ที่เส้นกลางใบและปลายยอด มักมีราดำและมีมดอยู่ด้วย ทำให้การเติบโตของต้นกาแฟลดลง ถ้าเป็นมาก ใบอาจจะร่วง ต้นอ่อนแอ ผลผลิตลดลง

สาเหตุ

ตัวเพลี้ยขนาด 2-3 มม. ลำตัวนิ่ม สีเขียวอ่อน สีชมพู โดยจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นและถ่ายน้ำหวาน ทำให้เกิดราดำขึ้นและมดชอบมากินน้ำหวานนี้ ตัวเพลี้ยเต็มวัย 1 ตัว ในช่วงชีวิตสามารถให้ลูกได้ถึง 500 ตัว ไข่ฟักเป็นตัวภายในไม่กี่ชั่วโมงระยะตัวอ่อนนาน 4-6 สัปดาห์ ตัวเต็มวัยมีอายุนาน 2-5 เดือน

การป้องกันกำจัด

  • เริ่มกำจัดแต่เนิ่นๆ เมื่อเริ่มระบาดจะได้ผลดี
  • คอยริดกิ่งแขนงที่ไม่ต้องการออก ไม่ให้เป็นที่อาศัยของเพลี้ย
  • แมลงทางหนีบ แมลงปอ ตั๊กแตนตำข้าว ด้วงเต่าและแมลงช้างปีกใสสามารถเข้าทำลายเพลี้ยหอยได้ ดังนั้นควรลดการใช้สารเคมีและใช้เท่าที่จำเป็น
  • ใช้ยาเส้นกลิ่นฉุน 1 กก. ใส่น้ำ 2 ลิ่ตร แช่ค้างไว้ 2 คืน เอาใบยาออก เติมผงซักฟอก /2 กก. และเติมน้ำจนได้ 20 ลิตรฉีดพ่นทุกสัปดาห์จนกระทั่งหาย หรือใช้น้ำยาล้างจานผสมน้ำอัตรา 1 : 4 ฉีดพ่นยอดกาแฟที่มีการระบาด

ที่มา : ศูนย์วิจัยพืงสวนชุมพร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ