สรรพคุณและประโยชน์ของ “ใบบัวบก” และ วิธีทำชาใบบัวบก
หากกล่าวถึงสมุนไพรที่แก้อาการช้ำใน ใครๆต่างก็คิดถึงสมุนไพรที่ชื่อว่า ใบบัวบกอย่างแน่นอน ใบบัวบกเป็นไม้ล้มลุก เลื้อยไปตามพื้นดิน ขึ้นง่าย รากออกตามข้อชูใบ ตั้งตรงขึ้นมา ใบ เป็นใบเดี่ยว มีก้านยาว ลักษณะรูปไต รอยเว้าลึกที่ฐานใบ ขอบมีรอยหยัก เป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกเป็นดอกช่อคล้ายร่ม มี 2-3 ข้อ ช่อละ 3-4 ดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ สีม่วงอมแดง เรียงสลับกับเกสรตัวผู้ ผลเล็ก สีดำ แช่น้ำไม่ตาย ทนน้ำขังได้ดี
บัวบก เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะ แตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ใบบัวบกประกอบด้วยสาระสำคัญหลายอย่างด้วยกัน เช่น ไตรเตอพีนอยด์ (อะซิเอติโคไซ) บราโมไซ บรามิโนไซ มาดิแคสโซไซ (เป็นไกลโคไซด์ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ) กรดมาดิแคสซิค ไทอะมิน (วิตามินบี 1) ไรโบฟลาวิน (วิตามินบี 2) ไพริดอกซิน (วิตามินบี 6) วิตามินเค แอสพาเรต กลูตาเมต ชีริน ทรีโอนีน อลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน แมกนิเซียม
สรรพคุณใบบัวบก
- เพิ่มความจำ บำรุงสมอง
- แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
- ใบบัวบก ช่วยคืนความอ่อนเยาว์ ย้อนอายุและวัย
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านการเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกาย
- ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ฟื้นฟูรอบดวงตา เพราะบัวบกมีวิตามินเอสูง
- ช่วยรักษาอาการตาอักเสบบวมแดง ด้วยการใช้ใบบัวบกล้างน้ำสะอาด คั้นเอาแต่น้ำนำมาหยดที่ตา 3-4 ครั้งต่อวัน
- ช่วยบำรุงประสาทและสมองเหมือน
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะข้างเดียว
- ช่วยผ่อนคลายความเครียด
- ช่วยบำรุงหัวใจ
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดี
การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาใบบัวบก
ส่วนประกอบ: บัวบก 1,000 กรัม ใบเตย 200 กรัม
ขั้นตอนการทำชาใบบัวบก
- ทุกขั้นตอนต้องสะอาด
- เก็บบัวบกที่ไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป
- คัดแยกส่วนที่ไม่สมบูรณ์ออก
- ล้างน้ำให้สะอาด 4-5 ครั้ง
- ผึ่งแดดอ่อนๆ ให้สะเด็ดน้ำ และให้แห้งพอประมาณ
- อบในตู้อบ อุณหภูมิ 60 องศาจนแห้งกรอบ
- บดแบบหยาบไม่ต้องละเอียดมาก
- บรรจุลงในซองชาพร้อมซีลปิดปากถุงซองชาให้เรียบร้อย
- บรรจุซองชาขนาดเล็กที่ได้ในซองชาขนาดใหญ่อีกครั้งหนึ่ง พร้อมบรรจุภัณฑ์ / ฉลากที่เตรียมไว้
ข้อควรระวังในการนำมารับประทาน
- บัวบกเป็นยาที่มีฤทธิ์เย็น ถ้าทานมาก ไปจะทำให้สะสมในร่างกายจนรู้สึกหนาวมากขึ้น หลีกเลี่ยงการทานใบบัวบกติดต่อกันทุกวัน เมื่อทานติดต่อกัน 1 สัปดาห์แล้ว ควรหยุดพัก 1 สัปดาห์ แล้วค่อยกลับมารับประทานใหม่
- สำหรับผู้ที่รับประทานใบบัวบกสดๆ ติดต่อกันทุกวัน ควรรับประทานประมาณวันละ 3-6 ใบ ไม่ควรเกินไปกว่านี้
- หากมีอาการอ่อนเพลีย เวียนหัว ใจสั่น หรือหัวใจเต้นผิดปกติ รู้สึกคันตามผิวหนัง ท้องร่วง ภายหลังจากการรับประทาน ควรหยุดรับประทานและรีบไปพบแพทย์ทันที
- ในกลุ่มคนที่ต้องรับประทานยาแก้แพ้ ยานอนหลับ หรือยากันชัก ไม่ควรรับประทานใบบัวบก เนื่องจากจะยิ่งไปเพิ่มฤทธิ์ให้รู้สึกง่วงซึมมากขึ้น
- การนำมาใช้ภายนอกบางคนอาจมีอาการแพ้ มีอาการแสบร้อนที่ผิวหนัง
- อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นหากรับประทานบัวบกในปริมาณที่มากเกินไป หรือมีอาการแพ้ ได้แก่ ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้เวียนศีรษะและอาการง่วงนอนอย่างรุนแรง
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ