สาระน่ารู้ » ถั่วดาวอินคา กับสรรพคุณที่คุณยังไม่รู้

ถั่วดาวอินคา กับสรรพคุณที่คุณยังไม่รู้

29 กันยายน 2021
2225   0

ถั่วดาวอินคา กับสรรพคุณที่คุณยังไม่รู้

ถั่วดาวอินคา

ต้นถั่วดาวอินคา ชื่อภาษาอังกฤษ sacha inchi เป็นพืชที่มาจากป่าอะเมซอน ของประเทศเปรู ชอบขึ้นในเขตป่าร้อนชื้น สูงจากระดับน้ำทะเล 2,000 เมตร เมื่อสกัดเมล็ดมีน้ำมัน และมีโปรตีนที่มีคุณค่าสูง

ลักษณะทั่วไป ถั่วดาวอินคา

เป็นพืชสมบูรณ์ดอกมีขนาดเล็กและฝักมีขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร มีสีเขียวสดใสเมื่อฝักอ่อน และมีสีน้ำตาลเข้มเมื่อฝักแก่ ฝักของถั่วดาวอินคามักจะมี 4-6 แฉก เมล็ดกว้าง 15 ถึง 20 มม. หนา 7-8 มม น้ำหนักของเมล็ดถั่วดาวอินคาประมาณ 0.8-1.4 กรัม เมล็ดอุดมไปด้วยสารอาหารและกรดไขมันที่จำเป็นทำให้ไม่ซ้ำกันระหว่างพืชอื่นที่คล้ายคลึงกัน  ลำต้น เป็นไม้เถาทรงพุ่ม เจริญเติบโตสูง 2-3 เมตร เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดและความชื้นสูง ผลเป็นรูปดาว เมื่ออ่อนจะเป็นสีเขียวและมีสีน้ำตาลเข้มเมื่อฝักแก่เต็มที่ มีเปลือกที่ครอบคลุมเมล็ดใน 3 ชั้น 1 ฝักมีเมล็ก 3-7 เมล็ด สามารถเก็บเกี่ยวหลังจากการปลูกเพียงแค่ 7-8 เดือนเท่านั้น หลังการเก็บเกี่ยว ครั้งแรกยังสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายต่อหลายครั้งตลอดทั้งปีและขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่ของผู้ปลูก แหล่งน้ำ และการใส่ปุ๋ย สามารถให้ผลผลิตได้นานเป็นสิบๆปี
สรรพคุณ

  1. มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  2. มีกรดไขมัน โอเมก้า 3,6 และ 9
  3. มีวิตามิน A และ E
  4. ช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลและป้องกันการแข็งตัวของเลือด
  5. ลดน้ำหนักควบคุมระบบน้ำตาลในเลือด ลดอาการซึมเศร้า
  6. รักษาโรคผิวหนัง หอบหืด ไมเกรน ต้อหิน
  7. ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง

การผลิตชาถั่วดาวอินคา
ถั่วดาวอินคา มีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรูเป็นพืชกึ่งเถาว์กึ่งเลื้อย เมล็ดให้น้ำมันชั้นดีเยี่ยมประกอบด้วยสารโอเมก้า 3,6,9 วิตามิน A E และกรดไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ช่วยบำรุงสายตา           บำรุงประสาท แก้ผมร่วง ลดไขมันในหลอดเลือด ป้องกันโรคความดัน เบาหวาน หัวใจ ลดไขมันส่วนเกิน ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคมะเร็ง ชะลอความแก่ เมล็ดบีบน้ำมัน ใบใช้ทำชา
วิธีทำ

  1. เก็บใบถั่วดาวอินคาที่แก่โดยเอาก้านออกเพื่อชาจะได้แห้งเร็ว
  2. นำใบดาวอินคาไปล้างให้สะอาด
  3. นำใบชามาหั่นให้เป็นเส้น
  4. นำชาที่หั่นแล้วไปคั่วในหม้อหรือกระทะให้ใบชาลวกสุกอย่าให้ไหม้กรอบโดยใช้ไฟอ่อน ๆ
  5. นวดใบชาให้นุ่มให้เซลใบแตกซึ่งจะทำให้ใบชาชงออกเร็ว
  6. นำไปตากแห้งบรรจุซองปิดให้สนิท

ข้อควรระวัง
อย่าใช้ไฟแรงใบจะไหม้กรอบไม่อร่อย

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร





บทความอื่นๆที่น่าสนใจ