ประกันแต่ละแบบ ต่างกันยังไง ?
การทำประกันภัยนั้นมี 2 แบบ คือภาคสมัครใจและภาคบังคับ(พรบ.)
พรบ.หรือ ประกันภาคบังคับ
เป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำและมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้ทำ พ.ร.บ. จะได้รับความคุ้มครอง/เงินค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยจากรถในรูปแบบต่าง ๆ คุ้มครองจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน กรณีการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรจ่ายไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน
ประกันภาคสมัครใจ
ประกันภาคสมัครใจนั้นมีด้วยกัน 5 ประเภทคือ 1,2,3,4 และ 5 หรือที่หลายๆ ท่านเรียกกันว่าประกันชั้นต่างๆ แต่ประกันประเภทที่ 5 นั้น จะหมายถึง ประกันชั้น 2+ กับ 3+ นั่นเอง โดยประกันภัยภาคสมัครใจแต่ละชั้นนั้นก็จะให้ความคุ้มครองมากน้อยต่างกันไป มาดูกันดีกว่า ว่าประกันภาคสมัครใจแต่ละชั้นหรือประเภทนั้น ให้ความคุ้มครองต่อผู้ทำประกัน หรือผู้ที่ผู้ทำประกันยินยอมให้ขับรถยนต์คันที่ทำประกัน อย่างไรบ้าง
ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1
เป็นประกันภัยรถยนต์ที่ทุกคนนิยมที่สุด ถึงแม้จะต้องจ่ายเบี้ยรายปีสูงสุดก็ตาม แต่ด้วยความคุ้มครองที่ครอบคลุมสำหรับยานพาหนะของทั้งสองฝ่าย หากผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด โดยความคุ้มครองคร่าวๆ ดังนี้ ความบาดเจ็บ ความเสียหายต่อตัวรถ การถูกโจรกรรม ความเสียหายจากธรรมชาติเช่นไฟไหม้ น้ำท่วม รวมถึงค่าใช้จ่ายในการลากจูงรถอีกด้วย จะเห็นได้ว่าประกันชั้น 1 มีความคุ้มครองที่ครอบคลุมในทุกๆ เรื่อง ทำให้เป็นที่นิยมมากที่สุด
ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2
ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 นั้นคุ้มครอง ชีวิตร่างกาย การบาดเจ็บและทรัพย์สินเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น ไม่มีการคุ้มครองสำหรับผู้เอาประกันหากรถเกิดเฉี่ยวชน พลิกคว่ำ เกิดอุบัติเหตุ เมื่อผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิด รวมถึงให้ความคุ้มครองความสูญหายและเหตุไฟไหม้ของตัวรถยนต์ของผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะเหมาะสำหรับคนที่ขับรถเก่งในระดับหนึ่งแล้ว แต่ต้องจอดรถในที่เปลี่ยวบ่อยๆ
ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3
เป็นประเภทประกันที่มีราคาเบี้ยประกันที่ถูกที่สุดรองจากประกันชั้น 4 โดยให้ความคุ้มครองเฉพาะชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินของคู่กรณีเท่านั้น เมื่อผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิด โดยมีการคุ้มครองไมเกินวงเงินที่ระบุไว้
ประกันรถยนต์ประเภท 4
ประกันชั้น 4 นั้นมีราคาเบี้ยประกันถูกที่สุด และมีความคุ้มครองที่ไม่มากนัก เหมาะกับผู้ที่ใช้รถระยะใกล้ๆ นานๆ ครั้งจะใช้สักที หรือแทบไม่ค่อยได้ใช้งานรถยนต์สักเท่าใหร่ และมีที่จอดรถที่มิดชิด ไม่มีความเสี่ยงในการสูญหาย รวมไปถึงไม่มีความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ด้วย เพราะประกันชั้น 4 ไม่มีความคุ้มครองในส่วนนี้ โดยมีความคุ้มครองในส่วนของทรัพย์สินบุคคลภายนอกเท่านั้น หากผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิดจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของรถของผู้เอาประกันเอง
ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 คือการเรียกรวมกันของประกันชั้น 2+ รวมกับประชั้น 3+ โดยจะแบ่งเป็นแต่ละชั้น 2+ และ 3+ จะต่างกันนิดหน่อย ดังนี้
ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ (ประเภท 5)
ให้ความคุ้มครองเหมือนประเภท 2 แต่มีส่วนเพิ่มคือการให้ความคุ้มครองต่อตัวรถยนต์ของผู้เอาประกันภัย ในวงเงินที่ได้ตามที่ตกลงกันไว้ เช่น 150,000 หรือ 200,000 บาท และมีการคุ้มครองเกี่ยวกับภัยธรรมชาติเช่น น้ำท่วม โดยมีราคาเบี้ยประกันที่สูงขึ้นมาเล็กน้อยจากประเภทที่ 2
ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+ (ประเภท 5)
ให้ความคุ้มครองเหมือนประเภท 3 แต่มีส่วนเพิ่มคือการให้ความคุ้มครองต่อตัวรถยนต์ของผู้เอาประกันภัยและคู่กรณี กรณีชนโดยมีคู่กรณี แต่จะไม่ได้รับความคุ้มครองในส่วนของรถยนต์โดนไฟไหม้
ประกันประเภทต่างๆ นั้น มีความคุ้มครองที่ต่างกัน อย่าลืมว่าทุกครั้งที่เราจะทำประกันภัย เราควรเลือกประกันให้เหมาะกับพฤติกรรมการใช้รถของตัวเองเพื่อให้คุ้มค่ากับค่าเบี้ยที่จ่ายไป ลองมาสรุปกันแบบง่ายๆ อีกรอบ ว่าประกันแต่ละประเภทหรือแต่ละชั้นนั้น คุ้มครองอะไรบ้าง
หลังจากอ่านมาถึงตรงนี้ หากใครกำลังตัดสินใจได้แล้วว่าตัวเองเหมาะกับการทำประกันภัยรถยนต์ประเภทไหน หรืออยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมอีกสักนิด ก็สามารถเข้าไปเปรียบเทียบและดูรายละเอียดความคุ้มครองของประกันแต่ละประเภท ได้ในเว็บไซต์นี้เลย www. 724.co.th
เพิ่มเติมอธิบายให้เข้าใจภาษาง่ายๆครับ ประกัน ชั้น2 มีความคุ้มครองคุ้มครองต่างเหมือน ป1 ครับ ยกเว้นการซ่อมรถยนต์ของผู้เอาประกันถ้าไม่ได้มีคู่กรณีที่เป็นยานพาหนะทางบกจะเบิกค่าซ่อมไม่ได้ครับ
ยกตัวอย่างเช่น
- ขับรถชนเสาไฟฟ้า ถ้าเป็น 2+หรือ 3+ ประกันจ่ายค่าซ่อมเสาไฟฟ้าไม่ซ่อมรถเรา ในขณะที่ป1 ซ่อมทั้งรถเราทั้งเสาไฟฟ้า
- ขับรถชนคน ถ้าเป็น 2+หรือ 3+ ประกันจ่ายค่าทำศพ หรือค่ารักษาพยาบาล ไม่ซ่อมรถเรา ในขณะที่ป1 ซ่อมรถให้
- ชนกับรถยนต์หรือมอเตอไซค์ ประกันซ่อมให้ทั้งรถเราและคู่กรณีครับ ไม่ว่าจะเป็น ป1 2+ 3+
พอจะเห็นภาพชัดขึ้นไหมครับ
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ