บทความเกษตร/เทคโนโลยี » การปลูกพืชกระท่อมตามแนวทางการทำสวนยางยั่งยืน

การปลูกพืชกระท่อมตามแนวทางการทำสวนยางยั่งยืน

25 สิงหาคม 2021
18266   0

การปลูกพืชกระท่อมตามแนวทางการทำสวนยางยั่งยืน
การปลูกพืชกระท่อมตามแนวทางการทำสวนยางยั่งยืน

กระท่อมเป็นพืชยืนต้น บางต้นอายุเป็น 100 ปี พันธุ์พืชกระท่อม มีก้านเขียว และก้านแดง ก้านเขียวใบจะเล็กกว่า นิยมใช้เคี้ยวหรือหวนท่อมในวิถีชุมชนภาคใต้ รสชาดไม่ขมมากเคี้ยวมัน เป็นที่นิยมของคอท่อม ดังคำที่ว่า “ก้านแดงนั่งแหลงคนเดียว ก้านเขียวคนเดียวก็แหลง” ส่วนก้านแดงนิยมเอาไปต้มเป็นน้ำกระท่อม เพราะเมากว่า หรือมีสารไมตร้าใจนีนมากกว่านั่นเอง ดังนั้นในเชิงอุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์จากพืชกระท่อมคาดว่าจะใช้ก้านแดง

กระท่อม เป็นพืชที่มีการใช้เป็นยามาอย่างยาวนานแต่โบราณ เช่น ใช้ใบกระท่อมเพื่อรักษาการติดเชื้อในลำไส้ ท้องเสีย ในสูตรยาของหมอพื้นบ้านหรือหมอแผนโบราณ

กระท่อมมีหลายสายพันธุ์ ในแต่ละพันธุ์มีความแตกต่างกันออกไปโดยเฉพาะลักษณะของใบ ที่สำคัญมี 3 สายพันธุ์ ดังนี้

  1. กระท่อมพันธุ์ก้านแดง มีก้านและเส้นใบสีแดง มีรสชาติขมกว่ากระท่อมก้านเขียวและมีฤทธิ์ยาวนานกว่าประมาณ 30 นาที
    กระท่อมพันธุ์ก้านแดง
  2. กระท่อมพันธุ์ก้านเขียว (แตงกวา) มีเส้นใบสีเขียวอ่อนกว่าแผ่นใบ นิยมมากกว่าก้านแดง เพราะมีรสชาติที่ขมน้อยกว่าก้านแดง


  3. ยักษ์ใหญ่ (หางกั้ง) มีใบขนาดใหญ่กว่าพันธุ์อื่นและส่วนบนของขอบใบเป็นหยัก

การขยายพันธ์ุกระท่อม
การขยายพันธ์ุกระท่อม

เพาะด้วยเมล็ดหรือชำถุงเป็นกิ่งพันธุ์ การเพาะด้วยเมล็ดจะทำให้ระบบรากแข็งแรงกว่า ใช้เวลา 3-4 เดือนจะได้ต้นสูงเกือบฟุต บางคนใช้วิธีเพาะต้นพันธ์ุด้วยกระท่อมขี้หมู ซึ่งเป็นกระท่อมป่ากินไม่ได้แต่ระบบรากแข็งแรง จากนั้นก็เอาก้านเขียวหรือก้านแดงมาเสียบยอด

วิธีการปลูกกระท่อม

ด้วยเหตุที่พืชกระท่อมในอดีตเป็นยาเสพติด จึงยังไม่มีคำแนะนำระยะการปลูกจากนักวิชาการอย่างชัดเจน แต่ถ้าถามชาวบ้านเขาบอกว่าปลูกระยะ 4×4 =100 ต้นต่อไร่ได้ ถ้าปลูกแซมในสวนยางก็ปลูกระหว่างร่องยางแบบสลับหันปลา ระยะการปลูก 3×7 =76 ต้นต่อไร่ หรือ 6×7=38 ต้นต่อไร่ ก็จะไม่แน่นจนเกินไป

ระบบดินและน้ำสำหรับปลูกกระท่อม

ดินที่ใช้ปลูกพืชกระท่อมจะต้องไม่เป็นดินที่แข็งแบบดินลูกรัง พืชกระท่อมชอบดินร่วนซุย และพืชกระท่อมชอบน้ำ ต้องมีระบบน้ำอย่างทั่วถึง ชาวบ้านนิยมใช้ปุ๋ยคอก

โรคและการควบคุมดูแลกระท่อม




พืชกระท่อมที่ปลูกในที่ฝนตกชุก เช่น จังหวัดระนอง จะเกิดโรคเชื้อราจุดดำ ชาวบ้านใช้วิธีเอาน้ำปูนขาวละลายรดหรือฉีด แต่พอมีแสงแดดเต็มที่โรคนี้ก็หายไปเอง

การเก็บเกี่ยวกระท่อม

พืชกระท่อมเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไปเฉพาะใบแก่ แต่ถ้าจะให้ผลผลิตเต็มที่ควรมีอายุ 5 ปี เก็บเกี่ยวใบได้ต้นละ 1 กิโลกรัม เก็บเกี่ยวทุก 15 วัน

ราคาใบกระท่อม

ในช่วงที่พืชกระท่อมยังเป็นยาเสพติดให้โทษ ราคากิโลกรัมละ 600-800 บาท แต่เมื่อเสรีคาดว่าราคาใบกระท่อม 200-300 บาท ปลูก 1 ไร่ จะได้ผลผลิต 100 กิโลกรัม ต่อ 15 วัน ถ้า 1 เดือนได้ 200 กิโลกรัม จะมีรายได้จากการขายใบกระท่อมเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม เดือนละ 40,000-60,000 บาท

แนวโน้มการตลาดกระท่อม

  1. โรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำกระท่อมกระป๋อง ตู้น้ำกระท่อม
  2. ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อป้องกันและรักษาโรค เช่น เบาหวาน ความดัน
  3. สารไมตร้าใจนีน คาดว่าจะมีนวัตกรรมสกัดให้เข้มข้นเพื่อมาทดแทนการนำเข้ามอร์ฟีนปีละหลายหมื่นล้าน
  4. ผลิตภัณฑ์จากพืชกระท่อมสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศที่ใช้พืชกระท่อมในปัจจุบัน เช่น อเมริกา

หากนำพืชกระท่อมมาเป็นพืชร่วมยางตามแนวคิดสวนยางยั่งยืน

  1. ถ้าการปลูกยางเชิงเดี่ยวในระยะ 3×7 เมตร แนะนำให้ปลูกพืชกระท่อม ระยะ 6×7=38 ต้นต่อไร่ จะมีรายได้จากพืชกระท่อม 15,200-22,800 บาทต่อเดือน
  2. ถ้าตามแนวคิดสวนยางยั่งยืน ระยะการปลูกยาง 4×9=44 ต้นต่อไร่ ระยะการปลูกพืชกระท่อมก็ 4×9=44 ต้นต่อไร่ จะมีรายได้จากพืชกระท่อม 17,600-26,400 บาท

สภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เตรียมผลักดันให้พืชกระท่อม เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ที่เป็นพืชร่วมยาง เพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง

ขอบคุญที่มาบทความดีๆ
สุนทร รักษ์รงค์ฅ
เลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย
ติดตามข่าวสารต่างๆ ที่มีประโยขน์สำหรับเกษตรชาวส่วนยาง ได้ทาง Facebook/soontornr
22 สิงหาคม 2564  


หนังสือ รู้ก่อนปลูก กัญชา กัญชง กระท่อม พืชพร้อมทำเงิน
เรียบเรียงโดย ธวัช จรุงพิรวงศ์ วิสาหกิจ Thai Herb Centers
วิสาหกิจชุมชน


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ