บทความเกษตร/เทคโนโลยี » การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก ไว้บริโภคในครัวเรือน

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก ไว้บริโภคในครัวเรือน

28 เมษายน 2021
13380   0

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก ไว้บริโภคในครัวเรือน

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก

รูปภาพจาก : http://www.kasetporpeang.com

“การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก ไว้บริโภคในครัวเรือน”  ปลาดุกอุย หรือ ปลาดุกนา หรือ ปลาอั้วะชื้อ อังกฤษ : Broadhead catfish ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ลำตัวมีสีดำปนเหลือง มีจุดขาวเล็กๆ  เรียงเป็นแถวขวางลำตัวหลายแถว มีครีบหลังสูงกว่าปลาทั่วไปมาก สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้นๆ โดยใช้ครีบช่วย พบได้ในพื้นที่แถบประเทศไทยไปจนถึงเวียดนาม และมีการนำไปเลี้ยงในประเทศจีน, มาเลเซีย, เกาะกวม และ ฟิลิปปินส์

ลักษณะโดยทั่วไป
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก

         ปลาดุกเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด น้ำที่ค่อนข้างกร่อย หรือแม้แต่ในหนองน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อย เพราะว่าปลาดุกเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจเช่นเดียวกับปลาช่อนจึงสามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อยได้ เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมรับประทาน ปลาดุกจะพบได้ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบปลาดุกในคลอง หนอง และ บึง ต่างๆ ทั่วทุกภาค เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้าจืดทั่วไป ปลาดุกที่รูปจักกันดีในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือปลาดุกอุย และ ปลาดุกด้าน แต่ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ทำให้สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกลๆ ประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่สำาหรับผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุย เพราะให้รสชาติดี เนื้อปลานุ่ม ฟู กลิ่นดี  ดังนั้นการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวที่ยากจนไม่ให้ขาดแคลนอาหารโปรตีน




         ปัจจุบันปลาดุกเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกรเนื่องจากเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว อีกทั้งยังทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อม เป็นที่นิยมบริโภคของประชาชนเนื่องจากรสชาติดี และราคาไม่แพง สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ และบ่อพลาสติก ถ้ามีพื้นที่ จำกัด การเลี้ยงในบ่อพลาสติกก็เป็นทางเลือกที่ดี และประหยัด โดยที่ในบ่อพลาสติกจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3 – 5 ปี

วัตถุประสงค์ในการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก

  1. เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนลดรายจ่ายในครัวเรือน โดยการเลี ยงปลาเพื่อเป็นอาหารบริโภคเอง
  2. เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
  3. เป็นการพัฒนาอาชีพการลี ยงปลาแบบพอเพียงไปสู่ระบบการเลี ยงปลาเชิงพาณิชย์
  4. ให้มีอาหารโปรตีนจากปลาบริโภคในครัวเรือน

ข้อดีของการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก

  1. ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย และสามารถเลี้ยงได้ทุกพื้นที่
  2. การก่อสร้างบ่อเลี้ยงง่าย สะดวกและรวดเร็ว
  3. ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น แต่ละรุ่นใช้เวลาเลี้ยงเพียง 90 – 120 วัน
  4. ปลาดุกเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี
  5. ปลาดุกสามารถเลี้ยงและดูแลรักษาได้สะดวก นอกจากจับมาบริโภคในครัวเรือนแล้วส่วนที่เหลือก็นำไปขายเป็นสการสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว

การเลือกสถานที่ในการสร้างบ่อ สำหรับเลี้ยงปลาดุก

  1. อยู่ใกล้บ้าน
  2. อยู่ที่ร่มหรือมีหลังคา
  3. มีแหล่งน้าสำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำได้สะดวก

ขั้นตอนการทำบ่อ

  1. ขุดบ่อขนาด 2 x 4 เมตร ความลึก 1 เมตร
  2. ใช้ผ้าพลาสติกปูบ่อให้เต็มเพื่อป้องกันน้ำซึมออก
  3. นำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ทำขอบบ่อและเสาเพื่อทำที่กันแดด
  4. เติมน้ำลงไปให้เต็มบ่อ
  5. เตรียมอาหารโดยวิธีการปรุงน้ำ โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ เพื่อเป็นการสร้างแหล่งอาหารให้ลูกปลาวัยอ่อน
    ที่นำมาปล่อย ปล่อยปลา บ่อละ 300 – 500 ตัว (40 – 80 ตัวต่อตารางเมตร)

พันธุ์ปลาดุกที่นิยมเลี้ยง

  1. พันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย
    ปลาดุกบิ๊กอุย

    เลี้ยงง่าย โตไว ทนทานต่อสภาพอากาศของบ้านเราได้ดี ปลาดุกบิ๊กอุยเกิดจากการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ระหว่าง ปลาดุกอุยเพศเมีย และปลาดุกเทศเพศผู้ มีลักษณใกล้เคียง กับปลาดุกอุยมาก การเพาะขยายพันธุ์นั้นให้ผลค่อนข้างดี จึงมีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคสูง

    “การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก”

  2. พันธุ์ปลาดุกอุย
    ลักษณะเด่นที่เติบโตเร็วและทนทานต่อโรคสูงไม่เป็นโรคง่าย จึงนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ปลาดุกอุย เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมีย และปลาดุกอุย เพศผู้ ไม่ได้ข้ามสายพันธุ์เหมือนปลาดุกบิ๊กอุย จึงทนทาน โรคกว่า แต่ขนาดอาจจะไม่เท่ากันปลาดุกบิ๊กอุย
  3. พันธุ์ปลาดุกรัสเซีย

    มีลักษณะลำตัวยาวครีบหลังและครีบก้นยาว ลำตัวด้านบน มีสีน้ำตาลคอมเหลือง และมีลายแต้มแบบลายหินอ่อน บนลำตัว แก้มและท้องสีจาง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1.7เมตร ซึ่งเป็นปลาพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา ประเทศไทย ได้นำเข้ามาในปีพ.ศ.2528 โดยเอกชน
  4. พันธุ์ปลาดุกนา
    เป็นปลาพื้นเมืองทนทานต่อโรคมาก ไม่ต้องดูแลมากก็ สามารถเติบโตได้ดี รสชาติอร่อย เนื้อแน่น กลิ่นหอมกว่า ปลาดุกพันธุ์ แต่ขนาดยังเป็นรองอยู่ นิยมเลี้ยงกันในครัวเรือน เนื่องจากหาพันธุ์ง่าย

การเตรียมพันธุ์ปลาและการปล่อยปลา

    1. ควรจัดซื้อพันธุ์ปลาจากฟาร์มที่เชื่อถือได้
    2. ปลาที่ปล่อยควรมีขนาดใกล้เคียงกัน
    3. ก่อนปล่อยปลาควรปรับอุณหภูมิน้าในถุงบรรจุปลา โดยลอยถุงปลาในบ่อ 20-30 นาที แล้วจึงค่อยปล่อยปลาลงในบ่อ

วิธีการเลี้ยง

  1. ขนาดปลาที่จะนำมาเลี้ยง ควรมีขนาดความยาวประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร  ขึ้นไป ไม่ควรนำปลามาเลี้ยงในฤดูหนาว เพราะปลามีความต้านทานต่อโรคต่ำ
  2. อัตราการเลี้ยง ปล่อยลูกปลาในอัตรา 100 ตัว/ตารางเมตร
  3. การปล่อยปลา ควรแช่ถุงลูกปลาไว้ในบ่อเลี้ยง 30 นาที จึงค่อยๆ ปล่อยลงบ่อ ในช่วงแรกที่ปล่อย ให้เติมน้ำลงบ่อมีความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วค่อยเพิ่มระดับน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกๆ อาทิตย์ จนมีระดับสูงสุด 30 – 50 เซนติเมตร

การจัดการน้ำในบ่อเลี้ยง




ในช่วงแรกที่ปล่อยปลา ให้เติมน้ำลงในบ่อให้มีความสูงประมาณ 30 ซม. แล้วค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำขึ้นไปเรื่อๆ จนมีระดับสูงสุด 50-70 ซม. ระหว่างการเลี้ยงปลา ให้ใช้ EM สาดให้ทั่วบ่อ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อบำบัดน้ำ ซึ่งการเลี้ยงแบบนี้ ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำตลอดระยะเวลาการเลี้ยง

การให้อาหาร

    1. เริ่มแรกให้อาหารเม็ดเล็กและบุบพอแตกสำหรับปลาเล็ก อาหารสดพวกเศษเนื้อสับให้ปลากินได้ตัวปลวก แมลงเม่าและแมลงอื่น ๆ โปรยให้ปลากิน ควรให้อาหารเป็นเวลา วันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น ไม่ควรให้อาหารปลามากเกินไปเพราะจะทำให้น้าเน่าเสีย
    2. เมื่ออากาศครึ้มหรือฝนตก งดให้อาหารปลา

การให้อาหาร ผู้เลี้ยงต้องอาศัยการสังเกต ตรวจสอบพฤติกรรมการกินของสัตว์น้ำเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับเปลี่ยนปริมาณและความถี่ของการให้อาหารให้ถูกต้องเหมาะสม

           สำหรับปลา เมื่อให้อาหารแล้วอาหารที่ให้ควรหมดภายในเวลา 15 – 20 นาที ดังนั้น พื่อให้ง่ายในการปฏิบัติควรสังเกตจาก มื้อแรกที่ให้อาหารแล้วปรับปริมาณการให้ทุก 7 วัน เช่น มื้อแรกให้อาหารปลา ประมาณ 300 กรัม

            ถ้าภายใน 20 – 30 นาที ปลากินหมด แสดงว่าอาหารไม่พอ ให้เพิ่มอาหารเล็กน้อย
ถ้าภายใน 20 – 30 นาที ปลากินไม่หมด ให้ลดอาหารลง
            เมื่อครบ 7 วัน ให้ปรับอาหารใหม่ เพิ่มอีก 50 กรัม เป็น 350 กรัม จนครบ 7 วัน ให้ปรับการให้อาหารอีก คือ ปรับเพิ่มอาหารทุก 7 วัน

ผลผลิต

    –  ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 3 – 4 เดือน ได้ปลาขนาด 100 – 250 กรัม/ตัว 
    –  อัตรารอดประมาณ 80 – 95 %  ได้ผลผลิตปลา ประมาณ 30-50 กก/บ่อ
    –  คิดเป็นมูลค่า (กก. ละ 30 บาท) 900-1,500 บาท

การทำอาหารปลาดุก

ส่วนผสม

    1. รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
    2. กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
    3. ปลาป่น 6 กิโลกรัม
    4. กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
    5. จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร
    6. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
    7. น้ำมันพืช 1 – 2 ลิตร

วิธีการทำ
                1. นำส่วนผสมข้อ 1 1 กระสอบ ข้อ 2,3,4 คลุกให้เข้ากัน
                2. นำส่วนผสม ข้อ 5,6 ผสมน้า 20 ลิตร เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสม ข้อ 1 หมักไว้ 12 ชั่วโมง
                3. นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด 1 กระสอบและน้ามันพืช 1 – 2 ลิตร คลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน

เกร็ดความรู้

  1. การซื้อพันธุ์ปลาก่อนการเคลื่อนย้ายให้ปลาอดอาหาร 1 – 2 วัน เพื่อป้องกันปลาดิ้นและทำให้ปลาไส้ขาดเวลาเลี้ยงปลาจะไม่โต
  2. การเคลื่อนย้ายปลาให้เตรียม น้ำมันพืช 30 ซีซี : เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันตักใส่ในถุงหรือที่มีพันธุ์ปลา อยู่ประมาณ 1 ช้อนชา เพื่อป้องกันปลาบาดเจ็บ
  3. การป้องกันปลาหนีจากบ่อเวลาฝนตก ใช่วิธีหากมีฝนตกให้หว่านอาหารให้ปลากิน สัก 2 – 3 ครั้ง เพื่อหลอกว่าเวลาฝนตกจะได้กินอาหารแล้วปลาจะไม่หนี
  4. การเปลี่ยนถ่ายน้ำให้ดูดน้ำออก 1 ส่วน ใน 3 ส่วน และนำน้ำที่ใส่ใหม่ให้ทำเป็นละอองฝอยโดยใช้สายยางเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ปลา
  5. การจับปลาเพื่อบริโภคโดยใช้วิธีใช้สายยางฉีดน้ำเหมือนกับฝนตกปลาจะเล่นน้ำจากนั้นใช้สวิงตักปลา ที่เล่นน้ำทันที ปลาจะไม่รู้สึกถึงอันตรายและจะกินอาหารต่อและไม่หนี้

โรคปลาดุก

ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดยแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี

  1. การติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือด มีแผลตามล้าตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิก กกหูบวม ท้องบวมมีน้ำในช่องท้องกินอาหารน้อยลงหรือไม่กินอาหาร ลอยตัว
  2. อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลา จะมีเมือกมาก มีแผลตามล้าตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติเหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง
  3. อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินบี กะโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกรงและชักกระตุก
  4. อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็วกว่าปกติลอยหัวครีบกร่อนเปื่อย หนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัว




บทความอื่นๆที่น่าสนใจ