บทความเกษตร/เทคโนโลยี » ปลูกข่าเหลืองเงินแสน พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ในอีสาน

ปลูกข่าเหลืองเงินแสน พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ในอีสาน

9 กุมภาพันธ์ 2021
5883   0

ปลูกข่าเหลืองเงินแสน พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ในอีสาน

ปลูกข่าเหลืองเงินแสน พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ในอีสาน

ปลูกข่าเหลืองเงินแสน พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ในอีสาน


ปลูกข่าเหลืองเงินแสน พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ในอีสาน   ข่า”  นับเป็นพืชคู่ครัวของคนไทยทุกภาค เพราะข่าเป็นพืชเครื่องเทศที่ใช้ปรุงแต่งกลิ่นและรสชาติของอาหารให้อร่อย น่าทาน ข่าจึงเป็นส่วนประกอบในอาหารหลากหลายชนิด นอกจากแต่งเติมรสชาติความอร่อยแล้วข่ายังมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ อีกด้วย หลายพื้นที่จึงมีการปลูกข่าเพื่อป้อนตลาดที่มีความต้องการสูงอยู่ นอกจากข่าจะเป็นพืชที่มีความต้องการบริโภคสูงแล้ว ข่ายังมีข้อดีตรงที่ปลูกและดูแลง่าย

ขั้นตอนการเตรียมดิน

  1. ไถผาน3 ตากดิน จนแห้งใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์
  2. ตามด้วยไถผาน5  ตากดิน จนแห้งใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์
  3. ให้หว่านขี้หมูหรือขี้วัวทั่วแปลงปริมาณ 40ถุงปุ๋ยต่อไร่
  4. ใช้โรตารี่ปั่นให้เข้ากัน…ยกร่อง…ปลูกใต้ร่องหรือบนร่องตามเหมาะสม

ปลูกข่าเหลือง

การเตรียมเหง้าปลูก

เหง้าที่ใช้ควรเป็นเหง้าแก่ อายุมากกว่า 1 ปี โดยให้ตัดต้นเทียมออก โดยให้เหลือต้นเทียม 1-2 ต้น ที่ติดกับเหง้าสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร เหง้ามีแง่งประมาณ 1-2 แง่ง และให้ตัดรากที่ยาวทิ้ง ใช้เหง้าหรือแง่งแก่จัดทีซื้อมาจากตลาดใน สภาพที่ยังสด มีตาตามข้อเห็นได้ชัด ไม่จำเป็นต้องมีราก ตัดแต่งรอยช้ำ หรือเน่าที่หัวออกให้หมด แล้วนำไปแช่น้ำยากันรา จากนั้นนำขึ้นมาผึงลมในร่มให้แห้งแล้วทาแผลด้วยปูนแดงกินกับหมาก  นำหัวพันธุ์ที่ได้มาห่มความชื้น โดยการห่อด้วยผ้าชื้นน้ำหนาๆ นำไปเก็บไว้ในร่มหรือ ห่มกระบะโดยมีฟางรองพื้นหนาๆ วางท่อนพันธุ์แล้วกลบด้วยฟางหนาๆอีกชั้น รดน้ำให้ชุ่มเก็บในที่ร่มหรือ จะนำลงเพาะชำในขี้เถ้าแกลบก็ได้ โดยใช้เวลาการห่มความชื้น 10-20 วัน รอให้รากงอกและแทงยอดใหม่ออกมา จึงนำไปปลูกต่อไป

วิธีการปลูกพันธุ์ข่าเหลืองและดูแลรักษา

  1. ขุดหลุมระยะห่างประมาณ 80×80เซนติเมตรเพื่อให้ขยายได้เต็มที่
  2. ขุดหลุมปลูกประมาณ1ฝ่ามือไม่ให้ลึกเกินไป
  3. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ปริมาณที่เหมาะสม(รายละเอียดเพิ่มเติมติดตามในเพจได้)
  4. นำข่าเหลืองลงปลูก ดินกลบ ใช้ฟางหรือเศษวัชพืชแห้งคลุมหน้าดิน
  5. รดน้ำให้ชุ่ม ตลอดภายใน 1 เดือน ข่าเหลืองจะเริ่มแตกหน่อ
  6. กำจัดวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี
  7. ให้ปุ๋ยช่วงเดือนที่ 3 และ 6
  8. ตั้งแต่ 3 เดือนเป็นต้นไปใช้ยากันเชื้อราและใช้สารบำรุงทางใบ จนกระทั่งเก็บเกี่ยว

ปลูกข่าเหลืองเงินแสน พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ในอีสาน

การปลูกในแปลงใหญ่ นิยมไถยกร่องลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ระยะห่างร่องประมาณ 70-80 เซนติเมตร จากนั้น โรยด้วยปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 เล็กน้อยตามแนวยาวของร่อง ก่อนวางเหง้าข่า 1-2 เหง้า ตามความยาวของร่องที่ระยะห่างแต่ละจุดประมาณ 70-80 เซนติเมตร แล้วจึงคราดดินบนกลบตลอดแนว

การขุดข่าขาย จะเริ่มขุดได้เมื่ออายุ 6 เดือน ข่าที่ขุดตอนนี้ถือเป็นข่าอ่อนซึ่งก็เป็นข่าที่เราทานกันอยู่ทั่วไปนั่นเอง หากขุด 8 เดือนขึ้นไปจะถือเป็นข่าแก่ ความอร่อยจะน้อยกว่าข่าอ่อน โดยข่า 1 กอ จะมีประมาณ 25 ต้น เวลาขุดจะขุดออกเหลือกอละ 5 ต้นเพื่อให้ข่าเติบโตและให้ผลผลิตรุ่นต่อไป การขุดข่าขายหลังจากขุดแล้วจะนำมาล้าง ตัดแต่งรากที่แง่งออกให้หมด ตัดต้นให้เหลือประมาณ 1 คืบ ผึ่งให้แห้ง แพ็คใส่ถุงๆละ 1 กก. 20 กก. 25 กก. 30 กก.

การขุดขึ้นมาแต่ละครั้ง ไม่ควรขึ้นขึ้นมาหมดทั้งกอ ให้เหลือไว้ 3-4 แง่ง เพื่อเป็นต้นพันธุ์ ซึ่งทำให้การปลูกข่าเพียงครั้งเดียว ก็สามารถอยู่ได้เป็นสิบปี  และหลังจากที่ขุดเอาหัว แง่งไปแล้ว ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินทุกครั้ง เพื่อความสมบูรณ์และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดิน

ปลูกข่าเหลือง

ตลาดการรับซื้อข่าเหลือง

หากมีระบบจัดการที่ดี ข่าเหลือง 1 กอ จะให้ผลผลิตประมาณ 2-3 กิโลกรัม จำหน่ายได้ไม่ต่ำกว่า 60 บาท/กอ หักค่าใช้จ่ายแล้วเกษตรกรจะมีรายได้ 150,000-200,000 บาท/ไร่

ราคาข่าเหลืองที่ขายกันทั่วไป ราคาเหมาหน้าไร่ตันละ 40,000 บาท ราคาหน้าตลาดตันละ 60,000 บาท 1 ไร่จะให้ผลผลิตประมาณ 3.5-4 ตัน สำหรับตลาดของ ข่าเหลืองนั้นก็จะมีตลาดรองรับค่อนข้างกว้าง เนื่องจากเป็นที่นิยมของผู้บริโภคโดยเฉพาะในเขตภาคอีสานและภาคใต้ รวมทั้งโรงงานผลิตพริกแกงจะนิยมข่าเหลือง แม่ค้าที่มาซื้อเข้าโรงงานก็จะมีทั้งส่งโรงงานพริกแกง โรงงานบะหมี่สำเร็จรูปหรือมาม่า รวมทั้งส่งออกต่างประเทศด้วย และในปัจจุบันก็เป็นที่นิยมแก่เกษตรกรทางภาคอีสานทำให้มีการปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากและทนแล้งได้ดี

ช่องทางการจัดจำหน่าย

  • มีตลาดรองรับเพราะมีหน่วยงานราชการมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกและรับซื้อตลอด

  • รับซื้อและขายผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ Facebook , Line , Web , IG

ประโยชน์ของข่าเหลือง

1. ใช้ประกอบอาหาร
          ข่านิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงรสอาหาร แต่งกลิ่น หรือดับคาว เป็นส่วนผสมของเครื่องต้มยำและพริกแกงชนิดต่างๆ โดยใช้ส่วนต่างๆ เช่น เหง้าอ่อน เหง้าแก่ แกนลำต้นเทียม และช่อดอกอ่อน
           –   เหง้าแก่นิยมนำมาบดให้ละเอียดเพื่อใช้เป็นส่วนผสมของพริกแกง
           –   เหง้าแก่ และเหง้าอ่อน นิยมใส่ในอาหารประเภทต้มหรือแกง เพื่อใช้ลดกลิ่นคาวของอาหาร เช่น ต้มยำ และแกงป่า ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมฉุน และเพิ่มรสชาติเผ็ดร้อนให้แก่อาหาร
           –  แกนลำต้นเทียม ช่อดอกอ่อน และเหง้าอ่อน นิยมนำมาบริโภคโดยตรงเป็นผักลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก
           –  แกนลำต้นเทียมที่อ่อน นิยมนำมาประกอบอาหารประเภทผัด เช่น ผัดเผ็ดหมูป่า ผัดเผ็ดปลาดุก ผัดเผ็ดไก่ เป็นต้น

2. ทางอุตสาหกรรมอาหาร
สารสกัดฟีนอลลิกมักใช้ในการถนอมผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ป้องกันการบูดเน่า การเหม็นหืน สามารถยืดอายุการเก็บรักษาที่ 4°C ผงจากเหง้าข่าแห้ง และสารสกัดจากเหง้าข่า ใช้ผสมกับเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมูบดสุกบรรจุถุง จะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น ลูกชิ้นหมูที่เติมสารสกัดจากเหง้าข่า สามารถยืดอายุการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4°C ได้เป็นเวลา 10 วัน นอกจากนี้การใช้ผงข่าผสมในการทำขนมปัง เค้ก จะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้นานมากกว่า 6 วัน

3. ประโยชน์ใช้สอย
–  ใบ ใช้เป็นวัสดุห่อขนม ของหวาน หรือรองอาหาร
–  ลำต้นหรือกาบใบ ใช้ทำเป็นเชือกรัดของ
–  ใช้เป็นส่วนผสมของสารกำจัด และป้องกันศัตรูพืช

โรคที่สำคัญของข่าเหลือง

โรคหัวเน่า (Phytophthora Root Rot หรือ Wet Rot) เชื้อสาเหตุคือ Phytophthora drechsleri เชื่อโรคนี้จะเกิดในระยะกล้าและลงหัวแล้ว มักจะพบในบริเวณที่ดินมีระบบน้ำยาก และอยู่ใกล้กับทางน้ำหรือคลองโรคนี้อาจทาความเสียหายถึง 80 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะอาการถ้าเกิดกับต้นยังเล็กอยู่จะทำให้รากเป็นรอยช้ำสีน้ำตาลและเน่า ต้นจะเหี่ยวเฉา ถ้าเกิดกับหัวจะทำให้หัวเน่าอย่างรวดเร็ว และมีกลิ่นเหม็น ใบเหี่ยวแล้วร่วงถ้าเกิดรุนแรงต้นจะตาย

การป้องกันกำจัด

      –   การเตรียมแปลงปลูก ควรจะเป็นดินร่วนมีการระบายน้ำดี ไม่ควรเป็นที่เคยมีน้ำท่วม ขังหรือใกล้ทางระบายน้ำ หากดินระบายน้ำยาก ควรปลูกโดยวิธียกร่อง

      –  ทำความสะอาดแปลงก่อนปลูกโดยการทำลายเศษพืชที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค

      –  คัดเลือกท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์และปราศจากโรค

      –  ถ้าพบอาการรากเน่าเกินกว่า 3% ควรงดปลูกพืชนานอย่างน้อย 6 เดือน เนื่องจากพืชสาเหตุมีพืชอาศัยกว้าง

ข้อควรระวัง

    1. การรับประทานจำนวนมากมีผลทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
    2. อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในบางรายที่มีภูมิไวต่อข่า เช่น ผื่นแดงตามตัว วิงเวียนศรีษะ เป็นต้น
    3. หญิงมีครรภ์ไม่ควรรับประทานมาก อาจมีผลทำให้แท้งได้

    4. ผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากขิงมีฤทธิ์ในการขับน้ำดี

ขอบคุณแหล่งที่มาและ รูปภาพ : http://www.พันธุ์ข่าเหลือง.net