ปะยางแบบ สตรีม กับ แทงไหม ต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนดี!!
ปะยางแบบ สตรีม กับ แทงไหม ต่างกันอย่างไร เชื่อว่าหลายคนมือใหม่ที่ใช้รถยนต์อาจจะเจอเหตุการณ์ ยางรั่ว หรือ ยางแตก กันมาบ้างแล้ว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นยางเก่าหรือยางใหม่ นั้นก็สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นแล้วสำหรับมือใหม่นั้นก็มักจะมีคำถามขึ้นว่าเราควร ปะยาง แบบไหนดี จะปะยางแบบ สตรีม กับ แทงไหม แล้วมีกี่แบบนะ แล้วถ้าปะไปแล้วสมรรถนะของยางจะยังคงดีเหมือนเดิมเหมือนเก่าที่มากับรถหรือไม่ วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมๆกันเลยครับ
โดยทั่วไปแล้วการปะยางที่เราพบเห็นหรือเปิดให้บริการกันนั้นแบ่งแยกตามมาตรฐานได้ 2 แบบ คือ การปะแบบ ‘สตีม’ และการปะแบบสอดไส้หรือ ‘แทงไหม’ ซึ่งส่วนใหญ่หากผู้ให้บริการมีกรรมวิธีแบบไหน ก็มักจะแนะนำการปะแบบนั้นให้กับลูกค้า ซึ่งบางครั้งทางร้านที่ให้บริการก็ต้องประเมินหรือดูจากแผลความเสียหายของยางด้วยว่าการปะแบบใดจึงเหมาะสม ซึ่งเราจะไปดูกันว่าทั้ง 2 แบบก็มีกรรมวิธีและขั้นตอนที่แตกต่างกันไปอย่างไรบ้าง
แบบที่1 การปะยางแบบสตีม
การปะแบบสตีม คือ การ ปะยาง แบบดั้งเดิมที่สามารถใช้กับรถทุกชนิด ตั้งแต่รถจักรยานไปจนถึงรถบรรทุก โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ
-
- สตีมร้อน ส่วนใหญ่ใช้กับรถมอเตอร์ไซค์ ไปจนถึงรถบรรทุกสิบล้อ โดยจะใช้ยางชนิดพิเศษ โดยผ่านการหลอมด้วยความร้อน จากนั้นนำไปประกบกับรอยที่ ยางรั่ว หรือรอยแผลบนตัว ยางรถยนต์ และใช้เครื่องมือในการกดเพื่อประสานแผ่นยาง กับ ยางรถยนต์ ซึ่งรอย ยางรั่ว หรือบาดแผลจะแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกันกับยาง และยังสามารถรับน้ำหนักได้เท่ากับยางปกติ จากทิ้งไว้สักพักก็สามารถใช้งานได้ปกติ แต่ข้อเสียของงการสตีมร้อนก็มีโอกาสที่ความร้อนจะทำให้โครงสร้างของ ยางรถยนต์ เสียรูปทรง และอาจทำให้ ยางรถยนต์ บวมได้
ข้อดี คือ เป็นการปะยางรถยนต์ทำให้รอยรั่วโดนปิดได้สนิทที่สุดข้อเสีย คือ เนื่องจากการใช้ความร้อนอาจทำให้ยางรถยนต์เส้นนั้นเสียทรงได้ - สตีมเย็น โดยส่วนมากจะใช้กับรถจักรยาน เพราะการปะแบบนี้จะทำให้ ยางรถยนต์ ทนต่อความร้อนได้ต่ำ และไม่ทำให้ยางเสียรูปทรง โดยใช้ยางอีกแผ่นหนึ่งมาทำหน้าที่อุดรูรั่ว โดยปกติจะใช้ยางในรถที่ถูกทิ้ง หรือยางที่ไม่ใช้งานแล้ว มาทำการประสานเข้าไปกับยางที่มีรอยรั่วซึม จากนั้นก็รอให้แห้งเป็นอันเสร็จ
ข้อดี คือ ยางรถยนต์ไม่เสียทรงจากความร้อนข้อเสีย คือ ต้องระวังในการบรรทุกน้ำหนัก
- สตีมร้อน ส่วนใหญ่ใช้กับรถมอเตอร์ไซค์ ไปจนถึงรถบรรทุกสิบล้อ โดยจะใช้ยางชนิดพิเศษ โดยผ่านการหลอมด้วยความร้อน จากนั้นนำไปประกบกับรอยที่ ยางรั่ว หรือรอยแผลบนตัว ยางรถยนต์ และใช้เครื่องมือในการกดเพื่อประสานแผ่นยาง กับ ยางรถยนต์ ซึ่งรอย ยางรั่ว หรือบาดแผลจะแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกันกับยาง และยังสามารถรับน้ำหนักได้เท่ากับยางปกติ จากทิ้งไว้สักพักก็สามารถใช้งานได้ปกติ แต่ข้อเสียของงการสตีมร้อนก็มีโอกาสที่ความร้อนจะทำให้โครงสร้างของ ยางรถยนต์ เสียรูปทรง และอาจทำให้ ยางรถยนต์ บวมได้
สำหรับราคาการปะยางแบบสตีมนั้น เหมาะสำหรับการปะเพื่อซ่อมรอยตำจากตะปู หรือรอยขาดแบบฉีกแบนที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก มีความคงทนใกล้เคียงกับยางแบบเดิมๆ และยังรับแรงอัดได้ดี ส่วนข้อข้อเสียคือใช้เวลาในการปะนานเพราะต้องถอดยางออกจากล้อ ที่สำคัญต้องถ่วงล้อใหม่หลังจากปะเสร็จ หากยางมีความร้อนสูงเป็นเวลานาน ก็อาจมีความเสี่ยงที่ทำให้ชุดปะยางหลุดร่อนออกจากเนื้อยางได้ เพราะไม่ได้หลอมเป็นชิ้นเดียวกัน ค่าบริการต่อแผลประมาณ 150-300 บาท
แบบที่2 การปะยางแบบแทงไหม หรือตัวหนอน
แบบแทงไหม หรือตัวหนอน จะใช้เฉพาะกับรอย ยางรั่ว หรือบางแผลที่มีขนาดเล็กที่เกิดจากตะปู เกลียวปล่อย หรือน็อตขนาดที่ไม่ใหญ่ โดยช่างจะดึงตะปูที่แทงยางออกมา จากนั้นใช้ตะไบปลายแหลมแทงเข้าไปเพื่อทำความสะอาดบางแผลก่อนแทงไหมที่มีส่วนผสมระหว่างใยสังเคราะห์ยางดิบ กับกาวลงไป ซึ่งวิธีนี้ใช้เวลาในการทำเร็วที่สุด โดยไม่ต้องถอด ยางรถยนต์ ออกมาจากกระทะล้อ และไม่ต้องถอดกระทะล้อออกจากรถให้ยุ่งยาก แต่ข้อเสียของการสอดใส้นั้นคือ ไม่ทนต่อความร้อนเหมือนกับการสตีมร้อน และวิธีนี้ไม่เหมาะกับรถที่ต้องใช้ความเร็วสูง และบรรทุกสัมภาระที่หนัก
โดยข้อดีของการปะแบบนี้คือ ไม่ต้องถอดยางออกจากล้อแม็ก และยังทำงานได้รวดเร็วด้วยเวลาไม่เกิน 3 นาที ซึ่งเป็นการซ่อมปากแผลเพื่อป้องกันลมออก อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้น้ำเข้ายางทางดอกยางได้ แต่อาจมีอาการลมยางซึมออกบ้าง ค่าบริการต่อแผลประมาณ 70-100 บาท
จากที่กล่าวมาทั้งสองแบบนั้นก็จะมีข้อมดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป ส่วนจะให้บอกว่าแบบไหนดีกว่ากันนั้น ถ้าต้องการความสะดวกรวดเร็วและไม่อยากเสียเงินถ่วงล้อใหม่ ก็แนะนำให้ใช้การปะด้วยวิธีการแทงตัวหนอนหรือแทงใยไหมครับ ซึ่งบางท่านก็อาจแนะนำว่าแทงตัวหนอนไม่ทนทานเท่ากับการสตรีม ขณะที่วิธีการปะยางด้วยสตรีมแม้ปะแล้วดูแน่นหนาและคงทนกว่า แต่คุณอาจต้องเสียเวลาและเสียเงินมากกว่าเท่านั้นเองครับ
แหล่งที่มาบทความ : www.roojai.com/บทความ
เรียบเรียง : www.sarakaset.com
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :