สาระน่ารู้ » 4 ขั้นตอน การจดเลคเซอร์ยังไงให้จำไม่รู้ลืม

4 ขั้นตอน การจดเลคเซอร์ยังไงให้จำไม่รู้ลืม

11 ธันวาคม 2019
1739   0

4 ขั้นตอน การจดเลคเซอร์ยังไงให้จำไม่รู้ลืม

4 ขั้นตอน การจดเลคเซอร์ยังไงให้จำไม่รู้ลืม


การจดงานแบบ Visual Language ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสมองของคนเราถูกสร้างมาให้รับรู้เข้าใจ คำ และ ภาพ ซึ่งทั้ง 2 ส่วน ทำงานต่างกัน

เมื่อเราเห็นคำ หรือภาษา จะกระตุ้นส่วนที่เป็น ตรรกะเหตุผล เหมือนเป็นข้อมูลแกนหลักสำหรับเนื้อหานั้นๆ ข้อดี คือข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง แต่ข้อเสียก็คือมันจะน่าเบื่อนั่นเอง ในทางกลับกันการนึกภาพจะช่วยให้สมองปลอดโปร่งขึ้น นึกได้ คล่องแคล่วว่องไว แต่ก็ขาดซึ่งรายละเอียดที่ชัดเจนถูกต้อง

ตัวอย่างเช่น ให้เราลองนึกถึงคา ว่า ‘หมา’

สมองด้านภาษา เราจะนึกถึงสิ่งมีชีวิตเดิน 4 ขา เห่าโฮ่งๆ แทะกระดูก เป็นสัตว์เลี้ยง ขณะเดียวกันสมองส่วนภาพ เราจะคิดภาพเห็นเป็น หมาพันธุ์ต่างๆ หน้าตาของหมาเล็กใหญ่แตกต่างกันไป นี่แหละคือความต่างของการใช้สมอง 2 ส่วนคิด ซึ่ง การนำ ทั้ง 2 ส่วนมาใช้งานร่วมกันอย่างสมดุลนั้นจะทำให้เราจด งานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเรามีเทคนิคง่ายๆ 4 ข้อ  ดังนี้

ข้อ 1. เมื่อได้ยิน ‘ชื่อ’ ให้วาด ‘คาแรกเตอร์ประกอบ’

เมื่อเราได้ยินชื่อของ ตัวละคร ชื่อของสัตว์ ชื่อของสิ่งที่เราจะต้องจำใดๆก็ตาม ให้เราพยายามหาลักษณะเด่นของสิ่งนั้นๆและวาดเป็นภาพออกมาแบบคร่าวๆ เนื่องจากการวาดภาพของสิ่งนั้นๆจะช่วยให้เราจดจำและนึกถึงมันได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่นตัวละครจากเรื่อง รามเกียรติ์ ” จะมีตัวละครหลักๆที่ต้องจำ เช่น นางสีดา พระราม หนุมาน ถ้าหากจำเฉพาะแค่ชื่อเฉยๆ อาจจะนึกภาพออกไม่ชัด แต่ถ้าเราวาดลักษณะเด่นลงไปให้เกิดคาแรกเตอร์ก็จะทำให้จำได้ง่ายขึ้น เช่น พระรามใช้สีเขียว หนุมานใช้สีเหลือง นางสีดาใช้สีชมพู เป็นต้น
เวลาจดก็จะช่วยให้จำรายละเอียดได้ง่ายขึ้นอีกได้ ด้วยการสร้างสัญลักษณ์ที่เราเข้าใจขึ้นมาเองไว้สำหรับจดย่อข้อความ เช่น เราตั้งให้พระรามคือสัญลักษณ์รูปธนูสีเขียว เวลาเราเจอบทพูดและใส่สัญลักษณ์ธนูสีเขียวลงไปก็จะจำได้ขึ้นมาทันทีว่าประโยคนั้นพระรามเป็นผู้พูดนั่นเอง

ข้อ 2. เมื่อได้ยิน ‘ตัวเลขหรือปริมาณเยอะๆ’ ให้วาด ‘แผนภูมิ’

สำหรับงานที่มีข้อมูลตัวเลขเยอะๆ จนนึกไม่ออกว่าอะไรเป็นอะไร เช่น พวกสถิติยากๆ เยอะๆ หรือว่าจำนวนปริมาณคนในประเทศ A เทียบกับประเทศ B ซึ่งฟังแล้วไม่เห็นภาพ การวาดแผนภูมิจะช่วยให้เราเห็นภาพรวมชัดเจนขึ้น สรุปผลได้ง่ายขึ้นเยอะเลย  ตัวอย่างเช่น ชีวิตของอมรใน 1 วัน

“ในหนึ่งวันเรียน ดช. อมร ใช้เวลาเรียนเป็น 1/2 ของการเมาท์กับเพื่อนและเป็น 1/7 ของการนอน”

ถ้าอ่านเฉยๆอาจจะนึกไม่ออกว่าอมรเป็นคนยังไงเพราะเราจินตนาการไม่ค่อยออกว่านอน 7เท่าของการเรียนนั้นหน้าตาแบบไหน แต่เมื่อวาดออกมาเป็นแผนภูมิแล้ว เราจะเห็นว่าอมรนั้นเป็นคนขี้เกียจมากคนนึงเลยทีเดียว  การวาดกราฟจะช่วยให้เราเข้าใจปริมาณความเยอะ-น้อยของตัวเลขได้ชัดเจนมากขึ้น(แผนภูมิที่วาดจะใช้ประเภทไหนก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมของข้อมูล)

ข้อ 3. เมื่อได้ยิน ‘ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน’ ให้วาด ‘แผนภาพความสัมพันธ์’ (Framework)

ลองนึกถึง การ์ตูนหรือซีรี่ส์ ที่มีคู่รัก 7-8 เส้า ดูสิ สมมติว่าเราต้องอธิบายเรื่องราวทั้งหมดให้เพื่อนอีกคนที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยฟัง ก็จะทำได้ยากใช่มั๊ยล่ะ แผนภาพความสัมพันธ์ จะช่วยอธิบายความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้นและเห็นภาพรวมที่ชัดเจนเด้อ

ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีเพื่อนที่ไม่เคยดูสตาร์ วอร์ส แต่อยากอธิบายให้เพื่อนฟังว่า

“ฮานโซโลที่มีคู่ซี้ชื่อชิวเบคก้า และฮานโซโลก็ชอบกันกับเลอา ซึ่งเป็นพี่น้องกับลุคสกายวอล์คเกอร์ ที่เป็นลูกศิษย์ของโอบีวันเคโนบี ที่เป็นอาจารย์ของดาร์ธเวเดอร์ซึ่งเป็นพ่อของลุคและของเลอา”

ถ้าพูดแบบนี้ไปรับรองเพื่อนงงแน่นอน เราจึงต้องใช้แผนภาพความสัมพันธ์เข้ามาช่วย นอกจากการใช้สีเพื่อแบ่งคาแรกเตอร์เรายังใช้เส้นแบ่งประเภทของความสัมพันธ์ได้อีกด้วยนะ เป็นไงแจ่มไปเลยใช่มั๊ยล่ะ

ข้อ 4. เมื่อได้ยิน ‘เหตุการณ์/เรื่องราว’ ให้วาด ‘Timeline’

การวาด Timeline เหมาะที่จะใช้อธิบายเรื่องราว เหตุการณ์อะไรก่อน-หลัง หรือขั้นตอนและระยะเวลา ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นภาพรวมตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ขั้นตอนการผลิตสิ่งของอะไรซักอย่าง หรือแม้แต่ ประวัติเรื่องราวชีวิตของบุคคลก็ได้เช่นกันตัวอย่าง Timeline ของการทำไข่เจียวTimeline ของไข่เจียวนั้น ช่วยอธิบายขั้นตอนได้เป็นอย่างดีว่าอะไรควรทำก่อนหรือทำทีหลัง ตั้งแต่ต้นจนจบ จะเห็นว่าพอมี Timeline เข้ามาช่วย เราจะไม่เผลอ เอาน้ำมันใส่กระทะก่อนตีไข่ และเรายังใช้สีในการจดเพื่อแบ่งขั้นตอนได้อีกด้วยเช่น สีแดงคือขั้นตอนเตรียมวัตถุดิบ สีส้มคือขั้นตอนการปรุงและการทำ ส่วนสีเหลืองก็คือขั้นตอนการกิน นั่นเอง
ที่มาบทความดีดี : เพจ มหาลัย 3 นาที