รู้หรือไม่ พ.ร.บ.รถยนต์ ต่อทุกปีคุ้มครองอะไรบ้าง?
พ.ร.บ.รถยนต์ จำเป็นต้องต่อภาษีทุกปี เนื่องจากต้องใช้ประกอบการต่อทะเบียนรถยนต์ หรือ ต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ตามที่กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องทำ โดยสามารถต่อก่อนล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน หากรถยนต์เราไม่มี พ.ร.บ. จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท เพราะฉะนั้นเจ้าของรถยนต์ต้องเก็บเอกสารการต่อภาษีและประกันรถยนต์ ไว้แสดงต่อเจ้าหน้าที่เมื่อมีการขอตรวจเวลาใช้รถยนต์ทุกเวลาหรือเวลาเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด
วงเงินในการคุ้มครองมีดังนี้
จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นที่จะได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
1.ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ ( ตามจริง ) เบิกได้ 30,000 บาท ต่อคน
2.การสูญเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ และ ทุพพลภาพถาวร เบิกได้ 35,000 บาท ต่อคน
ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับผู้ประสบภัย (จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายละเมิด)
1. ค่ารักษาพยาบาล เบิกได้ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อคน
2. กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพถาวร เบิกได้ไม่เกิน 300,000 บาท ต่อคน
-
- เสียชีวิต เบิกได้ 300,000 บาท
- มือขาด ตาบอด เบิกได้ 300,000 บาท
- ตาบอด เบิกได้ 250,000 บาท
- มือขาด เบิกได้ 250,000 บาท
- นิ้วขาดเบิกได้ 200,000 บาท
3.เงินชดเชยรายวัน ( ผู้ป่วยใน ) ไม่เกิน 200 บาท ต่อวัน รวมกันแล้วไม่เกิน 20 วัน สูงสุดไม่เกิน 4,000บาท
4.วงเงินการคุ้มครองต่อครั้ง ไมเกิน 5,000,000 บาท
ขั้นตอนและการเตรียมเอกสารในการเคลม หรือเบิก พ.ร.บ. มีอะไรบ้าง
1.แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อลงบันทึกประจำวัน (ขอใบบันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจมาด้วย)
2.เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ( เอกสารที่ต้องนำมาด้วยจากโรงพยาบาล)
- ใบรับรองแพทย์
- ใบเสร็จรับเงิน
3.นำเอกสารต่อบริษัทประกันที่ซื้อ พ.ร.บ. เพื่อเบิกค่ารักษาพยาบาล ดังนี้
- ใบบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
- ใบรับรองแพทย์
- ใบเสร็จรับเงิน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับบาดเจ็บ
หมายเหตุ :
- ผู้ขับขี่ที่กระทำละเมิด (ฝ่ายผิด) จะได้รับแค่ ความคุ้มครอง ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
- ผู้ประสบภัย หมายรวมถึง ผู้ขับขี่ที่ถูกละเมิด ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก
- จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย (ดูในกรมธรรม์)
เรียบเรียง : Sarakaset