บทความเกษตร » เลี้ยงกบคอนโด เลี้ยงง่ายต้นทุนต่ำประหยัดพื้นที่

เลี้ยงกบคอนโด เลี้ยงง่ายต้นทุนต่ำประหยัดพื้นที่

10 มิถุนายน 2019
5044   0

เลี้ยงกบคอนโด เลี้ยงง่ายต้นทุนต่ำประหยัดพื้นที่

เลี้ยงกบคอนโด


สวัดดีครับ วันนี้จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับการ  เลี้ยงกบคอนโด เลี้ยงง่าย แถมต้นทุนต่ำประหยัดพื้นที่ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเพาะเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นอาชีพ หรือ งานอดิเรกเวลาว่างก็ตามครับ ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงเรื่องของการเลี้ยงกบกัน รวมทั้งวิธีการหาช่องทางการจำหน่าย

สำหรับคนที่มีเนื้อที่ในการเลี้ยงกบที่จำกัดนั้นการเลี้ยงกบคอนโด หรือเรียกอีกอย่างคือเลี้ยงกบในล้อรถยนต์ถือได้ว่าตอบโจทย์ได้ดีเลยทีเดียวครับ การจัดการก็ง่ายสะดวกสบายเลยทีเดียว

การเตรียมคอนโดสำหรับเลี้ยงกบ

เริ่มแรกให้เตรียมยางรถยนต์เก่าจำนวน  3  เส้นกำลังดี   โดยนำเส้นแรกมาวางกับพื้นดิน  หลังจากนั้นให้เอาทรายหรือดินมาอัดบริเวณช่องว่างที่อยู่ติดกับดิน  ให้ดินหรือทรายเสมอกับขอบยาง  ตัดแผ่นพลาสติกหรือถุงพลาสติกวางทับบนทรายหรือดินก่อนที่จะวางยางรถยนต์ทับบนดินจากนั้นให้เจาะท่อระบายน้ำทิ้งด้วยท่อ PVC ทั้วไปจะเป็นท่อเก่าหรือใหม่ก็ได้ครับ เมื่อเวลาทำความสะอาดน้ำจะไหลออกมาได้ง่าย  สำหรับด้านบนปิดด้วยฝาพัดลมเก่า ทำต่อกันไปเรื่อยตามจำนวนที่เราต้องการจะปล่อย

เลี้ยงกบคอนโด

จำนวนการปล่อยกบต่อบ่อ

สำหรับการเลี้ยงให้เลือกซื้อลูกกบที่มีอายุประมาณ  1-2 เดือน  นำมาปล่อยเลี้ยง ให้พยายามคัดเลือกกบที่กินอาหารเม็ดได้แล้ว ลูกกบจะได้โตไว  ซึ่งล้อรถยนต์เก่า 1 ชุด สามารถลี้ยงกบได้   100 – 150  ตัว แล้ว ควรเสริมด้วยอาหารสดช่วยกบจะได้ใหญ่ไวกว่าการเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดปกติ เช่น กุ้ง หอย ปู และปลำ และควรให้อาหารในช่วงเย็นกบจะได้ลงมากินอาหารในช่วงกลางคืนพร้อมกัน ส่วนเรื่องของน้ำความมีการถ่ายเทน้ำอย่างน้อย 3-4 วัน ต่อครั้ง เพื่อความสะอาดและลูกกบจะได้โตไว แล้วควรเลี้ยงในที่มีแสงร้ำไร เพราะกบเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบแสงสะว่างมาก

เลี้ยงกบคอนโด

แนวทางการป้องกันโรคที่เกิดกับกบ

สำหรับโรคที่เกิดกับ กบ นั้นมีหลายรูปแบบแล้วแต่ล่ะพื้นที่จะแตกต่างกันออกไป โดยหลักๆ นั้น โรคของกบมักจะเกิดจากแบคทีเรียที่มากับน้ำ ถ้ากบอ่อนแอ หรือ มีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ และกบมีสภาพไม่แข็งแรง เมื่อน้ำสกปรก หรือไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ โรคของกบ ก็จะเข้าโจมตีได้ง่าย  ซึ่งแนวทางป้องกันอาจทำได้ดังนี้ครับ

โรคติดเชื้อแบคทีเรียในระยะลูกอ๊อด

อาการ ลูกอ๊อดจะมีลำตัวด่าง คล้ายโรคตัวด่างในปลาดุก จากนั้นจะเริ่มพบอาการท้องบวมและตกเลือดตามครีบหรือระยางค์ต่างๆ
สาเหตุของโรค แบคทีเรียในกลุ่ม Flexibacteris
การรักษา
     1. ใช้เกลือแกงแช่ในอัตรา 0.5% (5 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร) นาน 3-5 วัน

     2. ใช้ยาออกซีเตตร้าซัยคลินแช่ในอัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ติดต่อกันทุกวันนาน 3-5 วัน

โรคติดเชื้อแบคทีเรียในระยะตัวเต็มวัย

อาการ   มีลักษณะเป็นจุดแดงๆ ตามขาและผิวตัว โดยเฉพาะด้านท้องจนถึงแผลเน่าเปื่อยบริเวณปาก ลำตัวและขา ตับมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีจุดสีเหลืองซ้อนๆ กระจายอยู่ทั่วไป ไตขยายใหญ่ บางครั้งพบตุ่มสีขาวกระจายอยู่
สาเหตุของโรค สภาพบ่อสกปรกมาก

การรักษา  ออกซีเตตร้าซัยคลินผสมอาหารให้กบกินในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัมต่อวันกินติดต่อกันจนกว่าอาการจะดีขึ้น หรือให้กินไม่น้อยกว่าครั้งละ 5-7 วัน

 

โรคที่เกิดจากโปรโตซัวในทางเดินอาหาร

อาการ กบไม่ค่อยกินอาหาร ผอมตัวซีด
สาเหตุของโรค โปรโตซัวในกลุ่ม Opalina sp. และ Balantidium sp.
การรักษา ใช้ยา Metronidazole ผสมอาหารให้กินในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกกรัม กินติดต่อกันครั้งละ 3 วัน และเว้นระยะ 3-4 วัน แล้วให้ยาซ้ำอีก 2-3 ครั้ง หรือจนกว่ากบจะมีอาการดีขึ้น และกินอาหารตามปกติ

โรคกบขาแดง

อาการ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวหนังสีผิดปกติ เสียการทรงตัว มีจุดเลือดออกตามตัว และมีแผลเกิดขึ้นชักขากระตุกและมีผื่นแดงบริเวณโคนขาหลัง เม็ดเลือดมีอาการของโลหิตจางเลือดแข็งตัวช้า และมีเลือดออกบริเวณอวัยวะภายใน
สาเหตุของโรค การติดเชื้อ bact. A. hydrophila, Haemophilus piscium
การรักษา เตรทตร้าไซคลิน 50-100 mg/น้ำหนักกบ 1 กิโลกรัม (ป้อน) อาจผสมอาหารหรือแช่ก็ได้ (ปริมาณเพิ่มขึ้น)
         1. การรักษาความสะอาด
         2. ฆ่าเชื้อ อุปกรณ์ และแยกออกจากกัน
         3. น้ำ ฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน 0.5-1 ppm.

โรคตาขาว คอเอียง กระแตเวียน บวมน้ำ

สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ฟลาโวแบคทีเรียม เมนิงโกเซพติคุ่ม (Flavobacterium meningosepticum)
อาการและรอยโรค ลักษณะตาขาว ขุ่น บอด เกิดการอักเสบที่ตา มีหนองในช่องหน้าตา มีอาการทางประสาทโดยกบจะนอนหงายท้อง แสดงอาการควงสว่าน คอเอียง กบบางตัวจะบวมน้ำ พบน้ำคั่งใต้ผิวหนังและมีน้ำในช่องท้อง
การรักษาทางวิชาการ การรักษาโรคนี้มักไม่ค่อยได้ผล โดยเฉพาะในตัวที่ป่วยหนัก ทำได้โดยลดความรุนแรงของโรค โดยแยกตัวป่วยออกและฆ่าเชื้อโรคในบ่อ หรือใช้ยาฆ่าเชื้อ เช่น ไอโอดีน เป็นต้น หรือ อาจใช้ด่างทับทิม 5-8 กรัม/น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร สาดให้ทั่วบ่อติดต่อกัน 3 วัน และผสมยาปฏิชีวนะ เช่น เอนโรฟ ล็อคซาซินกับอาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกบที่เหลือ นอกจากนี้แล้วจะต้อง แยกกบให้ปริมาณน้อยลงจากเดิม

แนวทางป้องกันอื่นๆ 

  1. ควรผสมอาหารด้วยน้ำหมักชีวภาพก่อนให้กบกิน ด้วยอัตราส่วนผสมน้ำหมักชีวภาพ 2 ช้อนโต๊ะต่ออาหารประมาณ 1 กิโลกรัม
  2. เมื่อกบมีอาการท้องอืด หรือตัวเหลือง ซึม ให้ใช้ขิง ข่า และฟ้าทะะลายโจร ต้มให้
    น้ำมีให้ห้สีชา แล้วน้ำมาผสมกับอาหารกบ
  3. กรณีที่กบเป็นแผลเปื่อย ให้ใช้ขมิ้นผล และใบน้อยหน่ำตากแห้ง (หรือเปลือกมังคุด
    ตำกแห้ง) น้ำทั้ง 2 อย่ำงมำบดให้ละเอียด และผสมปูนแดงลงไปเล็กน้อย ทำบริเวณแผล แล้วแยก
    กบที่เป็นแผลออกต่ำงหำก อย่ำงน้อย 1 วัน โดยกบที่เป็นโรคมำใส่ถุงพลำสติก เจำะช่องระบำย
    อำกำศ และไม่ให้ถูกน้้ำ
  4. กรณีที่เลี้ยงกบในบ่อดิน หรือบ่อปูน ควรน้ำเกลือแกงผสมน้้ำใส่ลงไปในบ่อเลี้ยงกบ
    ด้วย เพื่อฆ่ำเชื้อรำหรือเชื้อโรคอื่นๆ อัตรำกำรใส่ถ้ำบ่อเลี้ยงมีขนำด 4 X 4 เมตร ให้ใส่น้้ำสูง 5
    เซนติเมตร และใส่เกลือแกง ลงไปประมำณ 3 ช้อนโต๊ะ

ต้นทุนเลี้ยงกบคอนโด

  • อาหารปลาดุกเล็ก 1 กิโลกรัม 100 บาท
  • อาหารปลาดุกใหญ่ 1 กระสอบ 390 บาท
    รวม 490 บาท
    จับกบขายได้ประมาณ 25 กิโลกรัม ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
    หักค่าใช้จ่ายแล้วจะได้กำไร 750 บาท/1 ชุด (3 ล้อ)

ตลาดกบเนื้อ และเทคนิคการหาตลาดขาย

การเลี้ยงกบในกระชังบก

      สำหรับตลาดในการขายกบนั้น ถ้าคิดจะเลี้ยงกบขายต้องตอบตัวเองไห้ได้ว่าตลาดของเราที่จะนำกบไปขายนั้นคือใครบ้าง?  ซึ่งจะแบ่งออกเป็นตลาดขนาดเล็ก หรือ ขนาดกลาง และถ้าเลี้ยงกบเป็นจำนวนมากอาจต้องหาตลาดขนาดใหญ่ไว้รองรับเพิ่มเติมด้วยครับ ที่นี่เรามาดูตลาดแต่ละขนาดกันบ้างครับ

  1. ตลาดขนาดเล็ก สำหรับตลาดขนาดเล็กนั้น ในกรณีที่เราเลี้ยงกบไม่มาก นั้นสามรถที่จะขายให้กับคนในหมู่บ้านหรือชุมชน ตำบลได้ ซึ่งจะได้ราคาดีเพราะไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางมากดราคาของเรา แต่ก็ต้องเสียงเวลาทำการตลาดช่วงแรกๆหน่อย เพื่อให้คนในชุมชนได้รู้ว่าเรามีกบคุณภาพดีราคาถูกจำหน่ายครับ..
  2. ตลาดขนาดกลาง หรือ ในบางท้องที่จะมีพ่อค้าทำหน้าที่จัดซื้อรวบรวมกบไซร์ต่างงๆจากทุกฟาร์มหรือจากเกษตรกรรายย่อย เพื่อทำการแปรรูปส่งให้แม่ค้าขายปลีกในเมือง หรือรวบรวมกบสดเพื่อจัดส่งให้แม่ค้าขายปลีกในเมืองนำไปทำการแปรรูปอีกที
  3. ตลาดขนาดใหญ่ คือการรวบรวมกบเพื่อทำการส่งออกไปยังประเทศแถบเพื่อนบ้าน หรือเข้าโรงงานแปรรูปต่อไป ตามความเหมาะสม

แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงกบก็ต้องเข้าใจว่าการขายผ่านพ่อค้าคนกลางและในปริมาณที่ขายจำนวนมากต่อครั้ง ก็จะขายได้ราคาที่ถูกกว่าการขายในตลาดท้องถิ่น  และที่สำคัญจะต้องติดต่อพ่อค้าคนกลางเอง  รวมทั้งการสร้างความเชื่อมั่นว่าจะสามารถเลี้ยงส่งให้เพียงพอกับความต้องการได้ในแต่ละครั้ง ครับ 

ที่มา : withikaset.com


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ