บทความเกษตร/เทคโนโลยี » เลี้ยงจิ้งหรีด แบบประหยัดต้นทุน เลี้ยงง่ายสร้างรายได้ทั้งปี

เลี้ยงจิ้งหรีด แบบประหยัดต้นทุน เลี้ยงง่ายสร้างรายได้ทั้งปี

9 กรกฎาคม 2019
6067   0

เลี้ยงจิ้งหรีด แบบประหยัดต้นทุน เลี้ยงง่ายสร้างรายได้ทั้งปี

เลี้ยงจิ้งหรีด


           สวัดดีครับ วันนี้จะมาพูดถึงเลี้ยงของการ “เลี้ยงจิ้งหรีด” ที่นับวันยิ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจาก เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ปลอดสารพิษ รักษาโรคขาดสารอาหารได้ และ เป็นอาชีพเสริมรายได้ให้กับครอบครัว ใช้พื้นที่น้อย  ซึ่งจิ้งหรีดนั้นจัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่พบได้ในทุกภูมิภาคของโลกโดยเฉพาะเขตร้อนอย่างประเทศไทยจิ่งหรีดมักกัดกินต้นหญ้าหรือกินพืชใบเขียว ชึ่งขนาดที่พบจะแตกต่างกันไปตามชนิดและสายพันธุ์ของจิ้งหรีด  วงจรชีวิตจากไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลาสั้นๆทำให้ได้จำหน่ายไว้ 

สายพันธุ์จิ้งหรีดที่พบในไทย 

          จิ้งหรีดที่พบในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มี 4 ชนิด ดังนี้

1. จิ้งโกร่ง (Brachtrupes Portentosus Lichtenstein)

จิ้งโกร่ง

จิ้งโกร่ง (Brachtrupes Portentosus Lichtenstein)


           หรือบ้างพื้นที่เรียก จิโปม, จิ้งกุ่ง, จินาย เป็นต้น เป็นจิ้งหรีดขนาดใหญ่ โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 1 ซม. ยายประมาณ 3.5-4.0 ซม. ขุดรูตามดินร่วนปนทราย ภายในรูที่ความลึก 5-10 ซม. มีรูแยก 1 รู เพื่อหลบภัย และ กลางวันจะปิดปากรู อาศัยอยู่ภายใน กลางคืนออกหากิน และส่งเสียงร้องดังในช่วงเวลากลางคืน

2.  จิ้งหรีดทองดำ (Gryllus Bimaculatus Degeeer)

จิ้งหรีดทองดำ

จิ้งหรีดทองดำ (Gryllus Bimaculatus Degeeer)

                หรือบางพื้นที่เรียก จิโหลน เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง  โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 0.6-0.7 ซม. ยาวประมาณ 2.8-3.0 ซม. ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน

3. จิ้งหรีดทองแดง (Teleogryllus Testaceus Walker)

จิ้งหรีดทองแดง

จิ้งหรีดทองแดง (Teleogryllus Testaceus Walker)

                  หรือบางพื้นที่เรียก จิ้งหรีดนิล หรือ จินาย เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง  โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 0.5-0.6 ซม. ยาวประมาณ 2.5-2.80 ซม. ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน 

4. จิ้งหรีดทองลาย (Modicogryllus Confirmata Walker)

เทคนิคการเลี้ยง "จิ้งหรีด" แบบประหยัดต้นทุน

จิ้งหรีดทองลาย (Modicogryllus Confirmata Walker)

                 หรือนิยมเรียกว่า แมงสดิ้ง เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง  ขนาดลำตัวกว้างประมาณ 0.4-0.55 ซม. ยาวประมาณ 2.0-2.5 ซม. ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน และไม่ขุดรูอาศัย

วงจรชีวิต และพฤติกรรม

ระยะแรก  ระยะไข่ รูปร่างยาวเรียว คล้ายเมล็ดข้าวสาร สีน้ำตาลอ่อน ความกว้างของไข่ 5.1 มม. ความยาว 2.38 มม.

ไข่จิ้งหรีด

ระยะสอง ระยะตัวอ่อน ลำตัวสำน้ำตาลปนเหลือง ฟักออกจากไข่ช่วงแรกยังไม่มีปีก จะเริ่มมีตุ่มปีกในเมื่อถึงกลางวัยอ่อน พอลอกคราบ 8 ครั้ง จึงเข้าสู่วัยแก่ (รวมอายุวัยอ่อนระหว่าง 42 – 55 วัน)

ตัวอ่อนจิ้งหรีด

ระยะสาม ระยะตัวเต็มวัย มีปีก 2 คู่ เพศผู้ ปีกคู่หน้าย่น มีหนาม ไว้ทำเสียง เพศเมีย มีปีกเรียบ และมีเข็มวางไข่อยู่ส่วนท้ายของลำตัว อายุวัยแก่ประมาณ 38 – 49 วัน

ระยะสี่ การผสมพันธุ์ ตัวเต็มวัยอายุ 3 – 4 วัน จะเริ่มผสมพันธุ์ตัวผู้จะขยับปีกคู่หน้าถูกันให้เกิดเสียงหลายจังหวะ หลายสำเนียงในการสื่อสารความหมายต่างๆ สำหรับการผสมพันธุ์จะเกิดตลอดช่วงอายุตัวเต็มวัย โดยตัวเมียจะขึ้นคร่อมบนหลังตัวผู้

ระยะห้า การวางไข่ ตัวเมียเริ่มวางไข่เมื่อผสมพันธุ์ผ่านไป 3 – 4 วัน แบ่งการวางไข่เป็น 5 รุ่น วางไข่ได้เฉลี่ย 1,200 – 1,700 ฟอง/จีง โดยวางไข่ไว้ใต้ดิน และฟักออกเป็นตัวเมื่อไข่อายุครบ 7 วัน

การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด

สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมี 2 ชนิด ได้แก่ จิ้งหรีดพันธุ์ทองดำ และพันธุ์ทองแดง

อุปกรณ์การเลี้ยงจิ้งหรีด

  • บ่อเลี้ยง

เลี้ยงจิ้งหรีด

บ่อจิ้งหรีด

          บ่อเลี้ยงอาจเป็นวัสดุประยุกต์ต่างๆ เช่น กะละมัง ถังน้ำ  แต่โดยทั่วไปนิยมใช้บ่อซีเมนต์สำเร็จรูปหรือการก่ออิฐเป็นสี่เหลี่ยม ตามความสะดวกสบายและทุนทรัพย์ของคนเลี้ยง หากเลี้ยงหลายบ่อควรให้มีระยะห่างของบ่อ ประมาณ 1 เมตร หรือมีระยะที่สามารถเดินเข้าออกได้สะดวกให้อาหารและดูแล

  • ผ้าเขียวหรือลวดตาข่าย

                 ใช้สำหรับครอบปิดปากบ่อเพื่อป้องกันจิ้งหรีดไต่หรือกระโดดออกจากบ่อ และป้องกันศัตรูของจิ้งหรีด เช่น จิ้งจก ตุ๊กแก นก เป็นต้น ควรมีขนาดที่คลุมมิดทั้งปากบ่อที่สามารถใช้เชือกรัดปิดรอบบ่อได้
  • วัสดุหลบซ่อน

                วัสดุหลบซ่อนจะใช้วางในบ่อเลี้ยงเพื่อให้จิ้งหรีดหลบซ่อนตัว และให้ความอบอุ่น เช่น กาบมะพร้าว อิฐบล็อกมีรู หญ้าแห้ง ถาดกระดาษรองไข่ เป็นต้น

ถาดรองไข่

  • ถาดน้ำ และถาดอาหาร

                ถาดน้ำควรมีลักษณะทรงสี่เหลี่ยมด้านขนาน กว้างประมาณ 5 ซม. สูงประมาณ 3-5 ซม. และยาวตั้งแต่ 10 ซม. ขึ้นไป วางในบ่อ 3-5 อัน ตามจำนวนที่เลี้ยง ส่วนถาดอาหารควรมีลักษณะเป็นวงกลม เช่น ถาดอาหารทั่วไปตามท้องตลาด 1-2 ถาด
  • วัสดุรองพื้น

                วัสดุรองพื้นใช้สำหรับเป็นที่ซับน้ำ ซับมูล และรักษาอุณหภูมิที่พอเหมาะสำหรับการเลี้ยงจิ้งหรีด วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ทราย หรือ ดินทราย หรือ แกลบ เป็นต้น

การปล่อย และเลี้ยงจิ้งหรีด

  • การปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์
    สำหรับการปล่อย พ่อแม่พันธุ์นั้นควรใช้เต็มวัยแล้ว 3-5 วัน โดยสังเกตจากปีกที่คลุมมิดส่วนท้องแล้ว ปีกมีลักษณะสมบูรณ์ไม่ฉีกขาด ปีกไม่หัก หนวดมีครบทั้ง 2 เส้น ขามีสภาพสมบูรณ์ และครบทุกขา อัตราการปล่อยพ่อพันธุ์ : แม่พันธุ์ที่ 1 : 3 หรือ 2-5 ก็ได้ หลังการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 3 สัปดาห์ ช่วงนี้จะมีการผสมพันธุ์ และวางไข่ จนถึงระยะที่จิ้งหรีดฟักออกเป็นตัวอ่อน แล้วให้จับพ่อแม่พันธุ์ออก หรือ จะใช้วิธีซื้อไข่จากฟาร์มใหญ่มาลงก็ได้เพื่อลดเวลาและไม่ต้องดูแลพ่อ แม่ พันธุ์
  • การจับจิ้งหรีด เพื่อจำหน่าย
    จิ้งหรีดที่เลี่ยงจะสามารถจับจำหน่ายได้เมื่ออายุประมาณ 35 วัน ขึ้นไป หลังฟักออกจากไข่ ซึ่งวิธีการจับจะใช้การเปลี่ยนวัสดุหลบอาศัยหรือเป็นวัสดุที่ใส่ตั้งแต่ตอนแรกที่สามารถเก็บรวบรวมจิ้งหรีดขณะหลบซ่อนตัวได้ดี

ขอบคุณแหล่งที่มา : กรมวิชาการเกษตร
:  https://www.doa.go.th/


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ